เหตุใดจึงเริ่มต้นเรียกว่า Gen X ... แล้ว Gen A จนถึง Gen W หายไปไหน?

เหตุใดจึงเริ่มต้นเรียกว่า Gen X ... แล้ว Gen A จนถึง Gen W หายไปไหน?

เหตุใดจึงเริ่มต้นเรียกว่า Gen X ... แล้ว Gen A จนถึง Gen W หายไปไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Generation (เจเนเรชัน) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ติดปากว่า "Gen (เจน)" คือ การแบ่งกลุ่มคนตามยุคสมัยทางสังคมโดยมีการเมืองหรือเหตุการณ์สำคัญทางสังคมเป็นตัวกำหนด แบ่งตามช่วงปีที่เกิด เกิดเป็นกลุ่มช่วงอายุที่เกิดประสบการณ์และค่านิยมที่มีร่วมกัน

Generation นั้นมีหลายช่วงและการแบ่งกลุ่มเหล่านี้มักจะใช้เพื่อทำความเข้าใจว่าคนรุ่นต่างๆ คิดอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร และมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่มักมีคำพูดตีตรากันอยู่เสมอว่าผู้สูงอายุหรือคนรุ่นก่อนนั่นตามไม่ทันโลก หรือคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อฟังและความอดทนต่ำ สั่งเหล่านี้กำลังจะเป็นปัญหามากขึ้นๆเรื่อยเนื่องจากความต่างของ Generation
istock-1536023828โดย Generation ต่างๆ ในระดับที่สากลเข้าใจตรงกัน จำแนกได้ดังนี้

1. Lost Generation (เกิดในช่วงปี 1890-1915)
2. Greatest Generation (เกิดในช่วงปี 1910-1924)
3. Silent Generation (เกิดในช่วงปี 1925-1945)
4. Baby Boomer หรือ Gen B (เกิดในช่วงปี 1946-1964)
5. Gen X (เกิดในช่วงปี 1965-1980)
6. Gen Y (เกิดในช่วงปี 1981-1996)
7. Gen Z (เกิดในช่วงปี 1997-2009)
8. Gen Alpha (เกิดในช่วงปี 2010-2025)

อย่างไรก็ดี เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เพราะเหตุใด เจนที่เริ่มต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ ถึงเริ่มต้นด้วยตัว X แม้เราจะเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการของ Baby Boomer ว่าเป็น เจน B ก็เถอะ แล้ว เจน A กับ เจน C ที่ไล่มาจนถึง เจน W ก่อนจะมาถึง เจน X นี้มันหายไปไหนล่ะ?
hคำตอบของคำถามนี้ก็คือ เอ็กซ์ (X) ที่ว่านี้ ไม่ได้มาจากตัวอักษรภาษาอังกฤษ แต่มาจากเครื่องหมาย "กากบาท" ซึ่งสะท้อนว่าพ่อแม่ยุคนี้มีลูกน้อย เนื่องจากทั้งพ่อและแม่ออกไปทำงานทั้งสองคน บางครอบครัวมีการหย่าร้าง จึงทำให้คนรุ่นนี้มีวิญญาณขบถ, เป็นนักปฏิวัติ หรือ หัวรุนแรง รวมถึงการมีหัวก้าวหน้าชอบความท้าทาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการอยู่บ้านคนเดียวหลังเลิกเรียน เพราะพ่อแม่ยังไม่กลับ (Latchkey kid)

ลักษณะที่โดดเด่นของคนรุ่นนี้ คือ มีความมั่นใจในตนเองสูงมาก, ชอบทำงานแบบ Work smart, not harder จึงทำให้พวกเขาชอบการเปลี่ยนแปลง, ไม่อยู่นิ่ง, ชอบพัฒนางาน แต่มีชีวิตที่สมดุลระหว่างงานกันชีวิต (Work-Life balance) และเชื่อว่า การทำงานหนักเพื่อการหาเงินและนำเงินที่ได้ไปใช้ในการพักผ่อน

ถ้านับในประเทศไทย คนรุ่นนี้มีประสบการณ์ช่วงประชาธิปไตยเบ่งบานในยุคตุลาคม 16 จนถึงยุค พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เริ่มมีวีดิโอ, เกมคอมพิวเตอร์, โซนี่วอล์กแมน คนรุ่นนี้จึงรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้เร็วกว่าเจน B จึงนับว่า เจน X จะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง เจน B และ เจน อื่นๆได้เป็นอย่างดี

ส่วน เจน อื่นๆ ที่ตามหลังมาอย่าง เจน Y และ เจน Z นั้น ก็ถือว่าเนื่องจากก่อนหน้าเป็น X มาแล้ว จึงใช้ตามน้ำนับเป็นอักษรภาษาอังกฤษไปเลยโดยปริยาย ส่วน เจน Alpha (อัลฟา) นั้นก็ถือว่าเป็นการเข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งคำว่า Alpha คืออักษรกรีกตัวแรก หรือตัวเลข 1 ของกรีก มีความหมายว่า จุดเริ่มต้น หรือ อันดับแรก และกลายเป็น เจน A ไปด้วยเลยนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook