หนุ่มอายุแค่ 19 ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ เผยนิสัย 5 ข้อที่ทำประจำ หมอรู้แล้วกุมขมับ
หนุ่มวัย 19 จู่ๆ ปากเบี้ยว ชาครึ่งซีก ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ หมอรู้ว่าใช้ชีวิตยังไงแล้วกุมขมับ เผย 5 พฤติกรรมเสี่ยง ที่วัยรุ่นชอบทำ
หากคุณมีวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ แม้ว่ายังอายุน้อยและแข็งแรงมาตลอด ก็ยังมีโอกาสโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ตลอดเวลา
หู ซินผิง รองหัวหน้าแผนกประสาทวิทยาของโรงพยาบาลจงซาน มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน กล่าวว่าช่วงนี้อากาศร้อน อุณหภูมิพุ่งสูงมาก ทำให้จำนวนผู้ป่วยเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้ป่วยที่อายุน้อยที่สุดที่เขาได้รักษาคือ นายซู นักศึกษามหาวิทยาลัยวัย 19 ปี
วันหนึ่ง นายซูตื่นเช้ามาเพื่อเรียน แต่จู่ๆ ก็รู้สึกว่าขยับแขนขาได้ยากมาก ด้านขวาของร่างกายชากว่าเดิม และรู้สึกไม่ดีเลย เขาคิดว่าตัวเองเหนื่อยจากการนอนไม่พอ จึงขอลาหยุดจากโรงเรียนเพื่อพักผ่อนที่บ้าน แต่เกิดอาการปวดหัวอย่างฉับพลันทำให้เขานอนไม่หลับ เมื่อเขาพยายามลุกจากเตียงเพื่อจะไปกินยาแก้ปวด เขาพบว่าปากของเขาเบี้ยวไปข้างหนึ่ง พูดแทบไม่ได้ และแก้มขวาแข็งเกร็ง นายซูตกใจและส่งข้อความให้เพื่อนเรียกรถพยาบาล หลังจากทำการสแกนสมองด้วย CT เขาถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ สโตรก
ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกิน (หนักประมาณ 100 กิโลกรัม และสูง 170 เซนติเมตร) มีภาวะหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดในสมองตีบหรือถูกอุดตัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อในบริเวณนั้นตายและสมองสูญเสียการทำงาน รวมถึงก่อให้เกิดอาการทางระบบประสาท ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองที่ลูกทำลายไปโดนส่วนที่ใช้ในการควบคุมอวัยวะส่วนไหนของร่างกาย อวัยวะนั้นก็จะสูญเสียการทำงานไป
โชคดีที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลในช่วงเวลาทอง คือเวลาที่ยังมีโอกาสรักษาแก้ไขอาการได้ เขาอายุยังน้อยและอาการไม่รุนแรงเกินไป จึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัด หลังจากการรักษาด้วยยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยก็พ้นขีดอันตราย อย่างไรก็ตาม เขายังต้องอยู่ในโรงพยาบาลอีก 10 วัน และต้องผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นเวลานานก่อนที่จะสามารถเดินได้ตามปกติ
นอกจากนี้ เรายังพบว่าผู้ป่วยมีไขมันในเลือดสูง ภาวะก่อนเบาหวาน และไขมันพอกตับ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม ในขณะเดียวกัน การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็มีความสำคัญอย่างมาก เพราะโรคต่างๆ รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบเรื่องนี้ ผมอดไม่ได้ที่จะพูดเสียงดังด้วยความโกรธ เพราะผู้ป่วยยังอายุน้อยแต่มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายอย่างมากถึง 5 อย่าง ซึ่งแม้แต่คนที่มีร่างกายแข็งแรงดุจเหล็กก็ไม่อาจทนได้” ดร. หู ซินผิง กล่าว
พฤติกรรมที่ไม่ดีทั้ง 5 ของซูคือ 1.การนอนดึกเป็นเวลานาน 2.กินอาหารมื้อดึกเป็นประจำ 3.ดื่มแอลกอฮอล์ 4.สูบบุหรี่ และ 5.กินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันสูงเป็นประจำ
เขากล่าวว่าตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมปลาย เขาก็มีนิสัยเล่นเกมออนไลน์จนดึกดื่น และเมื่ออยู่ไกลบ้านโดยไม่มีพ่อแม่คอยดูแล เขามักจะอดนอนทั้งคืนแล้วนอนในช่วงกลางวัน
เนื่องจากเขานอนดึกแต่นอนในช่วงกลางวัน เขาจึงเริ่มกินอาหารไม่ตรงเวลา ชอบกินมื้อดึก และหลงใหลอาหารจานด่วนอย่างไก่ทอด มันฝรั่งทอด ฯลฯ อย่างมาก เขายังชอบกินมันเป็นของว่างพร้อมกับเบียร์และไวน์อีกด้วย เขาเริ่มสูบบุหรี่เพราะความอยากรู้ และจากนั้นก็รู้สึกว่าบุหรี่ช่วยให้เขาง่วงน้อยลงและมีสมาธิในการเล่นเกมตอนกลางคืนมากขึ้น แบบนี้เขาจึงทำลายสุขภาพของตัวเองไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว
เมื่อพูดถึงกรณีของนายซู ดร. หู ซินผิง ยังเตือนให้ระวังความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดสมองในสภาพอากาศร้อน เขากล่าวว่า “หลายคนรู้แค่ว่าอุณหภูมิต่ำในตอนกลางวันและฤดูหนาวที่หนาวเย็นเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง แต่พวกเขาไม่รู้ว่าฤดูร้อนที่ร้อนจัดก็เป็นเช่นเดียวกัน การศึกษาแสดงให้เห็นว่าทุกๆ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิหนึ่งองศาเซลเซียส ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้น 10%”
เขายังอธิบายว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ โดยสาเหตุสำคัญได้แก่:
-
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำงานหนักเกินไป ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ตับ ไต และระบบประสาท หากไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอและลดอุณหภูมิของร่างกาย เลือดจะข้นขึ้น การไหลเวียนของเลือดจะไม่ดี และความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ง่าย
-
ร่างกายจะมีเหงื่อออกมากในสภาพอากาศร้อน ซึ่งอาจทำให้สูญเสียเกลือ แร่ธาตุ และน้ำได้ง่าย สิ่งนี้นำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการขาดน้ำ ปริมาณเลือดในหลอดเลือดลดลง และการเกิดลิ่มเลือดได้ง่าย
-
อากาศร้อน โดยเฉพาะการสัมผัสกับแสงแดด ยังส่งผลต่อการขยายตัวของระบบหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่าย ในขณะเดียวกันก็ลดภูมิคุ้มกัน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น
-
เช่นเดียวกับในสภาพอากาศหนาวเย็น ในสภาพอากาศร้อนก็เกิดภาวะช็อกจากความร้อนได้ง่ายเมื่อเปลี่ยนสภาพแวดล้อม หรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกะทันหัน (เนื่องจากการอาบน้ำ การใช้เครื่องปรับอากาศหรือพัดลม)
นอกจากนี้ ดร. หู ซินผิง ยังกล่าวอีกว่า ฤดูร้อนที่ร้อนจัดเป็นช่วงเวลาที่หลายคนกินอาหารไม่ตรงเวลาและพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หรือบางคนมุ่งเน้นที่การทำให้ร่างกายเย็นลงมากจึงกินและดื่มอย่างไม่ระมัดระวัง โดยไม่ควบคุมปริมาณน้ำตาลจากอาหารเย็น เช่น น้ำอัดลม ไอศกรีม ชา ผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังดื่มเบียร์และแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว