"6 อวัยวะ" ที่ไม่จำเป็นสำหรับมนุษย์อีกแล้ว ... บางอย่างหายไป แต่บางอย่างก็ยังอยู่!

"6 อวัยวะ" ที่ไม่จำเป็นสำหรับมนุษย์อีกแล้ว ... บางอย่างหายไป แต่บางอย่างก็ยังอยู่!

"6 อวัยวะ" ที่ไม่จำเป็นสำหรับมนุษย์อีกแล้ว ... บางอย่างหายไป แต่บางอย่างก็ยังอยู่!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนน่าจะทราบดีว่า ไส้ติ่ง คืออวัยวะไร้ประโยชน์ที่หลงเหลือมาจากกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า นอกจาก ไส้ติ่ง แล้ว ยังมีอวัยวะอื่นๆในร่างกายที่ไม่มีประโยชน์ใช้งานสำหรับคนยุคปัจจุบันอีกต่อไป

รายงานจาก BBC เผยว่า ดร.ดอร์ซา อามีร์ นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาด้านวิวัฒนาการ ระบุว่า "ร่างกายของคุณก็คือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติดีๆนี่เอง"

แล้วเหตุใดลักษณะสืบสายพันธุ์เหล่านี้ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเราแม้ว่ามันจะไม่มีประโยชน์แล้ว?

คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญก็คือ เพราะวิวัฒนาการเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั่นเอง

ในบางครั้งก็ไม่มีแรงกดดันจากการคัดเลือกทางธรรมชาติเพียงพอที่จะขจัดลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ไร้ประโยชน์บางอย่างไป ดังนั้น มันจึงยังหลงเหลืออยู่จากรุ่นสู่รุ่น ในบางกรณีลักษณะสืบสายพันธุ์เหล่านี้ได้พัฒนาประโยชน์การใช้งานใหม่ขึ้น ในกระบวนการที่เรียกว่า "การเปลี่ยนหน้าที่ของโครงสร้าง" (exaptation)

และนี่คือลักษณะที่หลงเหลือจากวิวัฒนาการ 6 อย่างที่พบในมนุษย์

1. หางตัวอ่อนมนุษย์
1ตัวอ่อนมนุษย์พัฒนาหางขึ้นมาในสัปดาห์แรกๆของการปฏิสนธิ แต่หางนี้จะหายไปก่อนที่เราจะเกิด และกระดูกสันหลังที่เหลืออยู่จะกลายเป็นกระดูกก้นกบ

2. ฟันคุด
2ฟันกรามซี่ที่ 3 ของมนุษย์มีประโยชน์น้อยลงเพราะคนเราเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและธัญพืชหุงสุก มนุษย์ยุคปัจจุบันไม่ได้มีฟันคุดกันทุกคน และทันตแพทย์หลายคนมักแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกไป

3. กล้ามเนื้อออริคิวลาร์ (auricular muscles)
3สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้เพื่อขยับใบหู รวมทั้งใช้ตรวจจับฟังเสียงของเหยื่อและสัตว์นักล่าต่างๆ แต่สำหรับมนุษย์ซึ่งมีคอที่ยืดหยุ่นมากกว่าสำหรับการระแวดระวังภัย จึงไม่จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้อีกต่อไป

4. กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส (palmaris longus)
4เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตั้งแต่บริเวณข้อมือถึงข้อศอก มันช่วยบรรพบุรุษของเราในการปีนป่ายต้นไม้ ทว่าปัจจุบันมีมนุษย์ราว 10% ที่ไม่มีกล้ามเนื้อส่วนนี้อีกต่อไปแล้ว

5. กล้ามเนื้อเรียบ (arrector pili)
5ในอดีตที่บรรพบุรุษของมนุษย์มีขนปกคลุมร่างกายอยู่มาก กล้ามเนื้อส่วนนี้ช่วยให้พวกเขา "พองขน" จนดูตัวใหญ่และน่าเกรงขามกว่าความเป็นจริง หรือเพื่อช่วยให้ร่างกายรักษาความร้อนเอาไว้ในสภาพอากาศหนาวเย็น

แต่ปัจจุบันเมื่อมนุษย์มีขนตามลำตัวน้อยลง กล้ามเนื้อส่วนนี้ทำให้เราเกิดเพียงอาการขนลุกเมื่อมันมีอาการหดตัวจากสิ่งเร้า

"เมื่อเราเริ่มมีขนน้อยลง ปฏิกิริยานี้จึงไร้ประโยชน์ ถึงขั้นที่มันไม่ได้ทำหน้าที่ดั้งเดิมตามธรรมชาติของมัน" ดร.อามีร์ กล่าว

6. หัวนมผู้ชาย
6ทารกในครรภ์เพศชายและหญิง มีพัฒนาการแบบเดียวกันในช่วงแรก โดยหัวนมของเด็กชายพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ก่อนที่ฮอร์โมนจะเริ่มทำงานและกระตุ้นให้มีการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook