สัมภาษณ์ถาม "คนจนจะซื้อเพชรได้ยังไง?" หนุ่มตอบฉลาดได้งาน วิธีได้เพชรแบบไม่เสียเงิน!

สัมภาษณ์ถาม "คนจนจะซื้อเพชรได้ยังไง?" หนุ่มตอบฉลาดได้งาน วิธีได้เพชรแบบไม่เสียเงิน!

สัมภาษณ์ถาม "คนจนจะซื้อเพชรได้ยังไง?" หนุ่มตอบฉลาดได้งาน วิธีได้เพชรแบบไม่เสียเงิน!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

สัมภาษณ์งานเจอคำถามทดสอบ “คนจนจะซื้อเพชรได้อย่างไร?” หนุ่มเลือกมองอีกมุม ก่อนให้คำตอบฉลาด แม้แต่ว่าที่เจ้านายยังยืนปรบมือให้

ในปัจจุบันคำถามในการสัมภาษณ์งาน ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและคุณวุฒิทางวิชาชีพเท่านั้น แต่เพื่อคัดเลือกพนักงานจากบรรดาผู้สมัครที่เก่งๆ หลายบริษัทจึงมีคำถามประเมินทักษะทางอารมณ์หรือ EQ เนื่องจากพนักงานต้องไม่เพียงแต่มีทักษะระดับมืออาชีพเท่านั้น แต่ยังต้องตอบสนองต่อปัญหาทั้งหมดอย่างรวดเร็วอีกด้วย

คำถามเหล่านั้นจึงมักไม่มีคำตอบที่เจาะจง เนื่องจากแต่ละคนจะมีวิธีคิดและเหตุผลที่แตกต่างกัน ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับคำอธิบายของผู้ตอบเพื่อโน้มน้าวผู้ฟัง แต่ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงสามารถค้นหาผู้สมัครที่รู้วิธีจัดการกับสถานการณ์อย่างชาญฉลาด

ดังเช่นกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศจีน “นายหวัง” (นามสมมุติ) ลาออกจากบริษัทเก่า ก่อนได้รับคำเชิญเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อเข้ารับตำแหน่งด้านการสื่อสารในบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งในวันนั้นนอกจากเขาแล้วยังมีผู้สมัครอีก 3 คนเข้าร่วมด้วย

ในตอนแรกการสัมภาษณ์ดำเนินไปด้วยการซักถามประวัติ สถานการณ์ของแต่ละคน และถามคำถามทางเทคนิค ก่อนที่ว่าที่นายจ้างจะเอ่ยคำถามเพื่อทดสอบความสามารถในการปรับตัวในที่ทำงานของผู้สมัคร โดยกล่าวว่า "คนจนจะซื้อเพชรได้อย่างไร?"

คำถามที่ถูกเอ่ยออกมาอย่างกระทันหัน ทำให้ผู้สมัครทั้งต่างอดไม่ได้ที่จะประหลาดใจ เพราะพวกเขาไม่เข้าใจว่าคำถามนี้เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญในเนื้องานอย่างไร หรือจะเป็นประโยชน์ต่องานในอนาคตของพวกเขาอย่างไร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนี่เป็นการสัมภาษณ์รอบสุดท้าย แม้จะรู้สึกสับสนอย่างมาก แต่ทุกคนก็ยังคงต้องหาคำตอบที่ดีที่สุด

หลังจากให้เวลาคิดประมาณ 3 นาที ว่าที่นายจ้างเริ่มเรียกให้ตอบคำถามทีละคน โดยผู้สมัครต่างพยายามสรรหาเหตุผลว่าคนจนนั้นอาจจะได้เงินมากมายมาจากใคร หรือวิธีการใดวิธีการหนึ่ง จนมากพอให้สามารถนำมาซื้อเพชรที่ล้ำค่าได้ อย่างไรก็ดี ดูเหมือนคำตอบเหล่านั้นจะยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

กระทั่งนายหวังลุกขึ้นตอบอย่างใจเย็นว่า "ทำไมเราไม่เปลี่ยนความคิดของเราล่ะครับ? ตัวอย่างเช่น คนจนคนหนึ่งอยู่ในทะเลทราย และเป็นเจ้าของน้ำแร่หนึ่งขวด เมื่อมาถึงจุดนี้ เขาจะไม่สามารถแลกขวดน้ำเป็นเพชรได้หรือ? เพราะน้ำดื่มในทะเลทรายนั้นหายาก มาก จนในเวลานี้อาจจะเรียกได้ว่าล้ำค่ากว่าเพชร”

ทันทีที่เขาได้ยินคำตอบนี้ ว่าที่นายจ้างก็ถึงกับยืนขึ้นปรบมือ แล้วพูดว่า “จุดประสงค์หลักของคำถามนี้คือเพื่อประเมินความสามารถในการด้นสดของพวกคุณ และวิธีจัดการสถานการณ์ของคุณก็น่าจะดีที่สุด คุณสามารถมาเริ่มงานกับเราได้เลย” จากการวิเคราะห์ของนายจ้างรายนี้ อาจมีบางกรณีที่จำเป็นต้องมีแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหา แทนที่จะจมอยู่กับความคิดเดิมๆ

นอกจากนี้ นายหวังยังให้คำแนะนำแก่ผู้สมัคร ว่าต้องระมัดระวังและใส่ใจทุกคำพูด เพราะการสัมภาษณ์อาจเป็นโอกาสเดียวที่คุณจะได้เข้าร่วมกับบริษัทนี้ และกำจัดกรอบความคิดแบบตายตัว ซึ่งอาจทำให้คุณ "ตกหลุมพราง" เมื่อเผชิญกับคำถามที่สร้าง “ความสับสน”

ดังนั้น นอกเหนือจากการใช้ประสบการณ์แล้ว ให้คิดถึงการแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ เพราะคำถามแปลกๆ เหล่านี้ สิ่งที่นายจ้างต้องการมุ่งหมายคือ ดูว่าคุณตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างไร ซึ่งพวกเขาจะมองเห็นวิธีการคิดและบุคลิกภาพของคุณผ่านสิ่งนี้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook