รู้ทันกลโกง “แก๊งคอลเซนเตอร์” มีอะไรบ้าง พร้อมเผยวิธีจัดการหากหลงเชื่อ

รู้ทันกลโกง “แก๊งคอลเซนเตอร์” มีอะไรบ้าง พร้อมเผยวิธีจัดการหากหลงเชื่อ

รู้ทันกลโกง “แก๊งคอลเซนเตอร์” มีอะไรบ้าง พร้อมเผยวิธีจัดการหากหลงเชื่อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 แพลตฟอร์มระบุสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและมิจฉาชีพ อย่าง Whoscall (ฮูคอล) ได้รายงานว่าในปี 2566 คนไทยได้รับสายและ SMS จากมิจฉาชีพเยอะที่สุดในเอเชีย โดยคิดเป็นเฉลี่ยคนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัย 20.3 ข้อความ ทำให้คนไทยมีความเสี่ยงสูงสุดในเอเชียที่จะถูกหลอกผ่านโทรศัพท์ 

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีข่าวมิจฉาชีพหลอกโกงเงินเหยื่อแทบทุกวัน เพราะมิจฉาชีพหากลลวงใหม่ ๆ มาทำให้เราปวดหัวแทบทุกวัน 

วันนี้ Sanook จึงเปิด 4 กลอุบายของมิจฉาชีพ หรือแก๊งคอลเซนเตอร์ว่ามีอะไรบ้าง รวมไปถึงเผยวิธีการแก้ไขหากเกิดหลงเชื่อโอนเงินหรือถูกดูดเงินไปต้องทำอย่างไร 

1.หลอกว่าเราทำผิดกฎหมาย

หลายครั้งที่เหยื่อแก๊งคอลเซนเตอร์มักใช้การข่มขู่ให้เหยื่อเกิดความหวาดกลัว โดยผ่านการบอกเหยื่อว่า “เราทำผิดกฎหมายร้ายแรง” และมักปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมแจ้งให้เราโอนเงินไปให้ เพื่อจัดการคดี หรือตรวจเช็กว่าเราไม่ได้ทำจริง ๆ ซึ่งการใช้กลอุบายนี้ก็ทำให้เหยื่อรู้สึกกลัว กังวล และมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่น้อยลง ทำให้เสี่ยงที่จะหลงเชื่อมิจฉาชีพ 

ตัวอย่างคดีสำหรับกรณีนี้:

ปู่วัย 81 ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงิน 19 ล้าน จำนองบ้านอีก 3 ล้าน หมดตัวแถมเป็นหนี้

ในกรณีของคุณปู่วัย 81 ปี แก๊งคอลเซนเตอร์ใช้กลงอุบายอ้างว่าเป็นตำรวจ และอ้างว่า “คุณปู่พัวพันกับธุรกิจผิดกฎหมายอยู่ เนื่องจากพบว่าเป็นบัญชีของปู่เป็นบัญชีฝากเงินทุจริต จากการที่บัญชีธนาคารของปู่ถูกนำไปใช้” ด้วยเหตุนี้จึงขอให้ปู่แสดงความบริสุทธิ์ด้วยการโอนทรัพย์สินให้ตรวจสอบ อีกทั้งยังให้โอนเงินไปด้วย 

สองพี่น้องตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงินกว่า 7 ล้านบาท 

ผู้เสียหายได้รับโทรศัพท์ว่าอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่เครือค่ายโทรศัพท์และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยแจ้งเธอว่ามีคนแอบอ้างหมายเลขบัตรประชาชนของเธอไปเปิดเบอร์โทรศัพท์ ทำให้เกิดเรื่องเสียหาย ทั้งยังมีประวัติและหมายศาลมาให้เธอดูอย่างชัดเจน จึงทำให้เธอตกเป็นเหยื่อ โอนเงินไปให้มิจฉาชีพ 

2.หลอกเงินกู้ออนไลน์

ในบางกรณี พบว่ามีการหลอกว่าเป็นบริษัทกู้เงินออนไลน์ โดยอ้างว่าให้เหยื่อโอนเงินให้เป็นจำนวนหนึ่งก่อนถึงจะให้กู้เงินได้ ในกรณีนี้สามารถเห็นตัวอย่างได้จากข่าว “สองพี่น้องที่ถูกหลอกไป 7 ล้านบาท” สืบเนื่องจากข่าวนี้ เมื่อน้องถูกโกงไป คนพี่ก็เห็นใจเลยตัดสินใจกู้ออนไลน์ 1 ล้านบาท เธอถูกหลอกว่าเลขบัญชีที่กรอกเข้าไปในแอปผิดพลาด ทำให้เธอต้องโอนเงินเพื่อปลดล็อค เธอหลงเชื่อและถูกหลอกเงินไปจนหมด

3.หลอกว่าเป็นคนรู้จัก 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นอีกกลอุบายที่พบได้บ่อย โดยมิจฉาชีพจะมาในลักษณะโทรมาและให้เราทายว่า เขาคือใคร พยายามพูดจาหว่านล้อมให้เรานึกให้ออกว่าใคร และหากเราเอ่ยชื่อคนรู้จักเราไปหนึ่งคน มิจฉาชีพก็จะทำเออออว่าตัวเองเป็นคนนั้น และขอยืมเงินเราในที่สุด ซึ่งมีหลายคนที่หลงกลและตกเป็นเหยื่อ 

4.หลอกให้กดลิงก์ 

ถือเป็นอีกประเด็นที่พบได้บ่อยครั้ง ซึ่งมิจฉาชีพมักมาในรูปแบบส่งลิงก์มาให้เรากด ไม่ว่าจะผ่านทาง SMS หรือกล่องข้อความในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งเมื่อกดเข้าไปแล้วมิจฉาชีพจะสามารถควบคุมหน้าจอโทรศัพท์และดูดเงินจากบัญชีของเราได้ 

ตัวอย่างกรณีเช่น:

มีหนุ่มคนหนึ่งฝากประวัติไว้ในแอปพลิเคชั่นหางาน อ้างว่ามีงานมาเสนอ และส่งลิงก์มาเพื่อให้กดสมัครงาน โชคดีที่ชายคนนี้เอะใจ ไม่กดลิงก์ และนำเรื่องราวนี้มาเผยแพร่ให้เป็นอุทาหรณ์กับคนในโซเชียล 

 รู้ทันกลโกง “แก๊งคอลเซนเตอร์” มีอะไรบ้าง พร้อมเผยวิธีจัดการหากหลงเชื่อ

หากหลงกลเชื่อมิจฉาชีพ ทำอย่างไรได้บ้าง?

กรณีเผลอกดลิงก์

เพจเฟซบุ๊กของตำรวจสอบสวนกลาง ได้แนะนำหากพลาดกดลิงก์ปลอมควรทำอย่างไร โดยแนะนำดังนี

  1. ตั้งสติ และตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ทันที ทั้ง Wifi และ เครือข่ายมือถือเพื่อลุดความเสื่ยงที่ข้อมูลของเราจะหลุดออกไป
  2. ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ ทั้งสิ้น ในหน้าเว็บที่ลิงก์พาไป
  3. ไม่กดอนุญาต หรือ ยินยอม จากข้อความใดๆทั้งสิ้นที่แจ้งมาทางหน้าจอ 
  4. เคลียร์แอปฯ ทั้งหมดทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้แอปฯแปลกปลอมแอบทำงานอยู่
  5. ตรวจสอบแอปฯ ในเครื่องว่ามีแอปฯ อะไรแปลกปลอมติดตั้งมาเพิ่มเติมหรือไม่
  6. เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับบัญชีสำคัญทั้งหมด โดยเฉพาะบัญชีธนาคาร อีเมล และบัญชีโซเชียลมีเดีย พร้อมทั้ง log out ออกจากระบบในทุกอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
  7. เปิดการใช้งานการยืนยันตัวแบบสองชั้น เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์
  8. ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคารว่ามีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือไม่ หากมีให้รีบติดต่อธนาคารทันที

อีกทั้งยังเน้นย้ำว่าหากใครพบเจอลิงก์แปลกปลอม หรือเผลอกดลิงก์ไปแล้วและต้องการแจ้งความ สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนศูนย์ AOC 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง

กรณีเผลอโอนเงินให้มิจฉาชีพหรือถูกดูดเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำว่าหากเผลอโอนเงิน สามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้

  1. แจ้งทุกธนาคารให้ทราบ อาจจะผ่านสายด่วนหรือเดินทางไปติดต่อกับที่สาขาธนาคารทันทีที่รู้ตัวว่าถูกหลอก ซึ่งธนาคารจะช่วยระงับบัญชีให้เรานาน 72 ชั่วโมง ในขั้นตอนนี้เราจะได้รับ เลขที่คำขอ (Bank Case ID) เพื่อเป็นหลักฐานว่าธนาคารได้รับข้อร้องเรียนไว้แล้ว และให้ธนาคารระงับบัญชีปลายทางที่เงินเราถูกโอนไป
  2. ในช่วง 72 ชั่วโมงนี้ เราจะต้องแจ้งความกับตำรวจที่สาขาใดก็ได้ หรือผ่านทางตำรวจออนไลน์บนเว็บไซต์ (https://thaipoliceonline.com/ ) เพื่อให้ตำรวจทำงานร่วมกับธนาคาร ในการตรวจสอบเส้นทางการเงินและยืดเวลาระงับบัญชีต่อไปอีก 7 วัน โดยหากเข้าข่ายการกระทำความผิด ตำรวจจะส่งหมายให้ธนาคารอายัดบัญชีจนกว่ากระบวนการสืบสวนจะแล้วเสร็จ
  3. เก็บข้อมูลและหลักฐานทั้งหมดก่อนรีเซตโทรศัพท์

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook