เจ้าอาวาสตอบแล้ว ฉาบปูนทับรูปปั้นยักษ์โบราณ 500 ปี ฝีมือกรมศิลปฯ วัดไม่รู้เรื่อง

เจ้าอาวาสตอบแล้ว ฉาบปูนทับรูปปั้นยักษ์โบราณ 500 ปี ฝีมือกรมศิลปฯ วัดไม่รู้เรื่อง

เจ้าอาวาสตอบแล้ว ฉาบปูนทับรูปปั้นยักษ์โบราณ 500 ปี ฝีมือกรมศิลปฯ วัดไม่รู้เรื่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อ้าว คดีพลิก! เจ้าอาวาสตอบแล้ว ฉาบปูนทับรูปปั้นยักษ์โบราณ 500 ปี ฝีมือกรมศิลปฯ วัดไม่รู้เรื่อง

จากกรณีที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย จงจิตงาม อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกมาแสดงความเป็นห่วง หลังจากพบว่าประติมากรรมปูนปั้นยักษ์ศิลปะล้านนาอายุ 500 ปี ในวัดอุโมงค์ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ ถูกบูรณะซ่อมแซมด้วยการโบกปูนทับจนทำให้กลายเป็นของใหม่ ซึ่งมองว่าไม่ต่างไปจากการทำลายโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า พร้อมกับเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรวจสอบและแสดงความรับผิดชอบ

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรชัย ได้นำภาพถ่ายของเดิมและยักษ์ที่ถูกบูรณะใหม่มาเปรียบเทียบให้เห็น พร้อมกับบอกว่ารูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่สูงราว 2 เมตร เป็นรูปยักษ์ในศิลปะล้านนาที่พบอยู่ภายในวัดอุโมงค์มาแต่โบราณครั้งวัดอุโมงค์ยังเป็นวัดร้างอยู่กลางป่าหลายร้อยปีและมีการอนุรักษ์มาโดยตลอด ที่ผ่านมาแม้จะชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังคงเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในฐานะเป็นต้นแบบการศึกษาภาพยักษ์ในศิลปะล้านนาซึ่งมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างเฉพาะตัว แตกต่างไปจากภาพยักษ์ในศิลปะอยุธยาและรัตนโกสินทร์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งพบเห็นได้ง่ายในจำนวนมากกว่า

ฉะนั้น ยักษ์ที่วัดอุโมงค์จึงมีความสำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อันหาได้ยากที่ควรรักษาไว้ การปั้นพอกปูนทับในรูปแบบที่ปั้นใหม่ขึ้นทั้งหมดทำให้ยักษ์วัดอุโมงค์กลายเป็นของใหม่อย่างสิ้นเชิง

ล่าสุดช่วงบ่ายวันนี้ พระครูสมุห์บุญเลิศ ชยวโส เจ้าอาวาสวัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม เผยว่าเรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อราวๆ ต้นปี 67 มีข้าราชการท่านหนึ่งได้มาเยี่ยมชมวัดแห่งนี้และเกิดศรัทธาและเห็นยักษ์ทั้งสององค์ชำรุด จึงประสานให้กรมศิลปากรเข้ามาดำเนินการซ่อมแซมบูรณะ ส่วนรายละเอียดในการบูรณะทางวัดไม่ทราบเนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานแห่งชาติและอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร

ดร. สุรชัย จงจิตงาม บอกว่า อาจเป็นความประสงค์ดี แต่การบูรณะแบบนี้นั้นถือว่าไม่ถูกต้องนัก การบูรณะมีหลายวิธีที่ทำให้โบราณวัตถุและสถานโบราณต่าง ๆ ยังคงความเป็นโบราณ นั้นมีหลายวิธี โดยทราบว่ายังสถานที่โบราณอีกหลายแห่งในเชียงใหม่ที่อาจจะมีการบูรณะแบบผิดๆ ซึ่งจะมีการตรวจสอบอีกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook