เช็กเลย! ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ 16 สิงหาคม ชาวกรุงเตรียมไร้เงา เปิดเวลาชัดๆ กี่โมง

เช็กเลย! ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ 16 สิงหาคม ชาวกรุงเตรียมไร้เงา เปิดเวลาชัดๆ กี่โมง

เช็กเลย! ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ 16 สิงหาคม ชาวกรุงเตรียมไร้เงา เปิดเวลาชัดๆ กี่โมง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สดร.พบดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ อีกครั้ง 16 ส.ค.นี้ เริ่มจากบริเวณเหนือสุดของประเทศ


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ของปี ตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลาประมาณ 12:22 น. หากสังเกตวัตถุที่อยู่กลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี และอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุด ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร.เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลาประมาณ 12:22 น. ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับกรุงเทพมหานคร โดยปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม และกรกฎาคม-กันยายน ของทุกปี สำหรับดวงอาทิตย์ตั้งฉากครั้งที่ 2 ของปีนี้ ดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย เริ่มจากบริเวณเหนือสุดของประเทศ ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา จากนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ขยับมาตั้งฉากกับพื้นที่ใต้ลงไปเรื่อย ๆ และจะตั้งฉากกับพื้นที่ใต้สุดของประเทศไทย ณ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ในวันที่ 7 กันยายน 2567

นายศุภฤกษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก” เป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นทุกปี และสามารถคำนวณได้ล่วงหน้า การคำนวณหาวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นที่ต่าง ๆ บนโลก จะขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งพิกัดละติจูด-ลองจิจูดของแต่ละพื้นที่ สำหรับพื้นที่ประเทศไทย จะคำนวณวันที่เกิดปรากฏการณ์โดยอ้างอิงพิกัดจากอำเภอเมืองของจังหวัดนั้น ๆ เป็นหลัก จากนั้นหาเดือน และวันที่ที่ค่าพิกัด (declination) ของดวงอาทิตย์ ตรงหรือใกล้เคียงกับละติจูดของพื้นที่นั้น ๆ พร้อมหาค่ามุมเงยของดวงอาทิตย์ขณะเคลื่อนที่ผ่านแนวลองจิจูด วันที่ดวงอาทิตย์มีมุมเงยสูงที่สุด หรือใกล้เคียงกับตำแหน่งจุดเหนือศีรษะ (90 องศา) มากที่สุด คือวันที่มีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก สังเกตได้จากเงาของวัตถุจะอยู่ตกอยู่ใต้วัตถุในระนาบเดียวกันพอดี สำหรับจังหวัดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็อาจเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากได้ถึงสองวัน

นอกจากนี้ หากใช้ตำแหน่งพิกัดอ้างอิงที่ต่างกัน ก็อาจส่งผลต่อการกำหนดวันที่เกิดปรากฏการณ์ด้วยเช่นกัน ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ระหว่างละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ในหนึ่งปี ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่ดังกล่าวถึง 2 ครั้ง หากสังเกตวัตถุที่อยู่กลางแดดจะดูเสมือนไม่มีเงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี ไม่เฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ครั้งที่ 2 ของทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย เพิ่มเติมได้ที่ https://www.narit.or.th/index.php/news/4010

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook