หมอยังต้องถาม! ชายป่วยเบาหวานมา 30 ปี มีเคล็ดลับรักษา "ระดับน้ำตาล" ให้คงที่ง่ายๆ

หมอยังต้องถาม! ชายป่วยเบาหวานมา 30 ปี มีเคล็ดลับรักษา "ระดับน้ำตาล" ให้คงที่ง่ายๆ

หมอยังต้องถาม! ชายป่วยเบาหวานมา 30 ปี มีเคล็ดลับรักษา "ระดับน้ำตาล" ให้คงที่ง่ายๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชายที่เป็นเบาหวานมา 30 ปี เผย 5 เคล็ดลับในการรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ หมอเห็นผลตรวจสุขภาพยังประหลาดใจ

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น การจะใช้ชีวิตร่วมกับเบาหวานได้อย่างปลอดภัยจึงต้องใส่ใจหลายๆ อย่าง

นายหวัง จากมณฑลเจียงซู ประเทศจีน ปีนี้อายุ 60 กว่าปี แต่ใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานประเภท 2 มาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว หลายคนรอบตัวเขาไม่รู้ว่าเขาเป็นโรคเบาหวานมาอย่างยาวนาน เพราะสังเกตจากภายนอกที่ดูมีสุขภาพแข็งแรง คล่องตัว และมองโลกในแง่ดีเสมอ แม้แต่แพทย์ก็ยังต้องประหลาดใจครั้งแล้วครั้งเล่า กับความสามารถของเขาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และผลตรวจสุขภาพโดยรวม

โดยนายหวัง กล่าวว่า เขาป่วยเป็นโรคเบาหวานมาหลายปีแล้ว หลังจากนั้นด้วยคำแนะนำของแพทย์ เขาก็เกิดเคล็ดลับมากมายในการ "อยู่ร่วมกันอย่างสงบ" กับโรคประจำตัวนี้ ซึ่งมีหลักสำคัญที่สุด 5 ประการ ที่เขายึดถือมาหลายปี นั่นก็คือ

1.ทานอาหารคาร์โบไฮเดรตสม่ำเสมอ

อาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานแตกต่างจากคนปกติมาก ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่ถือว่าดีต่อสุขภาพและมีสารอาหารที่สมดุล จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน นายหวังเน้นไปที่การควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตเป็นพิเศษ ตั้งเป้าที่จะกินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณเท่ากันในทั้ง 3 มื้อ และกินอย่างสม่ำเสมอในเวลาเดียวกันทุกวัน

ทั้งนี้ ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต้องการในแต่ละวัน จะขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ระดับกิจกรรม แคลอรี่ที่ต้องการ และวิธีที่ร่างกายตอบสนองต่อคาร์โบไฮเดรต ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้เหมาะกับแต่ละกรณี ตัวอย่างเช่น สำหรับนายหวังจะกินคาร์โบไฮเดรตประมาณ 45 กรัมต่อมื้อหลัก และทานคาร์โบไฮเดรตสำหรับของว่าง 15 กรัม รวมกับโปรตีนและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อชะลอการดูดซึมน้ำตาลในเลือด

2.ปรุงอาหารเองด้วยเมนูที่หลากหลายทุกวัน

ดังที่กล่าวไว้ นายหวังเชื่อว่าอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องพิจารณาหลายอย่าง ดังนั้นการทำอาหารเองจึงช่วยให้เขาควบคุมอาหารได้ดีขึ้น ปรับปริมาณน้ำตาล เกลือ น้ำมัน ฯลฯ และอยู่ห่างจากอาหารที่ไม่ดีสำหรับตนเอง โดยอาหารที่เขากินส่วนใหญ่จะต้ม นึ่ง และตุ๋น นอกจากนี้ยังควบคุมปริมาณแคลอรี่ด้วยการทำอาหารให้เพียงพอสำหรับแต่ละมื้อ

นิสัยในการทำอาหารเองนั้น นอกจากจะช่วยให้เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์เมนูที่หลากหลายทุกวัน ทุกเช้าเขาจะเดินไปตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้านเพื่อเลือกอาหารสด เมื่อรวมกับขั้นตอนการทำอาหารเอง นายหวังเชื่อว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก เพิ่มความต้านทาน และมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

3.เข้านอนเร็วและตื่นเช้าตามเวลาที่กำหนด

นอกจากเรื่องอาหารแล้ว นายหวังยังเชื่อว่าการนอนหลับมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในระหว่างการนอนหลับ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญกลูโคสและควบคุมอินซูลิน

เขาเน้นไปที่การเข้านอนเร็ว ตื่นเช้า และสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดทุกวัน สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มการเผาผลาญและปรับปรุงภูมิคุ้มกัน แต่ยังช่วยกำหนดนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย เพื่อปรับปรุงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งช่วยลดความเครียดและการผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสารเพิ่มความคงตัวของน้ำตาลที่สำคัญ

นายหวังกล่าวเสริมว่า การเข้านอนเร็วและตื่นเช้ายังช่วยให้เขานอนหลับได้อย่างเพียงพอ โดยปกติจะอยู่ที่ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน ก่อนหน้านี้เขาเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ อาการนี้มีส่วนอย่างมากในการต่อสู้กับโรคเบาหวาน เนื่องจากความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ มีความเชื่อมโยงกับภาวะดื้อต่ออินซูลินและการแพ้กลูโคส

4.ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำ

นายหวัง กล่าวว่า เขาไม่ชอบเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนักๆ มาตั้งแต่เด็ก แต่เนื่องจากเป็นโรคเบาหวาน จึงเริ่มว่ายน้ำเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง เวทเทรนนิ่งเป็นเวลา 30 นาที แอโรบิกเป็นเวลา 30 นาที และจ็อกกิ้งเป็นเวลา 60 นาที ห้าวันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 4 ปี จาก​นั้น เนื่อง​จาก​มี​งาน​ยุ่ง, แต่งงาน, และ​อายุ​มาก​ขึ้น เขา​จึง​ไม่​สามารถ​รักษานิสัยการ​ออก​กำลัง​กาย​นี้​ได้ อย่างไรก็ตาม เขายังคงเดินเร็วหรือจ๊อกกิ้งวันละ 30 นาที ออกกำลังกายแบบแอโรบิค 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วันจนถึงปัจจุบัน

เพราะนายหวังเข้าใจว่านิสัยการออกกำลังกายช่วยควบคุมน้ำหนัก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อีกทั้งยังทำให้ร่างกายไวต่ออินซูลินมากขึ้น ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดไขมันในตับและตับอ่อน ไขมันในเลือด ควบคุมความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และความเสียหายของเส้นประสาท สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

5. รับประทานยาและตรวจสุขภาพตามคำแนะนำแพทย์

นายหวัง กล่าวว่า เขามีนิสัยชอบวัดน้ำตาลในเลือดทุกๆ 3-5 วัน โดยปกติจะเป็นตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร เขาไม่เคยมาสายเมื่อมีนัดหมายกับแพทย์ แม้ว่าระดับน้ำตาลจะคงที่อยู่เสมอ ก็ควรตรวจสอบ HbA1C ปีละสองครั้งเสมอ อีกทั้งยังมีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่อาจส่งผลโดยตรงต่อภาวะเบาหวาน หรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิต ไขมันในเลือด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเน้นย้ำว่า โรคเบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรับประทานยาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากคุณหยุดรับประทานยาโดยพลการไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน และอาจถึงแก่ชีวิตได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook