หนุ่มกินอาหารทำเองที่บ้าน ช็อก ป่วยมะเร็งซ้ำซ้อน หมอชี้พลาดตรง "กระทะ" ที่ใช้ในครัว

หนุ่มกินอาหารทำเองที่บ้าน ช็อก ป่วยมะเร็งซ้ำซ้อน หมอชี้พลาดตรง "กระทะ" ที่ใช้ในครัว

หนุ่มกินอาหารทำเองที่บ้าน ช็อก ป่วยมะเร็งซ้ำซ้อน หมอชี้พลาดตรง "กระทะ" ที่ใช้ในครัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนุ่มรักษาสุขภาพ สั่งคนที่บ้านทำกับข้าวให้กินทุกมื้อ ช็อก ป่วยมะเร็งซ้ำซ้อน 2 จุด หมอชี้พลาดตรง "กระทะ" ที่ใช้ทำอาหาร

การรับประทานอาหารนอกบ้านโดยทั่วไปไม่ดีต่อสุขภาพเท่ากับการทำอาหารที่บ้าน แต่แพทย์ในไต้หวันบอกว่ามีกรณียกเว้นเหมือนกัน เพราะคนไข้รายหนึ่งของเขา ป่วยมะเร็งซ้ำซ้อนเพราะกินอาหารที่ทำกินเองที่บ้านทุกมื้อ

ดร. หลิว โบเรน ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและการแพทย์ เล่าถึงเคสในรายการ "Little Universe" ผู้ป่วยชายคนหนึ่งมีงานยุ่งอยู่ตลอด เขาจึงมักจะขอให้ป้าช่วยเตรียมอาหารที่บ้านให้ อย่างไรก็ตาม วันหนึ่งป้าพบว่าผิวกระทะเทฟลอนมีการหลุดลอกออกอย่างมาก แต่เธอก็ไม่ได้เปลี่ยนใหม่เพื่อเป็นการประหยัดเงิน ส่งผลให้ผู้ป่วยชายได้รับการยืนยันว่าเป็นมะเร็งไตและ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะในอีกไม่กี่ปีต่อมา

ดร. หลิว โบเรน กล่าวต่อว่าตามรายงานการตรวจของโรงพยาบาล ในร่างกายของชายรายนี้ มีสารเคมีในตระกูล PFAS ค่าสูงเกินปกติอย่างมาก โดยสาร PFAS (per- and polyfluoroalkyl substances) ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม สารตระกูลนี้มีสมบัติทั้งชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ จึงถูกใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น สารเคลือบกระทะ ผ้ากันเปื้อน ถุงหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะช่วยป้องกัน น้ำมัน และไขมันจากอาหาร หรือ โฟมดับเพลิง เป็นต้ย

ดร. หลิว โบเรน ยังกล่าวด้วยว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของเขาคือ โดยปกติแล้ว 1 ใน 10 คนที่มาทดสอบจะมีค่าสารอันตรายในร่างกายชนิดนี้สูง สาเหตุหลักมาจากการที่พวกเขาเผลอกินเทฟลอนที่ลอกจากเครื่องครัว จึงเตือนประชาชนในการเลือกซื้อกระทะเทฟลอน หรือหากพบว่าที่กระทะมีรอยขีดข่วนให้เปลี่ยนทันที

สุดท้ายนี้ ดร.หลิว โบเรน เน้นย้ำว่า เวลาที่สารใช้ในการสลายตัวไปยาวนานมาก อาจจะ 1-2 ปีจึงจะกำจัดออกไปได้อย่างสมบูรณ์ การสะสมของเทฟลอนในร่างกายมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook