แค่ล้มก็หักแล้ว! หนุ่มอายุ 25 แต่กระดูกเหมือนวัย 60 หมอเตือน "นิสัย" ที่หนุ่มสาวชอบทำ

แค่ล้มก็หักแล้ว! หนุ่มอายุ 25 แต่กระดูกเหมือนวัย 60 หมอเตือน "นิสัย" ที่หนุ่มสาวชอบทำ

แค่ล้มก็หักแล้ว! หนุ่มอายุ 25 แต่กระดูกเหมือนวัย 60 หมอเตือน "นิสัย" ที่หนุ่มสาวชอบทำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฟังแล้วแทบไม่เชื่อหู หนุ่มอายุแค่ 25 พลาดล้มไปหาหมอ ช็อกตรวจพบมี "กระดูก" เหมือนชายวัย 60 เตือนนิสัยที่คนหนุ่มสาวชอบทำ

"นายหลี่" ชายอายุ 25 ปี มีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วันหนึ่งเขาพลาดล้มขณะเล่นสเก็ตบอร์ด เมื่อไปโรงพยาบาลจึงพบว่ากระดูกน่องหัก และแพทย์ก็ต้องประหลาดใจอย่างยิ่ง หลังจากตรวจความหนาแน่นของกระดูกแล้ว พบว่าอายุกระดูกของเขานั้น เทียบเท่ากับอายุกระดูกของชายวัย 60 ปี คนไข้เองก็ตกตะลึงเช่นกัน เพราะเขาไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเป็นโรคกระดูกพรุนตั้งแต่อายุยังน้อยขนาดนี้

ทำไมเด็กหนุ่มที่เพิ่งอายุเพียง 25 ปี ถึงมีกระดูกเสื่อมโทรมได้ถึงขนาดนี้?

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากการเผาผลาญ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น และไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ที่จริงแล้วคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนสามารถทำให้เกิดการหกล้ม กระดูกหัก ความสูงลดลง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่ายในกรณีที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม มีคนอายุน้อยเพียงไม่กี่คนที่จะรู้ว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะส่วนใหญ่มักไม่ได้เข้ารับการทดสอบความหนาแน่นของกระดูก

ทั้งนี้ ดร.จิน เฉินซี จากภาควิชาวิทยาต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญ โรงพยาบาล Beijing Tsinghua Chang Gung Memorial ชี้ให้เห็นว่าในหมู่คนหนุ่มสาว มีนิสัยที่พบบ่อย 5 ประการ ที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกแก่เร็วอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งวัยรุ่นควรรู้เพื่อปรับเปลี่ยนให้ทันท่วงที ได้แก่

1.ออกกำลังกายไม่เพียงพอ

พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ใช้เวลานั่งอยู่กับที่นานๆ งานยุ่งทำให้เหนื่อยล้าทั้งกายและใจ แทบไม่มีเวลาออกกำลังกาย อย่างไรก็ดี กระดูกเป็นอวัยวะที่ต้อง "กระตุ้น" การกระตุ้นการเผาผลาญผ่านการออกกำลังกาย สามารถรักษาความมีชีวิตชีวาของกระดูก เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและคุณภาพของกระดูก ดังนั้น จึงแนะนำให้ทุกคนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

2.ขาดแสงแดด

การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสของร่างกายขึ้นอยู่กับการควบคุมวิตามินดี วิตามินดีอาศัยแสงอัลตราไวโอเลตในการแปลง แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ไม่มีเวลาออกไปโดนแสงแดด ดังนั้นการขาดวิตามินดีจึงกลายเป็นปรากฏการณ์ที่พบบ่อยมาก เช่นเดียวกับในเคสข้างต้นที่ปริมาณวิตามินดีในร่างกายต่ำเกินไป เนื่องจากอยู่แต่ในบ้านแทบตลอดเวลา กระดูกจะอยู่ในสถานะ "อดอาหาร" เป็นเวลานาน จึงไม่น่าแปลกใจที่มวลกระดูกจะลดลง

3.ดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลมมากเกินไป

พนักงานออฟฟิศจำนวนมากไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากชา, กาแฟ หรือน้ำอัดลม อย่างไรก็ตาม การดื่มมากเกินไปจะช่วยเร่งกระบวนการสูญเสียแคลเซียม สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปด้วยเช่นกัน

4.การลดน้ำหนักมากเกินไป

ถ้าคุณควบคุมอาหารมากเกินไป กินเฉพาะอาหารมังสวิรัติที่ไม่มีเนื้อสัตว์ จำกัดปริมาณโปรตีน จะทำให้คุณภาพกระดูกลดลง และเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มแรก ดังนั้น ต้องคำนึงถึงมาตรการที่พอดี อย่าใช้วิธีใดๆ มากเกินไป เพื่อรักษาสุขภาพให้ดีที่สุด

5.ทานอาหารที่มีไขมันและเกลือสูง

อาหารที่มีเกลือสูงมีโซเดียมมากเกินไป เมื่อร่างกายขับโซเดียมออกมาก็จะขับแคลเซียมออกมามากขึ้นด้วย ดังนั้นการกินเกลือมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ ส่วนอาหารที่มีไขมันสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางเมตาบอลิซึม เช่น โรคอ้วน และเบาหวาน ซึ่งส่งผลเสียต่อกระดูกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook