เพิ่งจะรู้! ก่อนจะมาเป็น "ๆ" แบบในปัจจุบัน คนไทยสมัยก่อนเขียน "ไม้ยมก" กันแบบนี้
รู้หรือไม่ว่า.... ก่อนจะมาเป็น "ๆ" รูปแบบปัจจุบัน ในจารึกหลักที่ 44 คนไทยสมัยก่อนเขียน "ไม้ยมก" กันแบบนี้ วิวัฒนาการภาษาไทย น่าสนใจมาก!
ประเด็นเรื่องการเขียน "ไม้ยมก" ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่หลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะประเด็นการเว้นวรรค ว่าควรจะเขียนติดคำหน้า (เช่น มากๆ ) หรือเว้นวรรคตามแบบราชบัณฑิต (เช่น มาก ๆ ) แต่เชื่อว่าอีกเรื่องที่คนไทยหลายคนยังไม่รู้ก็คือ ก่อนที่จะเป็น "ๆ" ในปัจจุบัน คนยุคก่อนเคยเขียนไม้ยมกในรูปแบบอื่นมากก่อนด้วย
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2567 อาจารย์อรรถวิทย์ รอดเจริญ ได้ให้สาระความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาไทย ผ่านทางเฟซบุ๊ก อรรถวิทย์ รอดเจริญ ในประเด็นเรื่องวิวัฒนาการ "ไม้ยมก" เครื่องหมายประกอบการเขียนในภาษาไทย
โดยระบุว่า ก่อนมาเป็น ไม้ยมก [ ๆ ] รูปปัจจุบัน แรกเริ่มไทยใช้ไม้ยมกรูปคล้ายเลข 3 อารบิคมาก่อน พบครั้งแรกในจารึกหลักที่ 44 จารึกวัดส่องคบ 3 (พ.ศ. 1916) ในวลีว่า "วัน ๆ นี้แล"
ต่อมาใช้รูปเหมือนเลข ๒ ไทย พบในจารึกหลักที่ 14 จารึกวัดเขมา (พ.ศ. 2079) ในวลีว่า "ชาติใด ๆ ก็ดี" ยมกที่มีรูปใกล้เคียงกับปัจจุบัน เริ่มพบเมื่อ พ.ศ. 2223 ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ
พร้อมทั้งแนบรูปภาพจากเอกสารอ้างอิงดังต่อไปนี้ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5, ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1, วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย
- พาท่องอดีต จากยุค ร.5 เมียมาก สู่ยุค ร.7 เมียเดียว ทำไมยุค "ผัวเดียวหลายเมีย" จึงโรยรา
- เปิดหลักฐาน นอกจาก #จดหมายปรีดี ยังอาจมี "เทปลับ" เผ่า ศรียานนท์ ซ่อนในเซฟที่สวิตฯ
อัลบั้มภาพ 7 ภาพ