แพทย์เตือน คนผอมอย่าคิดว่าไม่เสี่ยง "เบาหวาน" เผย 1 ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็น

แพทย์เตือน คนผอมอย่าคิดว่าไม่เสี่ยง "เบาหวาน" เผย 1 ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็น

แพทย์เตือน คนผอมอย่าคิดว่าไม่เสี่ยง "เบาหวาน" เผย 1 ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนส่วนใหญ่คิดว่า คนที่มีน้ำหนักเกิน คนอ้วน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานมากกว่า แต่ล่าสุด นพ.จ้วงอู่หลง แพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ ออกมาเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า ความเชื่อนี้ไม่แน่นอนเสมอไป ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากัน กลับพบว่า ค่าเบี่ยงเบนของอัตราไขมันในร่างกายไม่เท่ากัน ดังนั้นอย่าคิดว่า BMI ต่ำจะเป็นเรื่องดี หากอัตราไขมันในร่างกายสูง คุณก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวาน

นพ.จ้วงอู่หลง เผยว่า ในคลินิกของเขา เจอคนไข้ที่คนที่น้ำหนักและค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย แต่พอตรวจดีๆ กลับพบว่าอยู่ในระยะเสี่ยงจะเป็นเบาหวาน คนไข้มักถามว่า ทำไมฉันไม่ได้อ้วน แต่กลับมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้

จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา (ผู้ชาย 8,734 คน และผู้หญิง 8,184 คน) ดัชนี BMI มักใช้เพื่อประเมินว่าบุคคลนั้นเป็นโรคอ้วนหรือไม่ และเขาหรือเธอมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ เมทาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) หรือไม่ (ภาวะที่เกิดจากระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักตัวเกิน น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง)

อย่างไรก็ตาม บทความชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีค่า BMI ชี้วัดว่าน้ำหนักเกิน (BMI>25) และเป็นโรคอ้วน (BMI≥30) จะมีความเสี่ยงเมทาบอลิกซินโดรม 5% และ 35% ดังนั้น ยิ่งค่า BMI สูงเท่าใด ความเสี่ยงก็ยิ่งมากกว่าเดิม

จ้วงอู้หลงกล่าวว่า ค่าดัชนีมวลกาย ไม่สามารถชี้วัดอัตราไขมันในร่างกายได้อย่างแม่นยำ ต่อให้มีค่า BMI เท่ากัน ก็อาจจะมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่างกันมากก็ได้ ดังนั้นหากจะประเมินความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวของกับภาวะอ้วน ต้องวัดจากอัตราไขมันในร่างกาย ไม่ควรคิดว่าค่าดัชนีมวลกายยิ่งต่ำ ยิ่งดี องค์ประกอบของร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อต่ำมากหรือมีมวลกระดูกต่ำมาก การควบคุมน้ำหนัก ก็ต้องคำนึงถึงเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายด้วย ไม่ใช่น้ำหนักน้อยแล้วจะไม่เสี่ยง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook