ทุกข์บนเตียง! วิจัยพบคนที่ถูก "ผีอำบ่อย" เกิดจากสาเหตุสำคัญเหล่านี้

ทุกข์บนเตียง! วิจัยพบคนที่ถูก "ผีอำบ่อย" เกิดจากสาเหตุสำคัญเหล่านี้

ทุกข์บนเตียง! วิจัยพบคนที่ถูก "ผีอำบ่อย" เกิดจากสาเหตุสำคัญเหล่านี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผีอำ ทางการแพทย์อธิบายเอาไว้ว่า อาจเกิดจากคุณภาพการนอนแย่, ความเครียดสะสม และอาจถูกวินิจฉัยโรคลมหลับที่ต้องรับการรักษา

ผีอำ ถูกจำกัดความว่าเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ เกิดจากสิ่งที่มองไม่เห็น อารมณ์แบบวิญญาณนั่งทับอก จนไม่สามารถขยับตัวหรือพูดได้ แต่ยังรู้สึกตัวบางรายได้ยินเสียงรอบข้างและพยายามฝืนที่จะตื่นแต่ไม่สามารถลืมตาได้

แต่ในทางการแพทย์นั้น สามารถอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่เรียกภาวะดังกล่าวว่า Sleep Paralysis หรือ ภาวะอัมพาตขณะนอน หรือ ภาวะที่ร่างกายรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ รู้สึกอึดอัด พูดไม่ได้ไปชั่วขณะ

ผลวิจัยสาเหตุของอาการผีอำ
- คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี
- หลับไม่พอหรือนอนไม่หลับ
- มักเกิดกับคนที่ทำงานเป็นกะ เปลี่ยนเวลาการทำงานอยู่ตลอด เช่น หมอ, พยาบาล, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, แอร์โฮสเตสที่บินข้ามประเทศ ฯลฯ
- มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดสะสม หรือ ผู้ป่วยที่มีสภาวะอารมณ์สองขั้ว
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น
- นอนหลับในท่านอนหงาย

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เผยว่า อาจเกิดจากโรคลมหลับ (Narcolepsy) ที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทที่ชื่อ โอเร็กซิน (Orexin) ที่ทำหน้าที่ควบคุม

อาการโรคลมหลับ
- ผู้ป่วยมักจะมีอาการง่วงมากในตอนกลางวันแม้ว่าตอนกลางคืนจะนอนหลับสนิทอย่างเพียงพอและบางครั้งพบว่ามีการนอนหลับเกิดขึ้นในสถานการณ์ไม่เหมาะสม เช่น เกิดขึ้นขณะพูดคุยกับบุคคลอื่น, ขณะรับประทานอาหาร, ทำงาน, เรียน, เล่นเกม หรือ ขับรถ อาจเกิดอันตรายได้
- ผู้ป่วยอาจมีอาการภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ภาวะผีอำ หรือ sleep paralysis โดยที่ไม่สามารถขยับตัวได้ตอนที่กำลังใกล้จะตื่น
- อาการเห็นภาพหลอนตอนขณะเคลิ้มหลับ

อย่างไรก็ตาม ใครที่มีอาการผีอำบ่อยๆ แนะนำว่า นอกจากการไปหาพระเพื่อความสบายใจแล้ว ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการอย่างละเอียด ในปัจจุบันแม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถให้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการได้ โดยการใช้ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่เหมือนคนปกติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook