อ.เจษฎ์ โพสต์แล้ว ผลวิจัยดื่มน้ำจาก "ขวดพลาสติก" เสี่ยงเบาหวาน คือขวดแบบไหนกันแน่?!

อ.เจษฎ์ โพสต์แล้ว ผลวิจัยดื่มน้ำจาก "ขวดพลาสติก" เสี่ยงเบาหวาน คือขวดแบบไหนกันแน่?!

อ.เจษฎ์ โพสต์แล้ว ผลวิจัยดื่มน้ำจาก "ขวดพลาสติก" เสี่ยงเบาหวาน คือขวดแบบไหนกันแน่?!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อ.เจษฎ์ โพสต์แล้ว ผลวิจัยดื่มน้ำจาก "ขวดพลาสติก" เสี่ยงเบาหวาน คือขวดแบบไหนกันแน่?!

จากกรณีงานวิจัยสหรัฐฯ พบข้อมูลที่ระบุว่า ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกทุกวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด "เบาหวาน" ประเภท 2 ล่าสุด อ.เจษฎ์ บอกอย่าเพิ่งตื่นตกใจ ไม่ใช่ขวดพลาสติกใสๆ แบบที่เราดื่มกัน

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ข้อมูลต่อประเด็นดังกล่าว ผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า "งานวิจัย BPA นี้ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับขวดน้ำดื่ม PET ที่ใช้กันครับ .. คนชอบใส่รูปประกอบผิด .. ไม่ต้องกังวลครับ"

"ขวดพลาสติก" ที่งานวิจัยศึกษาผลของสาร BPA ต่อการเกิดโรคเบาหวานนี้พูดถึง ไม่ได้หมายถึง "ขวดน้ำดื่มแบบ PET" ขวดใสๆ ที่เราใช้กัน แต่เป็นพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต polycarbonate

ตามรายงานข่าวนั้น บอกว่า ผลการศึกษาของทีมนักวิจัยจาก California Polytechnic State University ในสหรัฐ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Diabetes ชี้ว่า การดื่มน้ำผ่านขวดพลาสติก (ชนิดที่มีส่วนผสมของสาร BPA) บ่อยๆ อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ เนื่องจากขวดพลาสติก (ชนิดที่มีส่วนผสมของสาร BPA) มีสารเคมี BPA ที่สามารถลดความไวของร่างกายต่ออินซูลินได้

ตามรายงานของทีมวิจัย พบว่า จากการสุ่มทดลองกับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี 40 คน โดยมีทั้งคนที่ได้รับยาหลอก (placebo) กับคนที่ได้รับสาร BPA ประมาณ 50 ไมโครกรัมต่อร่างกายหนึ่งกิโลกรัมของน้ำหนัก (เป็นการให้รับสารเคมีโดยตรง ไม่ใช่การดื่มน้ำหรือกินอาหารจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก) ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณที่สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ถือว่า อยู่ในประเภทปลอดภัยในปัจจุบัน

ซึ่งผลการทดสอบ พบว่า ผู้ที่ได้รับสาร BPA มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยพวกเขาจะตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลงหลังจากผ่านไป 4 วัน ดังนั้น สาร BPA อาจลดความไวของร่างกายต่ออินซูลิน จึงส่งผลต่อการเผาผลาญกลูโคส นี่เป็นการศึกษาครั้งแรกที่ยืนยันโดยตรงว่า การบริโภค BPA เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 ในผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม สารเคมี BPA ส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม และขวดน้ำพลาสติก (พวกที่ทำจากพลาสติกโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมี BPA ปนอยู่) สามารถลดความไวต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งควบคุมการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายได้ .. ทาง สมาคมโรคเบาหวานแห่งอเมริกา (ADA) จึงได้ออกมาเรียกร้อง ให้มีกฎระเบียบทางอุตสาหกรรมถึงปริมาณความปลอดภัยของสาร BPA ที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าการสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านี้จะลดลง

สรุป งานวิจัยผลของการกินสาร BPA ต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานนี้ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ "ขวดน้ำดื่ม PET" เพราะขวด PET ไม่ได้มี BPA เป็นส่วนผสม ... เฉพาะพวกขวด โพลีคาร์บอเนต ต่างหากที่อาจน่ากังวลได้ ถ้ามี BPA สูง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook