เตือนแล้วนะ! เผยชื่อ “ชา” ยอดนิยม ที่ดื่มเยอะเสี่ยง "มึนเมา" ตาพร่า-กล้ามเนื้อกระตุก

เตือนแล้วนะ! เผยชื่อ “ชา” ยอดนิยม ที่ดื่มเยอะเสี่ยง "มึนเมา" ตาพร่า-กล้ามเนื้อกระตุก

เตือนแล้วนะ! เผยชื่อ “ชา” ยอดนิยม ที่ดื่มเยอะเสี่ยง "มึนเมา" ตาพร่า-กล้ามเนื้อกระตุก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 ผู้เชี่ยวชาญเตือนชา 1 ชนิด ดื่มเยอะเสี่ยง "มึนเมา" ตาพร่า-กล้ามเนื้อกระตุก คนยุคนี้ชอบดื่มกัน!

ชา ถือเป็นเครื่องดื่มคุ้นเคยของคนทุกเพศทุกวัย เพราะมีกลิ่นหอม รสชาติดี ดื่มง่ายคล่องคอ ไม่ว่าจะดื่มคู่กับขนมในยามบ่ายหรือดื่มเป็นเครื่องดื่มเรียกน้ำย่อยในตอนเช้า โดยชามีหลายประเภทให้เลือกดื่มตามความชอบส่วนบุคคล และ “เอิร์ลเกรย์”  ก็ถือเป็นชาชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

“เอิร์ลเกรย์” เชื่อกันว่าเดิมทีชาชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นของขวัญชิ้นพิเศษสำหรับชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2 (Charles Grey, 2nd Earl Grey) เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวอังกฤษจากพรรควิก ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ระหว่างปี 1830 ถึง 1834

แต่ระวังไว้!!! เพราะเครื่องดื่มยอดนิยมนี้อาจทำให้รู้สึก “มึนเมา” ได้ ตามข้อมูลจาก Quite Interesting ซึ่งเกี่ยวข้องกับทีมงานเบื้องหลังรายการ QI ของ BBC  ที่โพสต์ลงในแพลตฟอร์ม X (เดิมคือTwitter ) ระบุว่า "การดื่มชาเอิร์ลเกรย์มากกว่า16 ถ้วย (4 ลิตร) ต่อวัน จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และการมองเห็นไม่ชัดเจน อาการนี้เรียกว่า 'อาการมึนเมาจากเอิร์ลเกรย์'"

เว็บไซต์ WebMD อธิบายว่าอาการมึนเมาดังกล่าวที่เกิดขึ้น น่าจะมาจากสารเบอร์กาม็อตในชาเอิร์ลเกรย์  ซึ่งไปรบกวนช่องโพแทสเซียม และทำให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกและเป็นตะคริว อีกทั้งเครื่องดื่มร้อนยังมี "คาเฟอีนในปริมาณมาก" ซึ่งอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล ส่งผลให้นอนไม่หลับ และทำให้มีอาการซึมเศร้ามากขึ้น

อย่างไรก็ หลังจากข้อมูลนี้เผยแพร่ออกมา ชาวเน็ตได้แสดงความคิดเห็นอย่างติดตลกว่า เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ในขณะที่คนอื่นๆ กล่าวว่า "ขอบคุณพระเจ้าที่ฉันดื่มไปแค่ 15 แก้วเท่านั้น" , "ฉันเป็นพวกคลั่งไคล้ชาและดื่มเยอะในวันที่มีอาการเมาค้าง แต่ดื่ม 16 แก้วนี่บ้าไปแล้ว"

“เป็นการเตือนใจที่ดีว่าความหมายที่แท้จริงของคำว่า ‘มึนเมา’ ไม่ได้หมายถึง ‘เมา’ แต่หมายถึง ‘สารพิษได้เข้าไปในตัวคุณแล้ว’ ดังนั้นจึงควรทราบไว้ เพียงแต่ไม่ควรดื่มมากเกินไป”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook