ย่าขอค่าเลี้ยงหลาน เดือนละ 1.5 หมื่น ผ่านไป 6 ปี ลูก-สะใภ้น้ำตาไหล เมื่อรู้เหตุผล

ย่าขอค่าเลี้ยงหลาน เดือนละ 1.5 หมื่น ผ่านไป 6 ปี ลูก-สะใภ้น้ำตาไหล เมื่อรู้เหตุผล

ย่าขอค่าเลี้ยงหลาน เดือนละ 1.5 หมื่น ผ่านไป 6 ปี ลูก-สะใภ้น้ำตาไหล เมื่อรู้เหตุผล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ย่ามาช่วยเลี้ยงหลาน เรียกเงินเดือนละ 1.5 หมื่น ลูกชาย-สะใภ้ ยังบ่น ผ่านไป 6 ปี เฉลยเหตุผล ให้เงินกลับคืนเป็นล้าน

เว็บไซต์ docnhanh รายงาน เรื่องราวที่ถูกโพสต์ลงโซเชียลเน็ตเวิร์กของจีน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เมื่อ หญิงแซ่หลิว อายุ 61 ปี เล่าว่า นับตั้งแต่เกษียณเธอก็ย้ายมาอยู่บ้านลูกชายเพื่อช่วยเลี้ยงหลาน ขณะนี้เวลาก็ผ่านมา 6 ปีแล้ว โดยทุก ๆ เดือนเธอจะได้รับเงินจากสะใภ้ 3,000 หยวน (ประมาณ 15,000 บาท)

ตอนแรกที่เธอเรียกร้องขอเงินจำนวนนี้ ลูกชายถึงกับโทรมาต่อว่า บอกว่า "แม่ก็แค่มาเลี้ยงหลาน ยังต้องการเงินอีกเหรอ ครอบครัวอื่น ๆ เป็นฝ่ายให้เงินลูกไม่ใช่หรือไง แม่นี่รักเงินมากจริง ๆ นะ"

ขณะที่ฝั่งลูกสะใภ้ ครั้งหนึ่งขณะที่เธอเดินอยู่ใต้ถุนของอพาร์ตเมนต์ ซึ่งเป็นที่รวมตัวของเด็ก ๆ ก็ได้ยินสะใภ้บ่นว่าแม่สามีได้รับเงินบำนาญเดือนละ 5,000 หยวน (ประมาณ 25,000 บาท) อยู่แล้ว แต่ก็ยังอยากให้พวกเขาจ่ายให้อีก 3,000 หยวนทุกเดือน

นางหลิว เผยว่า เธอหย่ากับอดีตสามีมาหลายปีแล้ว ตอนที่ลูกชายแต่งงานเธอก็ออกค่าสินสอดให้ 128,000 หยวน (ประมาณ 6.4 แสนบาท) ส่วนอดีตสามีช่วยออกค่าจัดงานแต่ง เดิมลูกชายกับสะใภ้คุยกันว่า ถ้ามีลูกเมื่อไหร่ก็จะให้แม่ยายมาช่วยดูแลลูก ให้แม่สามีอย่างเธอช่วยจ่ายแค่ค่านมทุก ๆ เดือนก็พอ

แต่กลายเป็นว่าสุขภาพของฝั่งพ่อตาไม่ดี แม่ยายต้องไปดูแลสามีสลับกับมาเลี้ยงหลาน กลายเป็นภาระหนักมาก ดังนั้นนางหลิวจึงเสนอที่จะช่วยเหลือ โดยมีเงื่อนไข 3 ข้อ ซึ่งหากสะใภ้ยอมตกลง เธอก็ยินดีมาเลี้ยงหลานให้ ซึ่งข้อตกลง มีดังนี้

  • เราจะเคารพกันและกัน ยอมรับนิสัยของอีกฝ่าย ไม่บังคับฝืนใจอะไรกัน
  • เธอรับผิดชอบแค่การเลี้ยงหลานจนกระทั่งถึงเวลาเข้าเรียนเท่านั้น ลูกชายกับสะใภ้ไม่สามารถหาข้ออ้างอะไรมาบังคับให้เธออยู่ต่อได้
  • ทุกเดือนสะใภ้ต้องให้เงิน 3,000 หยวน ซึ่งไม่ใช่ค่าครองชีพหรือค่าแรง แต่เป็นเงินสนับสนุนญาติผู้ใหญ่

กลายเป็นว่าคืนนั้นลูกชายวิดีโอคอลมาหาเธอ บ่นว่าการหาเงินนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ว่าลูกชายจะบ่นยังไงเธอก็ยืนกรานว่าต้องทำตามเงื่อนไขนี้เท่านั้น และเธอยังจะให้ค่านมเด็กแก่เขาเดือนละ 2,000 หยวน (ประมาณ 10,000 บาท) ตามเดิม

สุดท้ายสะใภ้เป็นคนตัดสินใจ เธอเห็นด้วยกับเงื่อนไขของแม่ผัว แต่ก็มีข้อเสนอแนะเล็ก ๆ น้อย ๆ 3 ข้อด้วย

  1. สะใภ้เป็นครู เธอมีช่วงปิดเทอมปีละ 2 ครั้ง ซึ่งตอนนั้นแม่สามีไม่ควรใช้เป็นข้ออ้างกลับบ้านไป เพราะเธอยังสาวและอยากพัฒนาเส้นทางอาชีพอื่น ๆ ต่อ
  2. คนหนุ่มสาวกับผู้ใหญ่ย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกันมาก หวังว่าแม่สามีจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ ไม่บ่นเรื่องข้าวของมากมายที่มาส่งถึงบ้าน
  3. เรื่องเงิน 3,000 หยวน สะใภ้ยินดีมอบให้แม่สามี เพื่อแสดงความขอบคุณแม่สามีผู้ทุ่มเทและมีความเข้าใจ

เมื่อทั้งสองฝ่ายยอมตกลง นางหลิวจึงเก็บกระเป๋ามาอยู่บ้านลูกชาย จนกระทั่งในที่สุดเวลาก็ผ่านไปนาน 6 ปี แม้จะมีความขัดแย้งและเรื่องที่เห็นไม่ตรงกัน แต่ก็ยังยึดในข้อตกลงที่ทำกันไว้ และทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี ที่เหลือก็แค่อาศัยความอดทนและเข้าใจกัน เพื่อให้ยอมรับในตัวอีกฝ่าย

จนกระทั่งหลานชายกำลังจะเข้าเรียนแล้ว นางหลิวก็คิดว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตของตัวเองสักที เธอจึงบอกกับลูกชายและสะใภ้ว่า ตอนนี้หลานกำลังจะเข้าโรงเรียนแล้ว ดังนั้นก็ถึงเวลาที่เธอควรกลับบ้านเกิดไปใช้ชีวิตวัยเกษียณอย่างมีความสุข

จากนั้นนางหลิวก็หยิบบัญชีธนาคารมาให้สะใภ้ พร้อมบอกว่า ในบัญชีนี้มีเงินอยู่ 250,000 หยวน (ประมาณ 1.2 ล้านบาท) ซึ่งเป็นเงินที่เธอเก็บไว้เป็นทุนการศึกษาแก่หลาน ตอนนั้นสะใภ้ประหลาดใจมาก เธอเข้ามากอดแม่สามีทันที และกล่าวคำขอบคุณทั้งน้ำตา

ขณะที่ ลูกชายของนางหลิวก็ตื้นตันจนน้ำตาไหล เขายังท้วงว่า "ไม่ถูกสิแม่ เดือนละ 3,000 หยวน เวลา 6 ปี เงินต้องไม่ได้มากขนาดนี้สิ" แต่นางหลิวก็แค่หัวเราะและแซวลูกชายกลับไป ฝ่ายลูกชายก็หัวเราะและวิ่งมากอดแม่ บอกว่าไม่อยากให้แม่ไปไหน แต่ถึงอย่างนั้นสุดท้ายเขาก็ไม่อาจรั้งผู้เป็นแม่ไว้ได้ เพราะทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงชัดเจนกันไว้ตั้งแต่แรกแล้ว

ทั้งนี้ นางหลิว เผยว่า เธอมีบ้านและเงินเก็บอยู่แล้ว ตอนมาอยู่บ้านลูกชายก็ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพราะลูกชายกับสะใภ้เป็นคนซื้ออาหารเข้ามา เธอแค่ช่วยทำอาหาร ส่วนเงิน 3,000 หยวนที่ได้รับจากสะใภ้ เธอจะเก็บเงินใส่บัญชีธนาคารแยกไว้ เพื่อเป็นกองทุนการศึกษาให้กับหลานชาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook