อย่าหาว่าไม่เตือน "ดื่มแล้วนอน" บนเครื่องบิน เสี่ยงหลับไม่ตื่น คนกลุ่มนี้ยิ่งต้องระวัง!

อย่าหาว่าไม่เตือน "ดื่มแล้วนอน" บนเครื่องบิน เสี่ยงหลับไม่ตื่น คนกลุ่มนี้ยิ่งต้องระวัง!

อย่าหาว่าไม่เตือน "ดื่มแล้วนอน" บนเครื่องบิน เสี่ยงหลับไม่ตื่น คนกลุ่มนี้ยิ่งต้องระวัง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเดินทางบนเครื่องบินมักมีบริการต่างๆ เสริมเข้ามา เช่น อาหาร เครื่องดื่ม นิตยสาร ภาพยนตร์ ฯลฯ ซึ่งผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะกินดื่มบนเครื่องบิน อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่า “การดื่ม” บนเครื่องบินนั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพที่ร้ายแรงได้

การศึกษาตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ "Thorax" จากผลการวิจัยของสถาบันเวชศาสตร์การบินและอวกาศแห่งศูนย์การบินและอวกาศเยอรมัน (German Aerospace Center) พบว่าผู้โดยสารที่เผลอหลับหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ในห้องโดยสารความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดลดลงอย่างน่ากังวล ระดับออกซิเจนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และยิ่งดื่มมากเท่าไรก็ยิ่งส่งผลมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่เจ็บป่วยทางกาย

การศึกษาชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่จำนวน 48 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-40 ปี ครึ่งหนึ่งอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีความกดอากาศปกติ และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในห้องปฏิบัติการที่มีสภาพแวดล้อมความดันจำลองห้องโดยสาร บนเครื่องบิน และส่วนหนึ่งมีการดื่มเบียร์ 2 กระป๋องหรือไวน์แดง 2 แก้ว

ผลพบว่า คนที่หลับไปภายใต้ความกดดันอากาศปกติ และไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดคงที่ ที่ประมาณ 96% และอัตราการเต้นของหัวใจขณะนอนหลับอยู่ที่ 46 ครั้งต่อนาที (bpm)

ในขณะที่ ผู้ที่เผลอหลับไปโดยดื่มแอลกอฮอล์ในห้องโดยสารจำลอง ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดโดยเฉลี่ยลดลงเหลือ85% และอัตราการเต้นของหัวใจขณะที่นอนหลับ เพิ่มขึ้นเป็น 88 ครั้งต่อนาที

แม้แต่ผู้ที่ผล็อยหลับไปในห้องโดยสารจำลอง โดยไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 88% และอัตราการเต้นของหัวใจในการนอนหลับอยู่ที่ 73 ครั้งต่อนาที

ทีมวิจัยอธิบายว่า อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นสาเหตุ 7% ของเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์บนเครื่องบินทั้งหมดและ 58% ของการนำเครื่องบินลงจอดฉุกเฉิน มีสาเหตุมาจากผู้โดยสารที่ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้น

การวิจัยชี้ให้เห็นว่า แม้แต่คนหนุ่มสาวและคนที่มีสุขภาพดี การดื่มแอลกอฮอล์และการนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่มีความดันต่ำ (ความดันในห้องโดยสาร) ก็สามารถสร้างความเครียดให้กับระบบหัวใจได้อย่างมาก ซึ่งอาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจและปอดรุนแรงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากขึ้นต่อผู้สูงอายุ

Dr.Eva-Maria Elmenhorst ยังเตือนด้วยว่า ผู้โดยสารที่มีโรคประจำตัว ซึ่งความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดอาจต่ำอยู่แล้ว จากนั้นจึงลดลงไปสู่ระดับที่ต่ำลงอีก เนื่องจากการดื่มบนเครื่อง ทำให้เกิดโรคร้ายแรงขึ้นและทำให้เกิดปัญหาขึ้น จึงแนะนำผู้ที่เป็นโรคหัวใจและปอด ไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนเครื่องบิน

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการทดลองหลับไปแบบ "นอนราบ" ในการทดลอง ดังนั้นผลลัพธ์จึงอาจแตกต่างไปจากผู้โดยสารชั้นประหยัด 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook