เสียงสะท้อนจากนานาชาติ: การยุบพรรคก้าวไกลเป็นวิกฤตประชาธิปไตยไทย

เสียงสะท้อนจากนานาชาติ: การยุบพรรคก้าวไกลเป็นวิกฤตประชาธิปไตยไทย

เสียงสะท้อนจากนานาชาติ: การยุบพรรคก้าวไกลเป็นวิกฤตประชาธิปไตยไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคถึง 10 ราย

หลังจากการผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่ออกไป สื่อต่างประเทศ และนานาชาติ ต่างออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ “การยุบพรรคก้าวไกล” 

สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย

สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย แถลงความกังวลเกี่ยวกับคำวินิจฉัย ระบุว่า “คำตัดสินนี้ลิดรอนสิทธิของชาวไทยกว่า 14 ล้านคนที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 และทำให้เกิดคำถามว่าพวกเขาสามารถเลือกผู้แทนของตนในระบบการเลือกตั้งของไทยได้หรือไม่ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญยังเสี่ยงต่อการบั่นทอนกระบวนการประชาธิปไตยของไทย และขัดกับความปรารถนาของชาวไทยต่ออนาคตที่มั่นคงและเป็นประชาธิปไตย”

กระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักร

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนาของสหราชอาณาจักร (FCDO) แถลงว่า “ความหลากหลายและอิสระในการพูด เป็นหลักการสำคัญของประชาธิปไตย การที่ไทยยุบพรรคการเมืองสำคัญอีกพรรคหนึ่ง จึงถือเป็นอุปสรรคที่ขัดต่อหลักการเหล่านี้ เราสนับสนุนให้ให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในสิทธิและเป็นตัวแทนของระบอบประชาธิปไตย”

กระทรวงต่างประเทศเยอรมัน

ดร. แอ็นสท์ ว็อล์ฟกัง ไรเชิล เอกอัครราชทูตเยอรมันในไทย กล่าวถึงประเด็นนี้ผ่าน X ว่า “แถลงการณ์จากระทรวงต่างประเทศเยอรมัน: การที่ประเทศไทยยุบพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีคะแนนเสียงมากที่สุดอย่างก้าวไกล แสดงถึงการถดถอยทางประชาธิปไตย สิ่งที่สำคัญคือประเทศไทยควรยึดมั่นต่อพหุนิยม และทุกพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยควรสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างอิสระ"

กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR)

สำนักข่าววีโอเอรายงานว่า คริสตี บาเรนด์ส ประธาน APHR และส.ส.อินโดนีเซีย กล่าวว่า “อำนาจตุลาการที่มากเกินขอบเขตนี้ไม่เพียงแต่บ่อนทำลายเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังทำให้ชื่อเสียงระดับนานาชาติเสื่อมเสียอีกด้วย” และว่า “เมื่อเสียงของประชาชนถูกตัดไป เราเริ่มที่จะสูญเสียความเชื่อมั่นของความเป็นประชาธิปไตยของไทย ไม่มีซึ่งประชาธิปไตยหากปราศจากเสรีภาพในการแสดงออก เช่นเดียวกับการปราศจากฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพและมีเสรีภาพ”

ด้าน ชาร์ลส์ ซานติอาโก้ ประธานร่วม APHR และอดีตส.ส.มาเลเซีย กล่าวเสริมว่า “เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ร่างโดยทหาร เพื่อที่จะได้มีการแก้ไขบางข้อกฎหมายที่จำเป็น เราต้องแน่ใจว่าเหตุการณ์ยุบพรรคเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก เพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยเข้าใกล้ประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง”

องค์กร Human Rights Watch

อีเลน เพียร์สัน ผู้อำนวยการ องค์กร Human Rights Watch เอเชีย กล่าวว่า “คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งยุบพรรคก้าวไกล เป็นการโจมตีต่อความพยายามอันเปราะบางของไทยในการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย หลังจากผ่านการปกครองแบบเผด็จการทหารมายาวนาน”

ทั้งนี้มีการเน้นย้ำว่า “พันธมิตรของไทย อย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร EU ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ควรออกมาแสดงให้รัฐบาลไทยทราบว่าการตัดสินใจครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับการเสนอตัวของไทย เพื่อเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในพ.ศ. 2568-2570"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook