แยกยังไง? งูทับสมิงคลา-งูปล้องฉนวน แฝดคนละฝา ตัวนึงมีพิษรุนแรง อีกตัวไม่มีพิษเลย

แยกยังไง? งูทับสมิงคลา-งูปล้องฉนวน แฝดคนละฝา ตัวนึงมีพิษรุนแรง อีกตัวไม่มีพิษเลย

แยกยังไง? งูทับสมิงคลา-งูปล้องฉนวน แฝดคนละฝา ตัวนึงมีพิษรุนแรง อีกตัวไม่มีพิษเลย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งูทับสมิงคลา กับ งูปล้องฉนวน แฝดคนละฝา ตัวนึงมีพิษรุนแรง อีกตัวไม่มีพิษเลย มีวิธีสังเกตหรือแยกยังไง?

ในช่วงฤดูฝน หลายบ้านต้องประสบปัญหา "งูเข้าบ้าน" กันเป็นประจำ ซึ่งมีทั้งงูพิษ และงูไม่มีพิษ ซึ่งชนิดที่ถูกคนสับสนกันมากที่สุดคือ งูปล้องฉนวน งูไม่มีพิษที่ดันไปรูปร่างหน้าตาคล้ายกับ งูทับสมิงคลา ซึ่งเป็นงูพิษร้ายแรงอันดับต้นๆ ของประเทศไทย 

งูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลา หรือ งูทับทางขาว (Malayan Krait หรือ Bungarus candidus) มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลงูสามเหลี่ยม ลำตัวไม่เป็นสามเหลี่ยมชัดเจน ตามตัวเป็นปล้องดำสลับขาว เป็นงูพิษอันตรายที่พบได้ในประเทศไทย พิษออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทเป็นหลัก ลักษณะมีลายสีขาวสลับกับสีดำ ในบางตัวเกล็ดสีขาวมีสีดำแซม

งูทับสมิงคลาเต็มวัย ความยาวเฉลี่ย 1 - 1.5 เมตร บางตัวมีสีขาวอมเหลืองอ่อนๆ สลับกับสีดำ ท้องมีสีขาว ลายสีดำจะไม่คาดถึงท้องแบบงูสามเหลี่ยม เกล็ดกลางสันหลังเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม 

งูทับสมิงคลาThai National Parksงูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลาThai National Parksงูทับสมิงคลา

งูปล้องฉนวน

งูปล้องฉนวน (Lycodon หรือ Wolf snakes) เป็นงูที่ไม่มีพิษ ไม่มีอันตราย รูปร่างเพรียว ลำตัวเรียวยาว มีแถบสีขาวสลับดำหรือสีดำอมเทา กลุ่มงูปล้องฉนวนเกล็ดมีลักษณะเท่าๆ กันทั้งตัว ขนาดตัวโตเต็มวัยของกลุ่มงูปล้องฉนวนมีขนาดไม่ใหญ่มาก บางชนิดลำตัวอ้วนเท่านิ้วมือ

งูปล้องฉนวนกินงูThai National Parksงูปล้องฉนวนกินงู

งูปล้องฉนวนตับจาก หรือ ปล้องฉนวนอินเดีย (Lycodon davisonii) จุดสังเกตคือ แก้มสีขาว ทรงหัวเล็กค่อนข้างแหลมยาว ปลายหัวมน ลำตัวกลม เรียวเพรียวยาว โทนสีออกน้ำตาลดำสลับด้วยสีขาวหรือครีมอมเหลือง ลักษณะปล้องไม่รอบไปถึงด้านท้อง ท้องสีขาวหรือสีออกครีมส่วนครึ่งท้ายลวดลายจะถี่ บางตัวลายเส้นสีอ่อนจะสลับไปมาคล้ายร่างแห 

งูปล้องฉนวนอินเดีย Thai National Parksงูปล้องฉนวนอินเดีย

วิธีสังเกตและจำแนก งูทับสมิงคลา กับ งูปล้องฉนวน


นิค อสรพิษวิทยา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านงู และเจ้าของเพจ Nick Wildlife ให้สัมภาษณ์ว่า ในการจำแนกงูทั้ง 2 ชนิดนี้ จะใช้เกล็ดกลางหลังเป็นหลัก 

  • เกล็ด งูปล้องฉนวน เกล็ดจะมีลักษณะเท่าๆ กันทั้งตัว ส่วนงูทับสมิงคลา เกล็ดกลางหลังจะเป็นเกล็ดขนาดใหญ่รูปหกเหลี่ยม ซึ่งจะมองเห็นเป็นสันตามแนวหลัง แต่ไม่ได้เป็นเหลี่ยมชัดเจนเท่างูสามเหลี่ยม 

งูพิษชิดใกล้ Thailand Snakes : Close Encounters

  • หาง สัดส่วนของหางงูปล้องฉนวน จะยาวกว่างูทับสมิงคลา เมื่อเทียบกับความยาวทั้งตัว

งูพิษชิดใกล้ Thailand Snakes : Close Encounters

  • ตา สัดส่วนของตากับขนาดความหนาของหัว งูปล้องฉนวนจะตาโตกว่างูทับสมิงคลา

งูพิษชิดใกล้ Thailand Snakes : Close Encounters

หากพบเจองูเข้าบ้าน วิธีที่ดีที่สุด โทร.สายด่วน 199 แจ้งหน่วยกู้ภัย หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการจับงูเข้ามาดำเนินการเพื่อความปลอดภัย "อย่าจับงูเองหากไม่ชำนาญ"

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น คำแนะนำจากศิริราช

  1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล หรือสมุนไพรใดๆ

  2. บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม

  3. การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรคลายความแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว จุดประสงค์เพื่อให้อวัยวะนั้นอยู่นิ่ง ไม่ใช่เป็นการห้ามพิษเข้าสู่หัวใจตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ถูกต้อง

  4. ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดด้วยการกดแผลโดยตรง  ถ้าสามารถใช้แอลกอฮอล์หรือเบต้าดีนทาแผลได้ก็จะเป็นผลดีต่อการทำลายเชื้อโรคต่างๆ

  5. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะหากเคลื่อนไหวมาก จะทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น

  6. วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ

  7. รับประทานยาแก้ปวดหากรู้สึกปวด แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ  ยาดองเหล้า  เป็นต้น

  8. รีบนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด เนื่องจากอาจจับได้ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งไม่ใช่เป็นตัวที่กัด ปัจจุบันใช้การดูรอยกัดและลักษณะแผลเพื่อกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม

  9. ให้ระลึกเสมอว่างูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ  

งูเหลือม กับ งูหลาม ต่างกันยังไง? เพิ่งรู้มีวิธีสังเกตง่ายมาก ดูแค่ส่วนหัวก็รู้เลย

ไขข้อสงสัย งูเห่า-งูจงอาง ต่างกันยังไง ชนิดไหนพิษรุนแรงกว่า ถ้าต่อสู้กันใครชนะ?

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook