ช็อก หนุ่มปวดท้องแทบตาย หมอผ่านิ่วออกมา 3 กก. เตือนทุกคนอย่า "ขี้เกียจ" ทำสิ่งนี้!

ช็อก หนุ่มปวดท้องแทบตาย หมอผ่านิ่วออกมา 3 กก. เตือนทุกคนอย่า "ขี้เกียจ" ทำสิ่งนี้!

ช็อก หนุ่มปวดท้องแทบตาย หมอผ่านิ่วออกมา 3 กก. เตือนทุกคนอย่า "ขี้เกียจ" ทำสิ่งนี้!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนุ่มปวดท้องรุนแรง ช็อกมีนิ่วหนัก 3 กก.ในกระเพาะปัสสาวะ หมอเตือนทุกคนอย่า "ขี้เกียจ" ทำสิ่งนี้!

ตามรายงานพบว่า ชายวัย 32 ปี เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเครือแห่งที่ 6 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหัวกง (โรงพยาบาลหนานไห่) ประเทศจีน เนื่องจากมีอาการปวดท้องรุนแรง แพทย์ต้องทำการตัดนิ่วขนาดใหญ่ 49 ก้อน น้ำหนักรวมประมาณ 3 กิโลกรัม ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะของเขา

จากประวัติพบว่า คนไข้ชายรายนี้มักจะกินอาหารไม่เป็นเวลา ชอบนอนดึก และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ล่าสุดเขาออกไปทานอาหารเย็นกับเพื่อนๆ และดื่มเบียร์ไปเยอะมาก หลังจากกลับบ้าน จู่ๆ ก็รู้สึกปวดท้องอย่างรุนแรง จึงรีบไปรักษาที่โรงพยาบาล หลังจากตรวจเบื้องต้นพบว่ากระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยเต็มไปด้วยนิ่วขนาดใหญ่หนาแน่นติดกัน รวมทั้งหมด 49 ก้อน หนักประมาณ 3 กิโลกรัม แพทย์จึงตัดสินใจผ่าตัดเอานิ่วออก และหลังจากรักษาตัวต่ออีก 3 วัน เขาก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้

ทั้งนี้ แพทย์ยังกล่าวด้วยว่า คนไข้ที่ "ต้องแบกนิ่วจำนวน 3 กิโลกรัมในร่างกาย" รายนี้ มีประวัติการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว และกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เขามีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะซ้ำๆ แต่ก็ยังคงมีนิสัย "ขี้เกียจ" เข้าตรวจสุขภาพ ร่วมกับการรับประทานอาหารที่ไม่ดี ทำให้เกิดการสะสมของนิ่วจำนวนมาก

ฤดูร้อนเป็นฤดูที่มีอุบัติการณ์นิ่วในทางเดินปัสสาวะสูงที่สุด แพทย์เตือนว่านิ่วในทางเดินปัสสาวะเป็นอันตรายอย่างมาก และอาจทำให้เกิดการอุดตันที่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อไต และแม้กระทั่งเกิดไตวายได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ต้องไม่กลั้นปัสสาวะ และต้องดื่มน้ำให้เพียงพออยู่เสมอ อย่างน้อย 2,000-2,500 มิลลิลิตรต่อวัน ซึ่งสามารถช่วยให้ปัสสาวะเจือจางและลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วได้

พร้อมทั้งย้ำความสำคัญของการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เนื่องจากภายใต้สถานการณ์ปกติ นิ่วที่ยังไม่แสดงอาการก็อาจจะยังไม่ถูกสังเกตเห็น อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดภาวะไตบวมน้ำ (Hydronephrosis) อย่างรุนแรง และอาจสูญเสียการทำงานของไต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจหา การวินิจฉัยโรค และการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook