เร่งเยียวยาเด็กไทย เหตุเครียด-ลอกเลียนแบบ

เร่งเยียวยาเด็กไทย เหตุเครียด-ลอกเลียนแบบ

เร่งเยียวยาเด็กไทย เหตุเครียด-ลอกเลียนแบบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นเรื่องราวที่ทุกคนต่างให้ความสนใจ เมื่อมือเผาเผยเลียนแบบผู้ใหญ่บางคนในสังคมที่เผาบ้านเผาเมือง เหตุเด็กไทยมีปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องเร่งเยียวยา

เกิดคำถามขึ้นมากมายจนกลายเป็นเรื่องถกเถียงกัน ภายหลังนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ก่อเหตุเผาห้องสมุดโรงเรียน วอดเสียหายมากมาย ซึ่งปัจจัยหลักจากความเครียดที่ถูกกดดันจากการเรียน การเข้าสู่รั้วโรงเรียนในเมืองกรุงจนถูกดูถูกว่าเป็น นักเรียนบ้านนอก และการเลียนแบบจากผู้ใหญ่ที่เผาบ้านเผาเมือง

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า เด็กน่าจะมีปัญหาสุขภาพจิต และมีความเป็นไปได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ผ่านมา เพราะเด็กพูดเองว่าอยากให้โรงเรียนหยุดเรียนจึงต้องใช้วิธีนี้ ซึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวถูกการนำ เสนอผ่านสื่อ ซึ่งขนาดละครเด็กยังเลียนแบบ แล้วของจริงเด็กที่มีไอคิวระดับนี้ย่อมจดจำวิธีการได้ไม่ยาก เมื่อเขาได้เห็นการนำเสนอทุกวัน

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า พบปัญหาสุขภาวะของเด็กทั้งทางกายและทางจิตใจ 1 ใน 5 ของเด็กมีปัญหาสุขภาพจิต ตั้งแต่ความเครียด ปัญหากับเพื่อน และปัญหาที่นำไปสู่ภาวะอารมณ์

อีกทั้งนี้ ในต่างประเทศให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตเด็กมาก โดยมีนักจิตวิทยา เข้าไปแก้ไขปัญหาพฤติกรรมต่างๆ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีระบบนี้ ทั้งที่มีความต้องการสูงมาก เพราะภาวะสุขภาพ จิตเด็กซับซ้อนขึ้นทุกวัน ยากที่ครูอาจารย์ทั่วไป

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่ออีกว่า ปัญหาสุขภาพจิตซับซ้อนกว่าปัญหาสุขภาพกาย เพราะไม่สามารถสังเกตอาการได้ง่าย ดังนั้นจึงเป็นปัญหาว่าใครจะเป็นผู้สังเกตเด็กที่จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา อย่างกรณีนี้ที่บอกว่าเด็กน้อยใจเพื่อน ปัญหาคือเพื่อนรู้หรือไม่ เด็กคนนี้มีพฤติกรรมอะไรก่อนหน้านั้นหรือไม่ดังนั้นคนรอบข้างมีส่วนสำคัญ โดยต้องฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตพฤติกรรมเพื่อน ครูใกล้ชิดต้องมีความรู้ทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น และผู้ปกครองต้องมีเวลาติดต่อสื่อสาร

"หากเด็กเริ่มบ่นว่าไม่อยากเรียน อยากลาออกจากโรงเรียน คนรอบข้างต้องเข้าพุดคุยเพื่อหาสาเหตุช่วยแก้ไข หรือถ้ามีอาการหนักก็ส่งต่อมาที่จิตแพทย์ " นพ.ทวีศิลป์กล่าว

"จุรินทร์" เร่งปรับหลักสูตร แนะช่วยลดความเครียดให้เด็กได้

ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สธ. กล่าวว่า ได้มีการสำรวจหลักสูตรการเรียนของเด็กตั้งแต่ระดับ ป.1-ม.6 พบมีหลักสูตรการเรียนที่ซ้ำซ้อนถึงร้อยละ 30 ได้มีการปรับตารางการเรียนการสอนใหม่ ตัดส่วนที่ซ้ำซ้อนออกให้เหลือร้อยละ 70 โดยให้เอาเวลาร้อยละ 30 ที่เหลือมาเรียนนอกห้องเรียน ทำกิจกรรม เรียนในชุมชน ทัศนศึกษา ซึ่งการเรียนการสอนดังกล่าวจะมีส่วนช่วยลดความเครียดให้เด็กได้

นักวิชาการ ชี้ผู้ใหญ่ต้นแบบเด็กมือเผา

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) กล่าวว่า การที่เด็กเผาห้องสมุด ไม่ใช่เป็นโรคจิต แต่สะท้อนถึงการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนตลอดจนระบบการศึกษาไทยที่มีปัญหาอยู่ขั้นวิกฤติ ที่ต้องทบทวนและแก้ไขโดยเร่งด่วน

"การวางเพลิงครั้งนี้จุดประเด็นให้สังคมเห็นว่าการเรียนการสอนใน รร.มหิดลฯ เป็นระบบการแข่งขันที่เอาเป็นเอาตาย เด็กเก่งแล้งน้ำใจ ล้อเลียน แบ่งแยกระหว่างเด็กในเมืองและเด็กต่างจังหวัดชัดเจน คนที่เรียนอ่อนกว่ากลายเป็นผู้แพ้และเป็นฐานให้คนเก่ง ที่สำคัญสะท้อนว่า รร.มหิดลฯ ขาดระบบแนะแนวและการให้คำปรึกษาที่ดี" นายสมพงษ์กล่าว

นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า โรงเรียนควรทบทวนว่าจะช่วยเหลือเด็กที่มีผลการต่ำกว่าเกรด 3 ได้อย่างไร ซึ่งคำตอบคือการปฏิรูปหลักสูตร ลดเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนลงเพื่อให้เด็กไปทำกิจกรรมให้มากขึ้น

นอกจากนี้ เรื่องนี้เป็นบทเรียนให้ผู้ใหญ่หันกลับมาทบทวนพฤติกรรมของตัวเองทั้งการ ใช้คำพูดหยาบคายอภิปรายในสภาฯ รวมถึงการเผาบ้านเผาเมือง เพราะสะท้อนว่าเด็กซึมซับพฤติกรรมของผู้ใหญ่และเลียนแบบ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook