บ้าไปแล้ว! พ่อวีนเดือด ลูกตอบ 100-35=65 แต่ครูตรวจว่าผิด ฟังเฉลยหงุดหงิดเป็นเท่าตัว

บ้าไปแล้ว! พ่อวีนเดือด ลูกตอบ 100-35=65 แต่ครูตรวจว่าผิด ฟังเฉลยหงุดหงิดเป็นเท่าตัว

บ้าไปแล้ว! พ่อวีนเดือด ลูกตอบ 100-35=65 แต่ครูตรวจว่าผิด ฟังเฉลยหงุดหงิดเป็นเท่าตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เด็กประถมแก้โจทย์เลข 100-35=65 แต่ครูตรวจว่าผิด พ่อถึงกับต้องโทรไปถามครู รู้เฉลยหงุดหงิดขึ้นเป็นเท่าตัว!


ในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก คณิตศาสตร์เป็นวิชาสำคัญที่ช่วยฝึกความสามารถในการคิดของเด็กๆ ในเวลาเดียวกันก็เป็นวิชาที่ทำให้ผู้ปกครองหลายคนปวดหัวเช่นกัน เพราะปัญหาทางคณิตศาสตร์ไม่เพียงแต่ต้องใช้การคำนวณตามปกติเท่านั้น บางครั้งยังต้องประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติด้วย ซึ่งต้องใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการฝึกคิด

เช่นเดียวกับกรณีของผู้ปกครองแซ่หว่อง ซึ่งมีลูกชายกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาที่ประเทศจีน พบว่าแบบฝึกหัดข้อหนึ่งดูเหมือนจะถูกคุณครูตรวจผิดพลาด โดยโจทย์ถามว่า "ถ้าเอาเงิน 100 หยวน ไปซื้อสินค้ามูลค่า 35 หยวน จะได้เงินทอนเท่าไหร่?" ซึ่งเด็กชายตอบว่า 100-35=65 แต่กลับถูกคุณครูขีดฆ่าว่าเป็นคำตอบที่ "ผิด"

นายหว่องมองว่าข้อนี้เป็นการคำนวณที่ง่ายมาก และเขาเองก็คิดว่าคำตอบของลูกชายทำเหมาะสมแล้ว เขาคิดอย่างไรก็ไม่เข้าใจว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหน เมื่อไม่พอใจที่ครูให้คะแนนลูกผิด จึงโทรไปสอบถามและขอคำอธิบาย อย่างไรก็ตาม คำตอบที่ได้กลับมายิ่งทำให้รู้สึกแย่กว่าเดิม เมื่อครูบอกว่าปัญหาไม่ได้ระบุชัดเจนว่า 100 หยวน เป็นแบงก์ 100 หยวน หรือแบงก์ 50 หยวน 2 ใบ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาของเด็กชายจึงถูกขีดฆ่าว่าผิด เพราะพลาดคำตอบอีก 3 กรณี

ครูอธิบายว่าปัญหานี้จะต้องแก้ไขใน 4 กรณี

กรณีที่ 1: ผู้ซื้อมีแบงก์ 100 หยวน และให้แบงก์ 100 หยวนแก่ผู้ขาย ดังนั้นคำตอบคือ 100-35=65 หยวน

กรณีที่ 2: หากผู้ซื้อมีแบงก์ 50 หยวน 2 ใบ ต้องมอบแบงก์ 50 หยวนใบหนึ่งให้กับผู้ขาย ดังนั้นคำตอบคือ 50-35=15 หยวน

กรณีที่ 3: ผู้ซื้อมีแบงก์ 20 หยวน 5 ใบ ต้องมอบแบงค์ 20 หยวน 2 ใบให้กับผู้ขาย ดังนั้นคำตอบคือ 2x20-35=5 หยวน

กรณีที่ 4: หากผู้ซื้อมีธนบัตร 50 หยวน 1 ใบ, ธนบัตร 20 หยวน 1 ใบ, ธนบัตร 10 หยวน 2 ใบ และธนบัตร 5 หยวน 2 ใบ เขาจะต้องให้ธนบัตร 20 หยวน, 10 หยวน และ 5 หยวน อย่างละหนึ่งใบให้ผู้ขาย ดังนั้นคำตอบคือ 20+10+5-35=0 หยวน หรือก็คือไม่ได้รับเงินทอนคืน

หลังจากฟังคำอธิบายของคุณครูจบแล้ว นายหว่องถึงกับพูดไม่ออก เขายิ่งรู้สึกหงุดหงิดมากยิ่งขึ้นเพราะมองว่า "นี่เป็นปัญหาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนประถมศึกษา ที่ตั้งใจทำให้นักเรียนสับสนหรือเปล่า?" เช่นเดียวกับเมื่อเรื่องราวถูกแชร์บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ชาวเน็ตหลายคนก็เห็นด้วยกับนายหว่อง โดยกล่าวว่าโจทย์ข้อนี้มีหัวข้อไม่รัดกุม และข้อมูลไม่เพียงพอ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถให้คำตอบที่ถูกต้องทั้งหมดได้ อีกทั้งยังมีความไม่สมเหตุสมผลและไม่เหมาะกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook