พ่อโทรถามครู 100:10=10 ลูกคิดผิดตรงไหน เจอ "สอน" วิธีที่ถูกต้อง อับอายยอมขอโทษ
ลูกตอบแบบฝึกหัด 100:10=10 แต่ครูตรวจว่าผิด พ่อไม่ทนยกหูโทรถาม แต่ฟังอธิบายง่ายๆ รู้จุดพลาด อับอายยอมขอโทษ
สำหรับผู้ปกครอง ปัญหาหนึ่งที่เป็นข้อกังวลมากที่สุดเสมอคือการเรียนรู้ของบุตรหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กๆ นำแบบทดสอบกลับบ้าน ผู้ปกครองจะวิเคราะห์แบบทดสอบร่วมกับบุตรหลาน ดูว่าคำถามไหนที่พวกเขาทำผิด และช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าเหตุใดพวกเขาจึงทำผิด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ทำผิดซ้ำในครั้งต่อไป
แต่ในสถานการณ์ที่ต้องสอนการบ้านลูก มีหลายครั้งที่ผู้ปกครองเจอสถานการณ์ที่เข้าใจได้ยากเช่นกัน ดังเรื่องราวของ คุณหลิว ซึ่งมีลูกชายคนหนึ่งอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผลการเรียนอยู่ใน 5 อันดับแรกของชั้นเรียนเสมอ ทำให้เขามีความคาดหวังกับลูกชายสูงมาก ฝันว่าวันข้างหน้าลูกจะสอบผ่านเข้ามหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติได้
ล่าสุด ลูกชายนำข้อสอบวิชาเลขกลับมาที่บ้าน เมื่อเห็นว่าสามารถคว้ามาได้ถึงคะแนน 95 คะแนน ก็ทำให้คุณหลิวมีความสุขอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อลองตรวจสอบกลับพบว่าข้อที่ถูกหักคะแนนนั้น เป็นคำถามที่ค่อนข้างง่าย และสิ่งที่เขาไม่เข้าใจคือเด็กตอบคำถามนี้ถูกต้องอย่างแน่นอน แต่ทำไมครูถึงตรวจว่าผิด?
โจทย์ข้อดังกล่าวถามว่า "จะสร้างทางรถไฟยาว 100 เมตร โดยเชื่อมต่อกันด้วยรางขนาดยาว 10 เมตร ต้องใช้รางทั้งหมดกี่ราง?" ซึ่งลูกชายของคุณหลิวตอบว่า 100:10=10 แต่กลับถูกคุณครูขีดฆ่าด้วยสีแดง
- ด.ช.ไขปริศนาโจทย์ 5+5+5=550 ได้ในเสี้ยวนาที ผู้ใหญ่อ้าปากค้าง ยกเป็นไอน์สไตน์2
- พ่อบุก รร. วีนฉ่ำคำตอบเลขข้อนี้ "ต่างกันยังไง?" แต่ครูอธิบายคำเดียว อายจนยอมขอโทษ
เมื่อไม่สามารถทำความเข้าใจการตรวจข้อสอบของคุณครูได้ และเชื่อมั่นว่าลูกชายของเขาไม่ได้ทำอะไรผิด ดังนั้นข้อสอบนี้จึงทำให้เขารู้สึกอารมณ์เสียไม่ร้อย สุดท้ายตัดสินใจต่อสายหาคุณครูโดยตรงเพื่อสอบถามเรื่องนี้ ในขณะที่อีกฝ่ายอธิบายอย่างใจเย็นว่า
"มีนักเรียนเพียงไม่กี่คนในชั้นเรียนเท่านั้นที่ตอบคำถามนี้ถูกต้อง นี่ไม่ใช่ปัญหาการคำนวณทั่วไป แต่ยังทดสอบความรู้เชิงปฏิบัติด้วย รางรถไฟประกอบด้วยรางขนาน 2 รางที่วางอยู่บนคานขวาง ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องคือ(100x2): 10 = 20 ราง”
หลังจากฟังคำอธิบายเพียงสั้นๆ แต่ไขปัญหาได้อย่างกระจ่างแจ้งแล้ว คุณหลิวก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกเขินอาย จึงรีบกล่าวขอโทษคุณครูแล้ววางสายไป แต่แล้วหลังจากนั้นเขาก็กลับมานั่งวิเคราะห์ และมองว่าคำถามคณิตศาสตร์ข้อนี้เป็น "ปริศนา" ที่ยุ่งยากเกินไป จึงโพสต์บนโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อขอความเห็นจากชาวเน็ตหลายๆ คน