คิดว่าดี! หนุ่ม 26 ออกกำลังกายท่าฮิต ฉี่เป็นเลือด-กล้ามเนื้อสลาย นอน รพ.เป็นสัปดาห์

คิดว่าดี! หนุ่ม 26 ออกกำลังกายท่าฮิต ฉี่เป็นเลือด-กล้ามเนื้อสลาย นอน รพ.เป็นสัปดาห์

คิดว่าดี! หนุ่ม 26 ออกกำลังกายท่าฮิต ฉี่เป็นเลือด-กล้ามเนื้อสลาย นอน รพ.เป็นสัปดาห์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนุ่มออฟฟิศวัย 26 ฉี่เป็นเลือด หมอพบ “ภาวะกล้ามเนื้อสลาย” เสี่ยงไตวายเฉียบพลัน ต้องนอน รพ.เป็นสัปดาห์ เพราะออกกำลังกายท่ายอดฮิต หวังลดน้ำหนักจีบสาว

การออกกำลังกายหนักเกินไปอย่างกะทันหัน ถือเป็นข้อผิดพลาดอันตรายที่หลายคนไม่ระวัง โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวหรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วมักทำกัน เช่นเดียวกับกรณีชายหนุ่มในประเทศจีน

นายมิน (นามสมมุติ) จากเมืองเฉิงตู ประเทศจีน ก็ประสบสถานการณ์คล้ายกันเช่นกัน ปีนี้เขาอายุ 26 ปี ทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศ ขี้เกียจออกกำลังกาย จึงสะสมไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้องไว้มาก กระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ มีความสนใจต่อพนักงานหญิงคนใหม่ที่สวยมาก เขาจึงเริ่มต้องการลดน้ำหนักเพื่อปรับปรุงรูปลักษณ์ของตนเอง

นายมินใช้เวลาช่วงบ่ายของวันหยุดสุดสัปดาห์ ไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสเซ็นเตอร์ใกล้บ้าน โดยวิ่งบนลู่วิ่งเป็นเวลา 30 นาทีแล้วทำสควอช (Squat)  200 ครั้ง เมื่อเขากลับบ้านก็รู้สึกปวดกล้ามเนื้อมากจนเดินลำบาก แต่คิดเพียงว่าเป็นเพราะไม่ได้ออกกำลังกายมาเป็นเวลานาน จึงไม่ได้ใส่ใจมากนัก กระทั่งตกดึกเมื่อรู้ตัวว่า “ปัสสาวะเป็นเลือด” เขาก็ตื่นตระหนกอย่างมาก และรีบนั่งแท็กซี่ไปโรงพยาบาลทันที

ดร.เหอ ชิงเหลียน รองหัวหน้าแผนกโรคไต โรงพยาบาลประชาชนเฉิงตู หมายเลข 2 (จีน) ตรวจวินิจฉัยพบว่าการตรวจปัสสาวะประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดงและโปรตีนจำนวนมาก ก่อนสรุปว่าผู้ป่วยมีอาการ ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) ซึ่งนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน และตับถูกทำลาย

"ผลการทดสอบระดับทรานซามิเนสในเลือดสูงอย่างน่าตกใจ ดัชนีครีเอตินีนของเขาสูงถึง 220 ไมโครโมล/ลิตร ในขณะที่ค่าปกติสำหรับผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่คือ 53-106 ไมโครโมล/ลิตร ความเข้มข้นนี้สูงเกินไปและอาจทำให้เกิดเนื้อร้ายในท่อไตไตวาย...”

ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) เป็นกลุ่มอาการที่อันตราย หมายถึงภาวะที่เซลล์กล้ามเนื้อโครงร่างได้รับความเสียหายและถูกทำลาย ซึ่งนำไปสู่การปล่อยสารต่างๆ ในเซลล์กล้ามเนื้อเข้าสู่กระแสเลือด ได้แก่ โพแทสเซียม กรดยูริก ไมโอโกลบิน กรดแลคติค เอนไซม์... ทำให้เกิดความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ ภาวะกรดในเมตาบอลิซึม ภาวะช็อค ภาวะโพแทสเซียมสูง โรคคอมพาร์ตเมนต์ หรือการอุดตันของท่อไตเฉียบพลัน กรณีที่รุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้

“อาการหลักของภาวะ rhabdomyolysis คือ ปวดกล้ามเนื้อ และปัสสาวะสีน้ำตาลหรือแดง ซึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นปัสสาวะน้อยหรือไม่มีเลย สาเหตุของโรค ได้แก่ การบาดเจ็บ ไฟฟ้าช็อต ฟ้าผ่า การอุดตันของหลอดเลือดแดงเฉียบพลัน กรดคีโตซิสหรือพิษเฉียบพลัน การออกกำลังกายอย่างกะทันหัน หรือการออกแรงมากเกินไปอย่างต่อเนื่อง..."

ในกรณีของนายมิน เขาไม่ได้ออกกำลังกายมาหลายปีแล้ว และแทบไม่ได้เล่นกีฬาเลย ดังนั้น เมื่อออกกำลังกายกะทันหันร่างกายจึงไม่มีเวลาปรับตัว และออกกำลังกายหนักมากเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ และทำให้เซลล์กล้ามเนื้อแตกตัวปล่อยโปรตีนที่เรียกว่าไมโอโกลบิน (myoglobin) เข้าสู่กระแสเลือด เมื่อถูกปล่อยออกมาในปริมาณมาก ไตจะไม่สามารถชำระล้างเลือดและขับถ่ายออกทางปัสสาวะได้ทัน จึงทำให้กลายเป็นสีแดงเหมือนเลือด ขณะเดียวกันยังทำให้เกิดการอุดตันของท่อไต ไตวาย และตับถูกทำลาย

โชคดีที่นายมินมาถึงโรงพยาบาลทันเวลา ล่าสุดอาการจึงพ้นขีดอันตรายแล้ว อย่างไรก็ตาม เขายังต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 7 วันหลังจากนั้น ทั้งนี้ คุณหมอเตือนว่า แม้ว่าจะเล่นกีฬาด้วยความตั้งใจดี แต่ถ้าทำผิดวิธีก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บและอันตรายต่อชีวิต โดยพบว่ามีข้อผิดพลาดในการออกกำลังกายที่หลายๆ คน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวมักทำกัน 4 ประการ ได้แก่

- ไม่ได้ออกกำลังกายมานาน แต่จู่ๆ ก็ออกกำลังกายอย่างแรงหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน

- ออกกำลังกายหนักเกินไปโดยใช้แรงมากเกินไป ใช้เวลานานเกินไป หรือเคลื่อนไหวยากเกินไป

- การไม่อบอุ่นร่างกาย หรือวอร์มร่างกายไม่ถูกต้องก่อนออกกำลังกาย

- ดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อการออกกำลังกาย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook