“ฝีดาษลิง Clade 1B” สายพันธุ์ใหม่ เชื้อแพร่ง่าย อันตราย ป้องกันอย่างไร?

“ฝีดาษลิง Clade 1B” สายพันธุ์ใหม่ เชื้อแพร่ง่าย อันตราย ป้องกันอย่างไร?

“ฝีดาษลิง Clade 1B” สายพันธุ์ใหม่ เชื้อแพร่ง่าย อันตราย ป้องกันอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สืบเนื่องจากวันนี้ (21 สิงหาคม) กรมควบคุมโรค แถลงพบผู้ป่วยฝีดาษลิง คาดว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ Clade 1B รายแรกของไทย ซึ่งอาจทำให้หลายคนอาจไม่ทราบว่าสายพันธุ์ดังกล่าวแตกต่างกับสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างไร รวมถึงอาจมีความกังวลว่าจะสามารถติดได้ไหม

วันนี้ Sanook จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จัก "ฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1B" คืออะไร มีอาการและมีวิธีป้องกันตัวเองอย่างไร 

ฝีดาษลิง

ฝีดาษลิง คืออะไร?

ฝีดาษลิง คือโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส  orthopoxvirus เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ตระกูลลิง หรือสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น ทั่วไปแล้วมักพบในฝั่งแอฟริกากลาง และตะวันตก โดยปัจจุบันสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 

  • สายพันธุ์ Clade 1 (สายพันธุ์แอฟริกากลาง) 
  • สายพันธุ์ Clade 2 (สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก)

ทั้ง 2 สายพันธุ์อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ Clade 1 จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า

ฝีดาษลิง Clade 1B คืออะไร 

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า ฝีดาษลิง Clade 1B มีอัตราการเสียชีวิต 1% น้อยกว่า สายพันธุ์ Clade 1 อย่างไรก็ตาม หากเทียบกันฝีดาษลิง Clade 1B มีโอกาสติดได้ง่ายกว่า  

โดยมีรายงานว่า ในแอฟริกา การอยู่ในบ้านเดียวกับผู้ติดเชื้อแค่ 4 ชั่วโมงก็เสี่ยงติดเชื้อ ฝีดาษลิง Clade 1B ได้ ทั้งจากการสัมผัสเชื้อจากสารคัดหลั่ง การใช้มือที่สัมผัสเชื้อขยี้ตา การไอหรือจาม โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ ย่อมติดเชื้อได้ แต่ต้องย้ำว่า ไม่ใช่การติดเชื้อจากแอร์บอร์น

ฝีดาษลิง Clade 1B แพร่กระจายอย่างไร? 

  • เพศสัมพันธ์ 
  • สัมผัสโดยตรงกับ ผื่น ตุ่มหนอง น้ำหนองของผู้ป่วย
  • สัมผัสสิ่งของปนเปื้อนของผู้ป่วย 
  • ละอองฝอยทางการหายใจ เช่น ไอ จาม หรือการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร
  • การสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิง หนู และกระรอก

 ฝีดาษลิง

อาการของฝีดาษลิง Clade 1B

ตามรายงานของโรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ สามารถสังเกตอาการของฝีดาษลิง Clade 1B ได้ดังนี้

  •  มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  •  มีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนอง บนผิวหนัง
  • บางรายอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน ไอ เจ็บคอ

หากมีอาการที่น่าสงสัยเหล่านี้ ควรพบแพทย์ทันที

วิธีป้องกันจากโรคฝีดาษลิง Clade 1B

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หรือผู้มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยง
  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์

สำหรับสถานการณ์ฝีดาษลิงล่าสุดในไทย ตามรายงานของกรมควบคุมโรค ระบุว่าตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบันพบผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย จำนวน 829 ราย โดยมีผู้ติดเชื้อที่เป็นคนไทย 744 ราย คนต่างประเทศสัญชาติเอเชีย 51 ราย และสัญชาติอื่น ๆ อีก 30 ราย

อ่านเพิ่มเติม:

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook