งูแบล็คคิง เหยื่อไฟไหม้ตลาดจตุจักร ตายในสภาพกัดตัวเอง เฉลยไม่ใช่การฆ่าตัวตาย

งูแบล็คคิง เหยื่อไฟไหม้ตลาดจตุจักร ตายในสภาพกัดตัวเอง เฉลยไม่ใช่การฆ่าตัวตาย

งูแบล็คคิง เหยื่อไฟไหม้ตลาดจตุจักร ตายในสภาพกัดตัวเอง เฉลยไม่ใช่การฆ่าตัวตาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"งูแบล็คคิง" เหยื่อไฟไหม้ตลาดจตุจักร ตายในสภาพปากกัดตัวเอง ผู้เชี่ยวชาญเฉลยสาเหตุ น้องไม่ได้ฆ่าตัวตาย

จากกรณีเฟซบุ๊ก นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เผยภาพซากงูที่ตายจากเหตุการณ์ไฟไหม้โซนสัตว์เลี้ยง ตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งอยู่ในสภาพขดตัวเป็นวงกลมแน่น และตายอยู่ในท่าอ้าปากงับตัวเอง พร้อมระบุข้อความว่า "ตอนไฟไหม้ร้าน งูก็คงจะทรมานมากถึงขนาดต้องกัดตัวเองผมดูลักษณะงูที่ตายเป็นร้อยๆ ตัวในเช้าวันอังคาร 11 มิถุนายน 2567 จำนวนไม่น้อยต้องกัดตัวเองขอให้ไปสู่สุคติภูมิ อย่าได้มาเกิดให้มนุษย์กักขังอีกเลย"

สำหรับงูในภาพคือ คิงสเนค สายพันธุ์ Mexican Black Kingsnake (MBK) เป็นงูไม่มีพิษที่คนนิยมเลี้ยง ซึ่งมีขายอยู่ในโซนสัตว์เลี้ยง ราคาตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่นบาท ซึ่งโดยธรรมชาติของงูนั้นไม่ชอบความร้อน หรืออุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาฯ

ในส่วนของสาเหตุที่งูต้องกัดตัวเองนั้น ย้อนกลับไปเมื่อปี 2566 ที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคนพบเห็นงูสิงดง นอนตายอยู่ในสภาพอ้าปากกัดตัวเอง จนมีการตั้งคำถามว่า พฤติกรรมดังกล่าว เป็นการฆ่าตัวเองตายหรือไม่

นายนิรุทธ์ ชมงาม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์เลื้อยคลาน หัวหน้าและผู้ก่อตั้งกลุ่มอสรพิษวิทยา ตอบคำถามในเพจ Nick Wildlife  ว่า พฤติกรรมในการกัดตัวเองของงูก็จะมีมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด หรืออาจจะมีอาการทางระบบประสาท และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ งูจะเป็นสัตว์ที่มีธาตุทรหดสูงกว่าจะตายใช้เวลานาน เนื่องจากว่าเขาเป็นสัตว์เลือดเย็นสมองต้องการออกซิเจนเข้ามาเลี้ยงน้อยกว่าสัตว์เลือดอุ่น ดังนั้นบางทีกว่าจะตายก็กินระยะเวลาไปนาน และภาวะก่อนจะตายในบางครั้งคือจะมีอาการทุรนทุราย 

อาการนี้จะเป็นอาการที่หนือการสั่งการของสมองและงูจะมีการดิ้นหมุนไปหมุนมาทุรนทุรายตอนนั้นงูก็จะเริ่มอ้าปาก แล้วอะไรก็ตามที่ผ่านปากเข้าไปเขาอาจจะกัดได้ในทันที ลักษณะโครงสร้างฟันของงูมันจะมีลักษณะที่ปลายแหลมมันมีการงุ้มเข้าไปในช่องปาก สาเหตุที่เป็นแบบนี้เวลาเขาจับเหยื่อพอเขี้ยวเกี่ยวปุ๊บก็จะเป็นการดึงเข้ามาทำให้เหยื่อดิ้นหลุดได้ยาก และสมมุติว่าเขามีอาการณ์ทุรนทุรายแล้วก็กัดตัวเอง แน่นอนเขาก็จะดึงปากออกได้ยากเช่นกัน และการจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการแบบนี้ก็คือมีการกัดค้างอยู่จนตายนั้นเอง

เช่นเดียวกับกรณี เมื่อปี 2560 งูทางมะพร้าว ยาวประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นงูไม่มีพิษ นอนตายอยู่กลางถนนหน้าบ้าน ลักษณะปากงูตัวดังกล่าวหันมากัดลำตัวส่วนบนของตัวมันเอง ตามร่างกายไม่มีร่องรอยถูกทำร้ายหรือบาดเจ็บ

สัตวแพทย์หญิง ดร.ลาวัลณ์ จันทร์โฮม สัตวแพทย์ประจำสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ได้ให้คำตอบในกรณีนี้ สันนิษฐานว่าเป็นลักษณะของอาการป่วยทางระบบประสาท หรือระบบทางเดินหายใจ อาจติดเชื้อจากไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดอาการชัก ปิดตัว หมุนวน และขากรรไกรค้าง จนเกิดการงับ โดยไม่เลือกที่ ซึ่งบังเอิญไปงับลำตัวของตัวเอง โดยในบางครั้งงับไม่ปล่อย เนื่องจากเป็นจังหวะขากรรไกรค้าง ซึ่งเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย กรณีแบบนี้ สามารถเกิดกับสัตว์ได้หลายประเภท ไม่เฉพาะงูเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook