นักวิทย์ฯ ยังทึ่งผลต่าง ฝาแฝดแยกเลี้ยง "เอเชีย-อเมริกา" จับทดสอบ IQ ชัดใครฉลาดกว่า

นักวิทย์ฯ ยังทึ่งผลต่าง ฝาแฝดแยกเลี้ยง "เอเชีย-อเมริกา" จับทดสอบ IQ ชัดใครฉลาดกว่า

นักวิทย์ฯ ยังทึ่งผลต่าง ฝาแฝดแยกเลี้ยง "เอเชีย-อเมริกา" จับทดสอบ IQ ชัดใครฉลาดกว่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจ ฝาแฝดแยกเลี้ยง "คนละทวีป" ผ่านมา 40 ปี ลองจับทดสอบ IQ โตในเอเชีย-อเมริกา เทียบแล้วเห็นชัดๆ ใครฉลาดกว่ากัน?


ในปี พ.ศ.2517 ฝาแฝดเพศหญิงคู่หนึ่งถือกำเนิดที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อเด็กๆ อายุได้ 2 ขวบ คุณยายพาพวกเขาไปตลาด แต่มีคนหนึ่งหลงทางโดยไม่ได้ตั้งใจ ชาวบ้านที่พบเด็กเดินเตร่อยู่ตามลำพังบนถนน แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลระบุตัวตน จึงพาเขาตรงไปที่โรงพยาบาล ซึ่งที่นั้นแพทย์วินิจฉัยว่าเด็กเป็นโรคหัด ความจริงโรงพยาบาลอยู่ห่างจากบ้านของเด็กประมาณ 160 กม.เท่านั้น แต่เนื่องจากระบบฐานข้อมูลในตอนนั้น ทำให้ครอบครัวที่พยายามตามหาลูกกลับหาไม่พบ

ชะตากรรมของเด็กน้อยที่หายไปนั้นสามารถเรียกได้ว่าเป็น "ชีวิตที่พลิกผัน" ตอนแรกเธอได้รับการรับเลี้ยงโดยครอบครัวชาวเกาหลี จากนั้นถูกส่งไปยังสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในเมืองซูวอน และสุดท้ายก็เข้าสู่องค์กรช่วยเหลือเด็กนานาชาติในเกาหลี กระทั่งมีคู่สามีภรรยาชาวอเมริกันรับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และเติบโตมาในสหรัฐอเมริกา แต่ความคิดที่จะตามหาพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดก็ยังรบกวนจิตใจอยู่เสมอ

ทำให้ในปี พ.ศ.2561 เมื่อตอนที่อายุได้ 44 ปี เธอตัดสินใจมอบตัวอย่าง DNA ของตนเองให้กับโครงการรวมครอบครัวของเกาหลีใต้ ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 ได้รับโทรศัพท์แจ้งพบยีนที่ตรงกัน ได้รู้ตัวตนของมารดาผู้ให้กำเนิดในเกาหลี และติดต่อกันผ่านทางวิดีโอคอลครั้งแรก ก่อนที่ในเดือนกันยายน พ.ศ.2564 เธอได้เดินทางกลับมาที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อพบฝาแฝดที่แยกกันมานานกว่า 40 ปี

ในขณะเดียวกันเรื่องนี้ก็กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นเรื่องยากที่ฝาแฝดจะเติบโตมาในสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่แตกต่างกัน และจะยิ่งหายากกว่านั้นหากเติบโตมาจากคนละประเทศ ในวัฒนธรรม ศาสนา และสภาพแวดล้อมครอบครัวที่แตกต่างกัน จึงสงสัยว่าพวกเขาจะมีสภาพจิตใจและนิสัยที่ต่างกันอย่างไร...?

ไอคิวแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมการเติบโตที่แตกต่างกัน

นักวิทยาศาสตร์สัมภาษณ์ ทดสอบ และถามคำถามกับฝาแฝด หนึ่งในการทดสอบความฉลาดที่แม่นยำที่สุด โดยใช้วิธี WAIS-IV ประกอบด้วยความเข้าใจทางวาจา (VC) การใช้เหตุผลทางปัญญา (PR) หน่วยความจำในการทำงาน (WM) ความเร็วในการประมวลผล (PS) และเชาวน์ปัญญาโดยรวม (IQ)

พบว่า บุคคลที่ถูกเลี้ยงดูในสหรัฐอเมริกามีคะแนน IQ อยู่ที่ 84 ในขณะที่คนซึ่งถูกเลี้ยงในเกาหลีมีคะแนน IQ อยู่ที่ 100 ทั้งนี้ ถือเป็นเรื่องปกติที่ฝาแฝดที่เลี้ยงในสภาพแวดล้อมเดียวกัน จะมีคะแนน IQ ต่างกันประมาณ 6 คะแนน ถือว่าสมเหตุสมผล แต่คะแนนต่างของฝาแฝดที่เลี้ยงในประเทศที่แตกต่างกันคู่นี้ มีความต่างคะแนน IQ อยู่ที่ 16 คะแนน ซึ่งสูงกว่าคะแนนมาตรฐานถึง 10 คะแนน ทำไมเด็กที่เติบโตในเกาหลีจึงฉลาดกว่าเด็กที่เติบโตในอเมริกา?

จากการตรวจสอบของนักวิทยาศาสตร์ ฝาแฝดทั้งสองเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บุคคลที่เติบโตขึ้นมาในสหรัฐอเมริกา ครอบครัวมักจะทะเลาะกัน พ่อแม่บุญธรรมหย่าร้างกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในการพัฒนาของเธอ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คะแนนความรู้ความเข้าใจลดลง ในขณะที่ครอบครัวชาวเกาหลีมีปองดองกันมากกว่า

ในด้านอื่นๆ ฝาแฝดยังคงมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ นอกจากรูปร่างหน้าตา ส่วนสูง และน้ำหนักที่คล้ายคลึงกันแล้ว ฝาแฝดทั้งสองยังแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอีกด้วย นอกจากนี้พวกเขายังทุ่มเทและพอใจกับงานของพวกเขามาก ทั้งคู่ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์เมื่อสมัยยังเป็นนักเรียน อีกทั้งยังเคยผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกในรังไข่ออกเช่นเดียวกัน

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ฝาแฝดที่พรากจากกันมานาน 42 ปี ยังคงมีความคล้ายคลึงกันมากในภาพรวม แต่มีความแตกต่างที่สำคัญในด้านสติปัญญา แม้ว่าจะยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องปรับปรุงในการวิจัย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมการเติบโตยังคงส่งผลกระทบอย่างมากต่อความฉลาด

สำหรับคำถามที่สำคัญกว่านั้นคืออิทธิพลนี้เกิดขึ้นจากพันธุกรรมหรือการเลี้ยงดู การศึกษาในปี 2558 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Genetics ได้ทบทวนการศึกษาเกือบทั้งหมดเกี่ยวกับฝาแฝด 14.5 ล้านคู่ ที่เกิดใน 50 ปี พบว่า 49% ของการแปรผันโดยเฉลี่ยในลักษณะและโรคต่างๆ ของมนุษย์ เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และอีก 51% ที่เหลือเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวอีกนัยหนึ่ง พันธุกรรมและการเลี้ยงดูมีผลสำคัญต่อการเติบโตไม่แพ้กัน

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วผลกระทบของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อลักษณะจะเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่ามีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น เมื่อนักวิจัยพิจารณาความเสี่ยงของโรคไบโพลาร์ พบว่า 70% เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และอีก 30% ที่เหลือเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนความเสี่ยงของความผิดปกติในการรับประทานอาหารคือ พบว่า 60% เนื่องจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และ 40% เนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ นักวิทย์ฯ ยังทึ่งผลต่าง ฝาแฝดแยกเลี้ยง "เอเชีย-อเมริกา" จับทดสอบ IQ ชัดใครฉลาดกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook