สัมภาษณ์รอบสุดท้าย บอสถามเอง "ทำไม 10+4=2" ตอบถูกแค่คนเดียว ได้งานทำทันที!

สัมภาษณ์รอบสุดท้าย บอสถามเอง "ทำไม 10+4=2" ตอบถูกแค่คนเดียว ได้งานทำทันที!

สัมภาษณ์รอบสุดท้าย บอสถามเอง "ทำไม 10+4=2" ตอบถูกแค่คนเดียว ได้งานทำทันที!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สัมภาษณ์รอบสุดท้าย บอสถามปราบเซียน "ทำไม 10+4=2" หนุ่มตอบถูกแบบไม่แถ ได้งานทำทันที!

สังคมกำลังพัฒนามากขึ้น มีบริษัทและธุรกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อความอยู่รอดระยะยาวในช่วงเวลาแห่งการแข่งขันอันดุเดือดนี้ ธุรกิจจำเป็นต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่แข็งแกร่งและมั่นคง ดังนั้น กระบวนการสรรหาบุคลากรในบริษัทจึงเข้มงวดและระมัดระวังอย่างมาก เพื่อให้เห็นคุณค่าพิเศษของผู้สมัครอย่างชัดเจน ตั้งแต่นั้นมาเริ่มมีคำถามแปลกๆ อย่างไม่น่าเชื่อมากมาย ปรากฏขึ้นในการสัมภาษณ์รับสมัครงาน

เมื่อไม่กี่วันก่อน นายหว่อง (นามสมมุติ) เข้าสัมภาษณ์งานรอบสุดท้าย ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วางแผนบริษัทแห่งหนึ่ง ในรอบนี้เหลือผู้สมัครเพียง 3 คนเท่านั้น แน่นอนว่าทุกคนต่างอยากแย่งชิงตำแหน่งเดียวกัน การแข่งขันจึงค่อนข้างดุเดือด สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดเกิดขึ้นในช่วงใกล้สิ้นสุดการสัมภาษณ์ เมื่อนายจ้างถามว่า

"ทำอย่างไร 10+4=2 จึงจะเป็นการคิดที่ถูกต้อง?"

คงไม่มีใครคาดคิดว่าคำถามเช่นนี้จะเกิดขึ้นในการสัมภาษณ์งาน อย่างก็ดีพวกเขายังต้องพยายามหาคำตอบที่ดีที่สุด โดยผู้สมัครที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นก่อนว่า “ท่านครับ ผมมาที่นี่เพื่อสมัครงาน ไม่ใช่เพื่อทดสอบสติปัญญา หากบริษัทรับสมัครพนักงานด้วยคำถามเช่นนั้น ผมต้องขออภัยด้วยที่ตอบไม่ได้ หวังว่าคุณจะเคารพผมสักนิด และเคารพเวลาของผู้สมัครคนอื่นด้วย คุณช่วยแก้การคำนวณ 10+4=2 หน่อยได้ไหม?”

หลังจากได้ยินคำพูดของคนแรก เจ้านายก็ส่ายหัวด้วยความหงุดหงิด แล้วส่งสัญญาณให้คนที่สองตอบ ผู้สมัครรายนี้เป็นผู้ชายที่มีประสบการณ์ทำงานหลายปี เมื่อเห็นสถานการณ์กำลังตึงเครียด ก็พยายามทำให้สงบลงด้วยคำตอบแบบประนีประณอมว่า “ผมคิดว่าคำถามนี้จากนายจ้างนั้น คงมีคำตอบที่สมเหตุสมผลอย่างแน่นอน เพียงแต่ตอนนี้ผมยังหาคำตอบไม่ได้…”

แน่นอนว่าคำพูดของผู้สมัครรายที่สองก็ยังคงไม่สร้างความพอใจให้แก่นายจ้างยังไม่พอใจ จึงส่งสัญญาณให้ผู้สมัครรายที่สามพูดต่อ ในเวลานี้นายหว่องกลับไม่มีท่าทีตื่นตระหนกแม้แต่น้อย กลับสงบมากตั้งแต่หลังฟังคำถามจบ เพราะเขารู้คำตอบแล้วว่ามันคือ “หน่วยเวลา”

ทันทีที่นายจ้างได้ยินก็รีบถามกลับด้วยความยินดีว่า "หน่วยเวลาคำนวณอย่างไร" นายหว่องจึงอธิบายต่อไปว่า “ในคำถามนี้เมื่อลองเทียบเป็นเวลา 10 โมงเช้าบวกไปอีก 4 ชั่วโมง จะเท่ากับเวลาบ่าย 2"

นายจ้างแสดงออกว่าประทับใจอย่างมาก เพราะความคิดที่มีความยืดหยุ่น มองมุมกว้าง อีกทั้งยังมีทัศนคติที่ไม่เย่อหยิ่งหรือใจร้อน ดังนั้น  จึงเลือกให้นายหว่องเข้าทำงานในตำแหน่งที่เขาต้องการทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook