รู้จักจังหวัด "กระบี่" มานาน แต่เพิ่งรู้ที่มาของชื่ออาจไม่ใช่ดาบ แต่มีอีก 3 ความหมาย

รู้จักจังหวัด "กระบี่" มานาน แต่เพิ่งรู้ที่มาของชื่ออาจไม่ใช่ดาบ แต่มีอีก 3 ความหมาย

รู้จักจังหวัด "กระบี่" มานาน แต่เพิ่งรู้ที่มาของชื่ออาจไม่ใช่ดาบ แต่มีอีก 3 ความหมาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้จักชื่อจังหวัด "กระบี่" มาทั้งชีวิต แต่เพิ่งรู้ที่มาของชื่ออาจไม่ได้หมายถึงอาวุธดาบ แต่มีอีก 3 ความหมาย

กระบี่ เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ทางภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลด้านตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ในอดีตกระบี่เป็นเพียงแขวงหนึ่งอยู่ในอำนาจปกครองและบังคับบัญชาของเมืองนครศรีธรรมราชเรียกว่า “แขวงเมืองปกาไส” ประมาณปี พ.ศ. 2415  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาไสและพระราชทานนามว่า “เมืองกระบี่” เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการเมืองอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาดเก่า) ในท้องที่อำเภอเมืองกระบี่ปัจจุบัน มีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองกระบี่คนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2418 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองกระบี่ออกจากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ

ตำนานของที่มาคำว่า "กระบี่" เล่าสืบต่อกันมาว่า ชาวบ้านได้ขุดพบมีดดาบโบราณเล่มหนึ่งนำมามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่ และต่อมาไม่นานก็ขุดพบมีดดาบโบราณเล่มหนึ่ง รูปร่างคล้ายกับมีดดาบโบราณเล่มใหญ่ จึงนำมามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่เช่นกัน เจ้าเมืองกระบี่เห็นว่าเป็นดาบโบราณสมควรเก็บไว้เป็นดาบคู่บ้านคู่เมืองเพื่อเป็นสิริมงคล แต่ขณะนั้นยังสร้างเมืองไม่เสร็จ จึงได้นำดาบไปเก็บไว้ในถ้ำเขาขนาบน้ำหน้าเมือง โดยวางดาบหรือกระบี่ไขว้กัน ซึ่งลักษณะการวางดาบหรือกระบี่ที่ไขว้กันนั้นได้นำมาเป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดกระบี่ โดยมีภูเขาและทะเลประกอบอยู่ด้านหลัง ซึ่งบ้านที่ขุดพบดาบใหญ่ได้ตั้งชื่อว่า “บ้านกระบี่ใหญ่” ส่วนบ้านที่ขุดพบดาบเล็กได้ตั้งชื่อว่า “บ้านกระบี่น้อย”

ที่มาของกระบี่อีกตำนานหนึ่งสันนิษฐานว่า คำว่า “กระบี่” อาจเรียกชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีมากในท้องถิ่น คือต้น “หลุมพี” จึงเรียกชื่อท้องถิ่นว่า “บ้านหลุมพี” ต่อมามีชาวมลายูและชาวจีนที่เข้ามาค้าขายไดเรียกเพี้ยนเป็น “บ้าน-กะ-ลู-บี” หรือ “คอโลบี” เมื่อเวลานานเข้าก็ได้ปรับเป็นสำเนียงไทยว่า “กระบี่” 

ส่วนการสันนิษฐานอื่น ๆ เกี่ยวกับที่มาของชื่อ “กระบี่” ในความหมายที่แปลว่า “ลิง” ว่าเมืองกระบี่ก่อนแขวงเมืองปกาไส เป็นที่ตั้งของเมือง “บันไทยสมอ” ซึ่งเป็นเมืองในสิบสองนักษัตร ขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองบันไทยสมอใช้ตราลิงเป็นตราประจำเมือง โดยถือเอาความหมายแห่งเมืองหน้าด่านปราการ เพราะลิงในสมัยก่อนถือว่ามีความองอาจกล้าหาญเทียบเท่าทหารกองหน้า เช่น บรรดาลิงแห่งกองทัพพระราม และในสภาพความเป็นจริงคนเฒ่าคนแก่ของเมืองกระบี่เล่าว่าในสมัยก่อนมีลิงอยู่เป็นจำนวนมาก

สรุปก็คือ คําว่ากระบี่ มีต้นเค้ามาจากคําไหนนั้นไม่สามารถยุติได้แน่นอน เพราะมีการสันนิษฐานกันอยู่หลายอย่างด้วยกัน ดังนี้

1. กระบี่ แปลว่าดาบ มาจากต้นเค้าคําเดิมว่า “ปกาไส” มีผู้รู้ให้ความเห็นไว้ว่าคําว่า “ปกา/ปากา” แปลว่าดาบ เมื่อมีการยกฐานะแขวงปกาไสขึ้นเป็นเมืองให้ชื่อว่ากระบี่ เป็นการคงความหมายเดิมอยู่
2. กระบี่ แปลว่าดาบ ตั้งขึ้นตามคําบอกเล่าว่าเคยมีคนขุดพบดาบได้ที่บ้านนาหลวง ใกล้ค่ายปกาไส แล้วน่ามาเก็บไว้ที่เขาขนาบน้ำแล้วหายไป บ้างก็ว่า นําขึ้นทูลเกล้าถวายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดยืนยัน
3. กระบี่ แปลว่าดาบ ตั้งขึ้นเพราะสืบตํานานมาจากนิทานเรื่องเขาขนาบน้ำและตํานานอ่าวนางที่มนุษย์กับยักษ์รบกันดาบของยักษ์ตกอยู่ที่บ้านกระบี่ใหญ่ ดาบของมนุษย์ตกไปอยู่บ้านกระบี่น้อย เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่บ้านกระบี่ใหญ่จึงได้ชื่อเมืองกระบี่
4. กระบี่ มาจากคําว่า “กะรูบี/กะรอบี/โคโลบี” เป็นภาษามลายูแปลว่า ต้นหลุมพี เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลสละ ระกํา แต่ผลมีรสเปรี้ยว เดิมเป็นพืชพื้นเมืองมีขึ้นอยู่ทั่วไปแถบนี้ บางท่านก็บอกว่าทางมลายูออกเสียงคํานี้ว่า "กะษี" แล้วเพี้ยนมาเป็นกระบี่
5. กระบี่ มาจากคําว่ากระบือ เพราะแต่เดิมเขียนว่า “กระบี" (ไม่มีตัว อ.) แล้วเพี้ยนมาโดยระบบการเขียนในสมัยนั้นและแถบนี้มีการเลี้ยงกระบือมาก ถึงกับมีสะพานควายส่งควายลงเรือไปขายต่างประเทศ
6. กระบี่ แปลว่าลิง ตั้งขึ้นตามเค้าความเชื่อที่ว่าเดิมคือเมืองบันไทสมอ/บันทายสมอ หนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของอาณาจักรนครศรีธรรมราชโบราณ ซึ่งใช้ตราลิงเป็นสัญลักษณ์
7. กระบี่ ตั้งขึ้นตามเอกลักษณ์สายธารน้ำที่สําคัญ ๒ สาย ที่ตกจากยอดพนมเบญจาสายหนึ่งไปทางน้ำตกห้วยโต้กลายเป็นคลองกระบี่ใหญ่ อีกสายหนึ่งไหลลอดภูเขาออกมาเป็นต้นน้ำกระบี่น้อย ถ้ามองมาจากที่สูงจะเห็นเป็นธารสีเงินประดุจสายกระบี่ จึงนํามาเป็นสัญลักษณ์แห่งดาบไขวและเป็นชื่อเมือง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook