หมอประชา เฉลย 2 กลไก ทำไม อาจารย์-น้องหญิง ใช้คลื่นพลังบุญรักษาคนป่วยแล้วหาย

หมอประชา เฉลย 2 กลไก ทำไม อาจารย์-น้องหญิง ใช้คลื่นพลังบุญรักษาคนป่วยแล้วหาย

หมอประชา เฉลย 2 กลไก ทำไม อาจารย์-น้องหญิง ใช้คลื่นพลังบุญรักษาคนป่วยแล้วหาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมอประชา เฉลย 2 กลไก ทำไม อาจารย์-น้องหญิง ใช้คลื่นพลังบุญรักษาคนป่วยแล้วหาย ชี้อันตรายที่ต้องระวัง

กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์สนั่นโซเชียลมีเดีย สำหรับกรณี อาจารย์-น้องหญิง ที่อ้างว่าสามารถสื่อสารกับพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ และมีคลื่นพลังบุญไว้รักษาคนได้ทุกโรค งานนี้มีคนไม่น้อยสงสัยว่า ทำไมมีคนไปรักษากับน้องหญิงแล้วหาย

จนวานนี้ (26 พ.ค.67) นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมประสาท เจ้าของเพจ หมอประชาผ่าตัดสมอง ได้ออกมาอธิบายความเป็นไปได้สำหรับกรณีดังกล่าวว่า…

“มี 2 ทฤษฎี ที่น้องหญิงรักษาคนหาย

1. พาซิโบ เอฟเฟกซ์ (Placebo effect ) หรือปฏิกิริยา ยาหลอก อธิบายง่ายๆ คื อ โรคบางโรคไม่รักษาก็หายเองอยู่แล้ว เช่น เอาเม็ดแป้งไปให้คนไข้กิน บอกว่าเป็นยากินแล้วจะหายทั้งที่เป็นเม็ดแป้ง แต่ผู้ป่วยเชื่อว่าเป็นยา กินเข้าไปแล้วจึงรู้สึกว่าหาย มีได้ 20-30%

2. เป็นศาสตร์การรักษาเรียกว่า “เพน พาราดาม” (Pain Paradigm) ใช้จิตใจ หรือกึ่งๆ การสะกดจิต ในคลิปที่ระบุว่าเป็นการรักษา จะให้คนไข้พูดว่าตัวเองหาย เป็นการสะกดจิตอย่างหนึ่ง ในคลิปอ้างถึงพลังที่ใช้ คือ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในการรักษาให้คนไข้พูดว่าหาย ให้คนไข้รู้สึกดี ให้รู้สึกว่าหาย ยกตัวอย่างคนปวดหัวไหล่ ให้ระดับความเจ็บปวด 5 เต็ม 10 คนที่ศรัทธาเมื่อพูดว่าตัวเองหายจากการชี้นำของน้องหญิง ระดับความเจ็บปวดจึงลดลง แต่คนที่ไม่เชื่อความปวดจะอยู่ที่ระดับเดิมไม่ลดลง เพราะไม่เชื่อว่าจะหาย

ซึ่งการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อคุณเชื่อไม่ว่าจะมีพลังจริงหรือไม่มีพลังจากพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ก็แล้วแต่ คำพูดที่บอกว่าหายจะไปสะกดจิตใจ ให้คิดว่าหาย ความเจ็บปวดลดลง ซึ่งการทำแบบนี้มีผลกับสารสื่อประสาท ที่ไปลดหรือตัดกลไกของความเจ็บปวด ความเจ็บปวดจึงลดลง เพราะเขาตัดสินจากความรู้สึก คนที่เชื่อว่าหาย จึงอาการดีขึ้น คนที่ไม่เชื่อว่าหายความเจ็บปวดก็เหลือเท่าเดิม

เขาถึงบอกว่าคนมีบุญเท่านั้นที่จะหาย คำว่ามีบุญคือเชื่อ เพราะโดยธรรมชาติคนเราจะเข้าข้างตัวเองเชื่อว่าเรามีบุญ เชื่อว่าเราจะหาย พอผ่านกระบวนการอาจารย์น้องหญิง เขาก็เลยดีขึ้น เป็นหลักการคล้าย เพน พาราดาม ในศาสตร์ตะวันตกก็มีแบบนี้อยู่ แต่การที่เขาไปแอบอ้างพลังของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ จึงกระทบจิตใจคนพุทธ ทำให้ถูกต่อต้านจากคนที่นับถือพุทธ

สรุปแล้ว จาก 2 กลไกลนี้ คนไข้จึงดีขึ้น แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องระวัง คือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงอาจทำให้โรคกำเริบก่อนถึงมือหมอจริงๆ ได้ เช่น อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งที่อาจแพร่กระจายไปก่อนถึงมือหมอ นี่คือข้อเสียของศาสตร์ งมงายแต่ก็รักษาฟรี ต่างจากบางลัทธิที่ยังมีการบริจาคเพื่อซื้อที่ดินให้ตัวเอง สุดท้ายกรณีการรักษาดังกล่าว การหายขึ้นอยู่กับศรัทธาของคนที่ไปรักษา เพราะใจเป็นนายกายเป็นบ่าว”

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook