ย้อนโศกนาฏกรรม เที่ยวบิน Aloha 243 หลังคาหลุดกลางอากาศ เหตุผลทำไมต้องคาดเข็มขัด

ย้อนโศกนาฏกรรม เที่ยวบิน Aloha 243 หลังคาหลุดกลางอากาศ เหตุผลทำไมต้องคาดเข็มขัด

ย้อนโศกนาฏกรรม เที่ยวบิน Aloha 243 หลังคาหลุดกลางอากาศ เหตุผลทำไมต้องคาดเข็มขัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ย้อนโศกนาฏกรรม Aloha Airlines 243 เที่ยวบินเปิดประทุนไร้หลังคาที่โลกต้องจดจำ เหตุผลว่าทำไมต้องคาดเข็มขัด

เครื่องบิน โบอิ้ง 732-297 ของสายการบิน Aloha Airlines เที่ยวบินที่ 243 ออกเดินทางจากเมืองฮิโล ไปยังเมืองโฮโนลูลู ซึ่งเมืองทั้งสองตั้งอยู่บนเกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากเทกออฟได้เพียง 20 นาที กลับเกิดเหตุสุดระทึกที่โลกต้องจารึก

ย้อนกลับไปเมื่อ 28 เมษายน 1988 เที่ยวบินที่ 243 ของสายการบิน Aloha ออกเดินทางจากสนามบินเมืองฮิโลในเวลา 13.25 น. พร้อมกับผู้โดยสารจำนวน 85 คน และลูกเรืออีก 5 คน ก่อนการเดินทาง ไม่มีรายงานสภาพอากาศว่าผิดปกติแต่อย่างใด

กัปตันในเที่ยวบินนี้คือ กัปตันโรเบิร์ต อายุ 44 ปี (ในขณะนั้น) มีประสบการณ์การบินมากว่า 8,500 ชั่วโมง และผู้ช่วยที่หนึ่งซึ่งเป็นผู้หญิงคือ แมเดลีน มีมี่ ทอมป์กินส์ อายุ 37 ปี (ในขณะนั้น)

กัปตันและผู้ช่วยนักบิน

เวลา 13.48 น. หลังจากที่เครื่องบินบินขึ้นแตะระดับความสูงปกติที่ 24,000 ฟุต ผู้โดยสารทางด้านหน้าของเครื่องบินเริ่มรู้สึกได้ว่า มีลมจากด้านนอกพัดเข้ามาทางด้านบน และเมื่อเงยหน้า ก็พบว่าชิ้นส่วนเล็กๆ บนหลังคาเครื่องบินทางด้านซ้ายค่อยๆ ปริและแตกออก จนสิ่งของบนเครื่องบิน สัมภาระ จานชามอาหาร เริ่มถูกดูดออกไปทางช่องหลังคาที่แตก ข้าวของในเครื่องบินที่ปลิวลอยไปมาได้ลอยมากระแทกกับหน้าและลำตัวของผู้โดยสารอย่างจังโดยที่ไม่สามารถหลบหลีกได้

ฝ่ายนักบินเริ่มรู้สึกได้ว่า เครื่องบินเริ่มโคลงเคลงและเสียการควบคุม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Decompression ซึ่งหมายถึงการที่ระบบปรับความดันในห้องนักบินและห้องโดยสารของเครื่องบินล้มเหลว เครื่องบินสูญเสียความดัน เพราะความดันอากาศด้านนอกซึ่งต่ำมากได้เข้ามา ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างในห้องนักบินและห้องโดยสารที่ไม่มีอะไรยึดติด ถูกอากาศด้านนอกดูดออกไปหมด รวมไปถึงชิ้นส่วนหลังคาและผนังเครื่องบินของที่นั่งชั้น First Class 6 แถว ประตูห้องนักบินถูกแรงลมและแรงดันอากาศด้านนอกที่พัดเข้ามาในเครื่องฉีกกระชากจนบิดงอ

 

สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือ แอร์โฮสเตสคนหนึ่ง ซึ่งให้บริการผู้โดยสารอยู่ก่อนเกิดเหตุ ทำให้เธอไม่ได้นั่งอยู่กับที่ โดยยืนอยู่ใกล้กับประตูแถวที่ 5 ซึ่งถูกแรงดันกระชากจนประตูหลุดออกไป ร่างของแอร์โฮสเตสเคราะห์ร้ายได้ถูกแรงดันกระชากจนหลุดออกจากเครื่องบินไปพร้อมกับประตูด้วยได้ถูกแรงดันกระชากจนหลุดออกจากเครื่องบินไปพร้อมกับประตูด้วย

ในเวลาที่เกิดเหตุ ผู้ที่กำลังทำการขับเครื่องบินคือผู้ช่วยนักบินที่หนึ่งซึ่งเป็นผู้หญิง ได้พยายามหาทางนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินที่ใกล้ที่สุด ซึ่งก็เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะการติดต่อกับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศถูกขัดขวางด้วยเสียงลมแรงจากช่องหลังคาที่แตกเข้ามาแทรก แม้แต่นักบินและผู้ช่วยนักบินซึ่งนั่งใกล้กัน ก็ต้องสื่อสารกันด้วยภาษามือแทน แต่โชคดีที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศมองเห็นสัญญาณฉุกเฉินของเครื่องบินบนจอเรดาร์ ทำให้สามารถรีบเตรียมความช่วยเหลือได้ทัน

เมื่อเครื่องบินลดระดับความสูงลง ผู้โดยสารและนักบินเริ่มหายใจได้เองโดยไม่ต้องพึ่งหน้ากากออกซิเจน ถึงแม้เครื่องบินจะเสียสมดุลไปบ้าง แต่ก็ยังสามารถควบคุมได้อยู่ และในที่สุดนักบินสามารถนำเครื่องบินร่อนลงจอดที่สนามบินบนเกาะมาอิได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทุกคนต่างเหลือเชื่อที่กัปตันสามารถนำเครื่องบินสภาพนี้ลงจอดได้ราวกับปาฏิหาริย์

มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บจำนวน 65 คน ในจำนวนนี้มี 8 คนที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทั้งหมดได้ถูกนำตัวไปยังโรงพยาบาล รายที่ได้รับบาดเจ็บหนักๆ คือผู้โดยสารบริเวณแถวหน้าหรือชั้น First Class ที่ชิ้นส่วนหลังคาเครื่องบินและผนังด้านข้างหลุดออกไป ทำให้มีอาการแก้วหูฉีกขาดจากการที่เครื่องบินลดระดับอย่างรวดเร็ว ข้าวของบนเครื่องบินลอยมากระแทกอย่างรุนแรง จนสมองกระทบกระเทือน กระดูกแตก 

ไม่มีการพบชิ้นส่วนของเครื่องบินที่แตกหักและหลุดออกไป และที่น่าสลดใจที่สุดคือ ไม่มีใครได้พบร่างของ Clarabelle Lansing ลูกเรืออาวุโสที่ถูกดูดหายออกไปจากเครื่องอีกเลย เธอถุกระบุว่าเป็นผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียวในเหตุการณ์นี้

Clarabelle Lansing ลูกเรือที่เสียชีวิตClarabelle Lansing ลูกเรือที่เสียชีวิต

หลังจากเกิดเหตุ ทีมของ NTSB (United States National Transportation Safety Board) หรือ หน่วยรักษาความปลอดภัยการขนส่งของอเมริกา ได้เข้ามาทำการตรวจสอบสาเหตุและได้ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากสภาพของเครื่องบินที่เก่าและทรุดโทรม จนทำให้เกิดรอยแตกบนหลังคาตั้งแต่ก่อนขึ้นบิน โดยเครื่องบินลำนี้มีอายุการใช้งานเกือบ 20 ปี ทำให้สภาพเครื่องบินเริ่มผุกร่อนจากความชื้น และจากการสอบสวนผู้โดยสารบนเครื่อง พบว่า มีผู้โดยสารคนหนึ่งสังเกตเห็นรอยแตกเล็กๆ ก่อนออกเดินทาง แต่ไม่ได้แจ้งกับใคร     

เหตุการณ์นี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี 1990 ชื่อเรื่องว่า Miracle Landing 

ความโชคดีของเหตุการณ์นี้คือเกิดขึ้นหลังจากเครื่องบินแตะระดับการบินปกติ ทำให้ผู้โดยสารทุกคนยังนั่งอยู่กับที่ ไม่ลุกไปไหน และยังคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ทุกคน ทำให้ไม่ถูกแรงดันกระชากหลุดออกจากเครื่อง นี่คือสาเหตุว่าทำไมเราควรรัดเข็มขัดเวลาอยู่บนเครื่องบิน และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่ได้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายขนาดที่ว่าหลังคาเครื่องบินหายไปกลางอากาศ แต่ภาวะโลกร้อนก็ได้ส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลอากาศ ซึ่งทำให้เกิดการตกหลุมอากาศได้บ่อยขึ้นแม้ในอากาศที่ดูปลอดโปร่ง

การคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่บนที่นั่งเครื่องบิน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยไม่ให้เกิดอันตรายจากการกระแทก อย่างล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ เที่ยวบิน UX045 ของสายการบินแอร์ ยูโรปา (Air Europa) ตกหลุมอากาศรุนแรง ระหว่างเดินทางจากกรุงมาดริด ประเทศสเปน ทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัยตัวลอยขึ้นจากที่นั่ง ขึ้นไปติดอยู่ภายในช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ ย้อนโศกนาฏกรรม เที่ยวบิน Aloha 243 หลังคาหลุดกลางอากาศ เหตุผลทำไมต้องคาดเข็มขัด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook