สทนช.ประกาศ 35 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 24-30 ส.ค.นี้

สทนช.ประกาศ 35 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 24-30 ส.ค.นี้

สทนช.ประกาศ 35 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 24-30 ส.ค.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ออกประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ภาคเหนือ อีสานตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ช่วงวันที่ 24 – 30 ส.ค. นี้

วานนี้ (21 ส.ค.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหล โดย สทนช. ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้

ทั้งนี้ สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 24 – 30 ส.ค.2567 ดังนี้

1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ

1.1 ภาคเหนือ

  • จ.เชียงราย พื้นที่ อ.เมืองเชียงราย แม่สาย เชียงแสน เวียงแก่น ขุนตาล พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง และแม่ลาว)
  • จ.เชียงใหม่ พื้นที่ อ.แม่อาย และ เชียงดาว
  • จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า ปาย ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย
  • จ.ตาก พื้นที่ อ.เมืองตาก ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง
  • จ.ลำปาง พื้นที่ อ.วังเหนือ และงาว
  • จ.พะเยา พื้นที่ อ.เมืองพะเยา แม่ใจ ภูซาง ปง เชียงคำ จุน และเชียงม่วน
  • จ.น่าน พื้นที่ อ.เมืองน่าน เฉลิมพระเกียรติ ปัว ท่าวังผา เวียงสา ทุ่งช้าง เชียงกลาง บ่อเกลือ สองแคว และภูเพียง
  • จ.แพร่ พื้นที่ อ.เมืองแพร่ เด่นชัย สอง ลอง และวังชิ้น
  • จ.สุโขทัย พื้นที่ อ.เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม กงไกรลาศ และศรีสำโรง
  • จ.อุตรดิตถ์ พื้นที่ อ.เมืองอุตรดิตถ์ ลับแล พิชัย ทองแสนขัน และท่าปลา
  • จ.พิษณุโลก พื้นที่ อ.ชาติตระการ นครไทย วังทอง และเนินมะปราง
  • จ.เพชรบูรณ์ พื้นที่ อ.เมืองเพชรบูรณ์ หล่มเก่า และหล่มสัก

1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • จ.เลย อ.นาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย และปากชม
  • จ.หนองคาย อ.เมืองหนองคาย สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย และโพธิ์ตาก
  • จ.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา และบึงโขงหลง
  • จ.หนองบัวลำภู อ.เมืองหนองบัวลำภู ศรีบุญเรือง และโนนสัง
  • จ.อุดรธานี อ.เพ็ญ บ้านดุง และหนองหาน
  • จ.สกลนคร อ.เมืองสกลนคร บ้านม่วง คำตากล้า วานรนิวาส สว่างแดนดิน และ พรรณานิคม
  • จ.นครพนม อ.เมืองนครพนม บ้านแพง ศรีสงคราม ท่าอุเทน นาหว้า โพนสวรรค์ ปลาปาก และธาตุพนม

1.3 ภาคตะวันตก

  • จ.กาญจนบุรี อ.เมืองกาญจนบุรี สังขละบุรี ทองผาภูมิ ศรีสวัสดิ์ ไทรโยค และด่านมะขามเตี้ย
  • จ.ราชบุรี อ.สวนผึ้ง และบ้านคา
  • จ.เพชรบุรี อ.แก่งกระจาน และหนองหญ้าปล้อง
  • จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.หัวหิน ปราณบุรี และบางสะพาน

1.4 ภาคตะวันออก

  • จ.นครนายก อ.เมืองนครนายก ปากพลี และบ้านนา
  • จ.ปราจีนบุรี อ.เมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม นาดี และกบินทร์บุรี
  • จ.จันทบุรี อ.เมืองจันทบุรี มะขาม ขลุง และแหลมสิงห์
  • จ.ตราด อ.เมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ และเกาะกูด

1.5 ภาคใต้

  • จ.ระนอง อ.เมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ
  • จ.พังงา อ.เมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง
  • จ.ภูเก็ต อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง
  • จ.สุราษฎร์ธานี อ.เมืองสุราษฎร์ธานี คีรีรัฐนิคม พุนพิน พระแสง และเวียงสระ
  • จ.นครศรีธรรมราช อ.เมืองนครศรีธรรมราช ลานสกา ถ้ำพรรณรา และทุ่งใหญ่
  • จ.ตรัง อ.เมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด รัษฎา และวังวิเศษ
  • จ.พัทลุง อ.เมืองพัทลุง ปากพะยูน กงหรา ศรีนครินทร์ และควนขนุน
  • จ.สตูล อ.เมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง

2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี

และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ

3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ

  • ลำน้ำงาว อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
  • แม่น้ำสาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย
  • แม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย
  • แม่น้ำน่าน อ.เมืองน่าน เวียงสา เชียงกลาง ภูเพียง และท่าวังผา จ.น่าน
  • แม่น้ำยม อ.ปง เชียงม่วน จ.พะเยา , อ.เมืองแพร่ สอง และหนองม่วงไข่ จ.แพร่ , อ.เมืองสุโขทัย สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย และกงไกรลาศ จ.สุโขทัย , อ.เมืองพิษณุโลก พรหมพิราม และบางระกำ จ.พิษณุโลก
  • แม่น้ำแควน้อย อ.นครไทย และวัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก
  • แม่น้ำป่าสัก อ.หล่มสัก และหนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
  • ลำน้ำก่ำ อ.เรณูนคร จ.นครพนม
  • แม่น้ำตราด อ.เมืองตราด เขาสมิง และบ่อไร่ จ.ตราด

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน

2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและพนังกั้นน้ำ เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ให้พร้อมใช้งาน และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และคำนึงถึงอิทธิพลของการขึ้น – ลง ของน้ำทะเล

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook