ประวัติ “ปูติน” ผู้นำรัสเซียที่ครองตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์

ประวัติ “ปูติน” ผู้นำรัสเซียที่ครองตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์

ประวัติ “ปูติน” ผู้นำรัสเซียที่ครองตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ประเทศรัสเซียได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งผลออกมาว่า 'วลาดิเมียร์ ปูติน' ได้รับคะแนนอย่างล้นหลามมากกว่า 87.8% ของคะแนนโหวตทั้งหมด ซึ่งนี่ถือเป็นการดำรงตำแหน่งสมัยที่ 5 ของเขา และทำให้กลายเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในรอบ 200 ปีของประวัติศาสตร์รัสเซีย 

ล่าสุด เมื่อวาน (19 มิ.ย.2567) ปูตินได้เดินทางไปประเทศเกาหลีเหนือ เพื่อพบ ‘คิมจองอึน’ ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ แนวโน้มการเจอในครั้งนี้ดูเป็นไปในทิศทางที่ดี โดยได้มีการเจรจาพูดคุยในเรื่องความร่วมมือในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางทหาร ทำให้เป็นที่จับตามองของคนทั่วโลกว่า การเจอกันของสองเผด็จการจะส่งผลอย่างไรบ้าง

วันนี้ Sanook จึงอยากชวนทุกคนมารู้จัก “วลาดิเมียร์ ปูติน” หรือ “ปูติน” ว่าคือใคร ทำไมถึงได้ครองตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานขนาดนี้ รวมถึงทำไมการเคลื่อนไหวของปูตินถึงเป็นที่จับตามองของคนทั่วโลก 

ปูติน คือใคร?

“ปูติน” หรือ “วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน” เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1952 ปัจจุบันอายุ 71 ปี เขาเกิดที่เมืองเลนินการ์ด หรือในปัจจุบันรู้จักในเชื่อ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ปูตินถือเป็นหนึ่งในผู้นำที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก เขาได้กำหนดภูมิทัศน์ทางการเมืองของประเทศรัสเซียมากว่าทศวรรษ ด้วยกลยุทธ์ทางทหารที่รุนแรง รุกรานประเทศเพื่อนบ้านของรัสเซีย นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง 

ประวัติ “วลาดิเมียร์ ปูติน” ผู้นำรัสเซียที่ครองตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์

ชีวิตวัยเด็กของปูติน

เขาเป็นลูกคนเล็กของบ้าน โดยมีพี่ชายอีก 2 คน คือ อัลเบิร์ท และวิกเตอร์ อย่างไรก็ตามปูตินเปรียบเหมือนลูกคนเดียวเสียมากกว่า เนื่องจากพี่ชายทั้งสองเสียชีวิตไปตั้งแต่เขายังเด็ก นอกจากนี้ชีวิตของปูตินได้คลุกคลีกับการเมืองมาตั้งแต่เด็ก โดยปู่ของเขาได้เป็นพ่อครัวให้กับ “เลนนิน” และ “โจเซฟ สตาลิน” ภายหลังในปี 1975 ปูตินได้เรียนจบจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเลนินกราด และเริ่มอาชีพสายลับ

เริ่มต้นจากการเป็นสายลับสู่ผู้นำที่มีอำนาจสูงสุด

หลังจากที่ปูตินเรียนจบ เขาได้เข้าร่วมกับหน่วยข่าวกรองลับของสหภาพโซเวียต อย่าง 'เคจีบี' (คณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐสหภาพโซเวียต) เป็นเวลากว่า 15 ปี หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1990 เขาได้ลาออกจากเคจีบีด้วยยศพันโท และเดินทางกลับมาที่รัสเซีย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางการเมือง โดยเริ่มแรกเขาได้เข้าไปทำงานกับ อนาโตลี โสบจักร ผู้เป็นอาจารย์ในสมัยที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเลนินกราด โดยในการกลับไปครั้งนี้เขาได้มีบทบาทเป็นที่ปรึกษาให้แก่ โสบจักร ผู้ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของปูตินเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น

ต่อมาในปีเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1998 บอริส เยลต์ซิน อดีตประธานาธิบดีรัสเซียได้เห็นถึงความสามารถของปูติน จึงแต่งตั้งให้เขาเป็น ผู้อำนวยการหน่วยความมั่นคงกลาง (อดีตเคจีบี) ในเวลาไม่นานได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาคณะมนตรีความมั่นคง และในปี 1999 ปูตินได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยบอริส เยลต์ซิน 

ปูตินได้สะสมประสบการณ์ทางการเมืองมากว่า 10 ปี จนถึงเวลาที่เหมาะสมที่เขาจะได้เฉิดฉายในฐานะประธานาธิบดีของรัสเซีย โดยวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 บอริส เยลต์ซิน ได้ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี และส่งไม้ต่อให้ปูติน

เดือนมีนาคม ค.ศ.2000 เขาได้ชนะการเลือกตั้ง โดยมีคะแนนถึง 53% จากคะแนนโหวตทั้งหมด โดยทำให้เขากกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของรัสเซียจนถึงปัจจุบัน รวมกว่า 5 สมัย 

ปูตินกับการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 1-2

ในช่วงแรกที่ปูตินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้กำจัดการทุจริตในประเทศ และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มงวด ทำให้เศรษฐกิจของรัสเซียโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปูตินได้เข้าควบคุม 89 รัฐของรัสเซีย โดยแบ่งออกเป็น สหพันธรัฐใหม่ 7 เขต ซึ่งเขาเป็นคนเลือกผู้นำแต่ละเขตเอง นอกจากนี้เขายังกเลิกสิทธิของผู้ว่าการภูมิภาคในการนั่งในสภาสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นสภาสูงของรัฐสภารัสเซีย อีกทั้งเขายังปิดกั้นสื่อหลายแห่งและดำเนินคดีกับบุคคลสำคัญจำนวนมากที่มีความเห็นต่าง ทั้งยังต่อรองกับต่อรองกับชนชั้นนำในรัสเซีย ทำให้คนเหล่านี้หันมาสนับสนุน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างอำนาจ และความมั่นคงให้กับตัวปูตินเอง

บททดสอบแรกในตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม 2000 เรือดำน้ำนิวเคลียร์ คูร์สก ขนาด 13,400 ตันที่อยู่ระหว่างการฝึกในทะเลเกิดการระเบิดขึ้นและจมลง ทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 118 คน โศกนาฎกรรมครั้งร้ายแรงนี้ก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในตัวปูตินอย่างมาก เนื่องจากเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายวันกว่าที่ปูตินจะกลับจากหยุดยาวพักผ่อน จึงมีกระแสวิพากย์วิจารณ์อย่างมาก

อย่างไรก็ตามการบริหารของเขาเป็นไปได้อย่างดี เศรษฐกิจของรัสเซียดีขึ้นจากปี 1990 ทำให้เขาได้เป็นประธานาธิบดียาวถึง 2 สมัย

แต่ในปี 2008 เขาก็ต้องลงจากตำแหน่ง เนื่องจากกฎหมายของประเทศรัสเซียระบุไว้ว่า “สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ไม่เกิน 2 สมัย แบ่งเป็นสมัยละ 4 ปี”

ปูตินกับบทบาทการเป็นนายกรัฐมนตรี

หลังจากที่ปูตินลงจากตำแหน่ง และให้ดิมิทรี เมดเดเวฟ ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทน และปูตินเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน อีกทั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากดำรงตำแหน่งได้สมัยละ 6 ปี ต่อมาในปี 2012 ปูตินได้กลับไปเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งจากการเสนอชื่อจากดิมิทรี เมดเดเวฟ นับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 3

ปูตินกับสงครามยูเครน-รัสเซีย

ปูตินมีความคิดจะสร้างจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งมีความคล้ายกับสหภาพโซเวียต ผ่านการดึงยูเครนกลับมาเป็นของรัสเซียอีกครั้ง

สงครามยูเครน-รัสเซีย มาจากหลังจากสหภาพโซเวียตล้มสลาย ทำให้ยูเครนพยายามแยกตัวออกมาจากรัสเซีย และมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับทางชาติตะวันตก โดยวิกเตอร์ ยูชเชนโก ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2005 ผู้ซึ่งมีนโยบายหลังคือต้องการที่จะแยกตัวออกจากรัสเซีย พร้อมผลักดันให้ยูเครนเป็นสมาชิกของนาโต้ (NATO) และใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปมากขึ้น ซึ่งนี้เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลใจให้แก่รัสเซียอย่างมาก เนื่องจากจะกระทบต่อความมั่นคงของรัสเซีย

ต่อมาภายหลังที่วิกเตอร์ ยานูโควิช ขึ้นมาเป็นประธานนาธิบดีของยูเครน เขาได้มีนโยบายที่ต่างจากยูชเชนโก โดยยานูโควิชได้มีนโยบายสนับสนุนรัสเซีย จึงยกเลิกข้อตกลงต่าง ๆ กับสหภาพยุโรป นั่นทำให้ประชาชนยูเครนเกิดความไม่พอใจ เกิดการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ เพื่อขับไล่ยานูโควิช ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคนจากเหตุการณ์ประท้วงครั้งนี้ จึงทำให้รัฐสภาของยูเครนตัดสินใจให้ วิกเตอร์ ยานูโควิช พ้นจากการเป็นประธานาธิบดี นี่ถือเป็นฉนวนเหตุของสงครามครั้งนี้อย่างแท้จริง

ต่อมาผู้คนในเมืองไครเมีย ผู้เป็นเชื้อสายและสนับสนุนรัสเซียในยูเครน ได้ออกมาต่อต้านรัฐบาลชุดใหม่ ทั้งนี้ไครเมียยังมีจุดประสงค์ต้องการกลับไปร่วมอยู่กับรัสเซีย ด้วยเหตุนี้ปูตินจึงเริ่มวางแผนที่จะนำไครเมียกลับมา โดยได้สั่งให้เคลื่อนกำลังทหารสู่ไครเมียโดยอ้างว่าเพื่อปกป้องผลประโยชน์และพลเมืองเชื้อสายรัสเซียในไครเมีย ผ่านไปไม่นานรัสเซียก็เป็นฝ่ายชนะและยึดไครเมียกลับมาได้

ด้านรัฐบาลยูเครนก็ขัดค้านการผนวกดินแดนของรัสเซียและไครเมีย อีกทั้งสหภาพยุโรปก็ไม่เห็นด้วยจึงประณามการกระทำของรัสเซีย ขอเจรจาแต่รัสเซียก็ไม่ยอมคลื่อนพลทหารเข้าไปโจมตียูเครนอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ความสัมพันธ์ของชาติตะวันตกและรัสเซียถดถอยลง อีกทั้งสหรัฐยังเข้ามาประณามการกระทำของรัสเซียด้วยเช่นกัน 

ต่อมาได้มีการเจรจาให้รัสเซียยุติการทำสงคราม แต่รัสเซียไม่ยอม จึงเกิดการคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหญ่จากชาติตะวันตกและสหรัฐอเมริกา 

ปัจจุบันสงครามยูเครน-รัสเซียยังไม่มีที่ท่าว่าจะสงบ มีประชาชนหลายคนต้องตกเป็นเหยื่อของสงครามนี้ เสียชีวิตไปกว่าหลายราย จึงทำให้ทั่วโลกติดตามว่าสงครามนี้จะไปในทิศทางไหน และรัสเซียจะยอมถอยออกจากยูเครนเพื่อยุติสงครามหรือไม่ 

ประวัติ “วลาดิเมียร์ ปูติน” ผู้นำรัสเซียที่ครองตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook