ลุงด่ากราด ไปห้างพลาดเข้า "ห้องน้ำหญิง" ชาวเน็ตเห็นป้ายยังมึน คนส่วนใหญ่ก็เข้าใจผิด!

ลุงด่ากราด ไปห้างพลาดเข้า "ห้องน้ำหญิง" ชาวเน็ตเห็นป้ายยังมึน คนส่วนใหญ่ก็เข้าใจผิด!

ลุงด่ากราด ไปห้างพลาดเข้า "ห้องน้ำหญิง" ชาวเน็ตเห็นป้ายยังมึน คนส่วนใหญ่ก็เข้าใจผิด!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 รู้ไว้จะได้ไม่เข้าผิด! ผู้รู้อธิบายแล้ว ดราม่าป้ายห้องน้ำห้างฯ ลุงด่ากราดหลังพลาดเข้า “ห้องน้ำหญิง” ชาวเน็ตเห็นยังงงตาแตก สรุปผู้ชายต้องใช้ L หรือ G

โดยทั่วไปสถานที่สาธารณะจะใช้ไอคอนต่างๆ เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างห้องน้ำชายและหญิง ส่วนมากล้วนใช้ไอคอนผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากมีความเป็นสากล ผู้ใช้งานทุกชาติสามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจนเพียงแค่มองรูปไอคอนนี้

อย่างไรก็ดี ยังมีสถานที่อีกหลายแห่งที่พยายามใช้ความคิดสร้างสรรค์ แทนที่ป้ายแบบดั้งเดิมด้วยคำหรือรูปแบบสัญลักษณ์ทางเพศอื่นๆ ดังเช่นกรณีที่เพิ่งสร้างข้อถกเถียงอย่างร้อนแรง เมื่อห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกินซ่า ประเทศญี่ปุ่น เลือกที่จะใช้ตัวอักษร "L" และ "G" ในการทำเครื่องหมายแบ่งแยก ส่งผลให้ชายวัยกลางคนเข้าใจผิด และพลาดเดินเข้าไปในห้องน้ำหญิง

เมื่อเร็วๆ นี้ ช่างภาพชาวญี่ปุ่น Kengo Kobayashi โพสต์บนเล่าผ่านทางเฟซบุ๊กว่า ขณะที่เขากำลังนั่งดื่มลาเต้เย็นอยู่ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกินซ่า จู่ๆ ก็ได้ยินเสียงชายวัยกลางคนตะโกนด้วยความโกรธว่า "คุณปฏิบัติต่อลูกค้าของคุณอย่างโง่เขลา คุณทำให้ฉันถูกผู้หญิงในห้องน้ำหัวเราะเยาะ" เนื่องจากเขาเข้าห้องน้ำผิด เพราะไม่เข้าใจป้ายภาษาอังกฤษที่ประตูห้องน้ำ

ในตอนแรกที่เขาฟังสถานการณ์คล่าวๆ ก็รู้สึกว่าลุงคนนี้โวยวายเพียงเพราะเรื่องจู้จี้จุกจิกเกินไป แต่เมื่อได้เห็นป้ายหน้าห้องน้ำด้วยตัวเอง เขาก็ต้องยอมรับว่า “โลโก้นี้เข้าใจยากไปหน่อยจริงๆ” ดังนั้น เขาจึงอยากอธิบายให้หลายคนเข้าใจตรงกัน เพื่อจะได้ไม่พลาดเข้าห้องน้ำผิดเหมือนชายวัยกลางคนข้างต้น โดย L ย่อมาจาก Lady ใช้แทนห้องน้ำหญิง และ G ย่อมาจาก Gentleman ใช้แทนห้องน้ำชาย

ใต้โพสต์ยังมีชาวเน็ตหลายคนเข้ามาแชร์ประสบการณ์ บอกเล่าว่าพวกเขาก็เคยเจอป้ายห้องน้ำที่เข้าใจยากมาก่อนเช่นกัน เช่น "XX (หญิง) และ XY (ชาย)" หรือ "H (ชาย) และ D (หญิง)"

"ฉันไม่เข้าใจจริงๆ ว่าทำไมต้องทำป้ายที่สื่อสารออกมาไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสน ไม่ควรใช้ตัวย่อ แต่ใช้ชื่อเต็มจะดีกว่า"

"ฉันก็คิดว่า G เป็น Girl นี่แหละเวลาที่ทักษะภาษาต่างประเทศมีประโยชน์"

"สัญลักษณ์นี้ไม่ควรเอามาใช้งานจริงๆ มันเข้าใจยาก และไม่ได้คำนึงว่าผู้สูงอายุอาจไม่เข้าใจภาษาอังกฤษเลย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook