สคส.เตือนภัย! มุกใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้ AI ปลอมเป็นตำรวจ ล้วงข้อมูลส่วนตัว

สคส.เตือนภัย! มุกใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้ AI ปลอมเป็นตำรวจ ล้วงข้อมูลส่วนตัว

สคส.เตือนภัย! มุกใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้ AI ปลอมเป็นตำรวจ ล้วงข้อมูลส่วนตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สคส. เตือนมุขใหม่มิจฉาชีพ ใช้ AI ปลอมเป็นตำรวจ โทรหาเหยื่อ ล้วงข้อมูลส่วนตัว ทั้งย้ำไม่ให้ปชช.แชร์ภาพตำรวจ AI อาจโดนโทษหนัก

จากกรณีตำรวจหญิงเข้าแจ้งความถูกเพจสถานีตำรวจแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน นำรูปพร้อมคลิปวิดีโอที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้เทคโนโลยี AI ตัดต่อภาพ ปลอมเป็นตัวเธอโทรวิดิโอคอลหาเหยื่อ พร้อมข่มขู่ล้วงข้อมูลส่วนบุคคล หลอกโอนเงิน สร้างความเสียหายอย่างหนัก

หลังจากเกิดเรื่องราวดังกล่าว แอดมินเพจสถานีตำรวจได้นำรูปและคลิปวีดิโอนั้นมาโพสต์หวังเตือนภัยประชาชนให้ระวังภัยมิจฉาชีพ กลายเป็นกระแสกระหึ่มโซเชียล ประชาชนแชร์คลิปต่อ จนทัวร์ลง “ตำรวจหญิง” และครอบครัวอย่างหนัก

ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอเตือนให้ประชาชนและเพจต่างๆไม่แชร์ข้อมูลของผู้เสียหาย เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่กลุ่มมิจฉาชีพปลอมแปลงขึ้นมา

โดยใช้เทคโนโลยี AI ในการตัดแต่งภาพและนำภาพเหล่านั้นมาหลอกเหยื่อ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง สำหรับกรณีนี้ซึ่งมีการทำข้อมูลปลอม/เท็จขึ้นมา หากประชาชนนำไปแชร์ต่อ เสี่ยงต้องรับโทษหนัก ทั้งทางอาญา ทางแพ่ง ทางปกครอง ตามกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งรวมถึงกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า กลุ่มมิจฉาชีพได้พัฒนาเทคโนโลนีต่างๆ มาหลอกผู้คน สร้างความเสียหายทุกๆวันแพร่ไปหลากหลายวงการ เช่น การปลอมแปลงรูปถ่ายเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงศิลปินดารา หรือผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงสังคม มาหลอกเหยื่อ

ดังนั้นจึงอยากเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ หากไม่แน่ใจว่า บุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่ สามารถโทรตรวจสอบจากหน่วยงานต้นสังกัดได้ทันที และอย่านำข้อมูลเหล่านั้นไปแชร์ต่อ

ดร.ศิวรักษ์ กล่าวเสริมอีกว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) กล่าวได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีฟังก์ชันการทำงานเลียนแบบมนุษย์ได้ และยังสามารถเรียนรู้ข้อมูลเพื่อพัฒนาระดับความรู้ความเชี่ยวชาญและความฉลาดให้สูงขึ้นได้เองอย่างต่อเนื่อง หากเหล่ามิจฉาชีพนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ในทางที่ผิด อาจสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับองค์กรหรือบุคคลอื่นๆได้

โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC พร้อมทำหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเต็มกำลัง ทั้งนี้การโพสต์หรือแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ระมัดระวังอาจเข้าข่ายผิดกฏหมายหลายฉบับซึ่งมีโทษหนักทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook