สาวมุ่งมั่นลดน้ำหนักได้ 15 กก. เพิ่งรู้ตัวว่าพลาด อายุแค่ 23 แต่อาจมีลูกไม่ได้อีกแล้ว
สาวมุ่งมั่นลดน้ำหนักได้ 15 กก. เพิ่งรู้ตัวว่าพลาด ฟังหมอแล้วน้ำตาไหล อายุแค่ 23 แต่อาจมีลูกไม่ได้อีกแล้ว
เสี่ยวไท่ หญิงสาวอายุ 23 ปี จากประเทศจีน ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลาสองปี หลังจากไปโรงพยาบาลหลายแห่ง เธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย เสี่ยวไท่ถึงกับหลั่งน้ำตาเมื่อคุณหมอบอกว่าโอกาสในการตั้งครรภ์ในอนาคตของเธอนั้นมีน้อยมาก
เธอเป็นพนักงานออฟฟิศสูง 160 ซม. และน้ำหนักตัวเกือบ 60 กก. ด้วยความต้องการที่จะมีรูปร่างที่สมดุลมากขึ้น ก่อนฤดูร้อนปีที่แล้ว เธอเริ่มต้นการลดน้ำหนักอย่างจริงจัง ตัดอาหารประเภทแป้งทั้งหมด กินเพียงมื้อเดียวต่อวัน และบางครั้งรับประทานยาลดน้ำหนัก ซึ่งเสี่ยวไท่ลดน้ำหนักได้ถึง 10% ในเวลา 1 เดือน
เมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน เสี่ยวไท่จึงตัดสินใจที่จะพยายามทำแบบเดิมต่อไป ต่อมาเธอเริ่มอยากอาหารน้อยลง จะรู้สึกคลื่นไส้เมื่อเห็นเนื้อหรือปลา พร้อมกับน้ำหนักตัวที่ลดลงเหลือ 45 กก. ในช่วงเวลานั้น รอบเดือนของเธอเริ่มมีความไม่สม่ำเสมอ ปริมาณน้อยและระยะเวลาสั้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเธอแทบจะไม่มีประจำเดือนเลยและตัดสินใจไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา จึงพบว่าตนเองมีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย
ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย เกิดจากการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ การพัฒนาของฟอลลิเคิลไม่เพียงพอ ประจำเดือนน้อยหรือแม้กระทั่งหายไป ภาวะนี้พบมากในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 40 ปี
คุณหมออธิบายว่า การอดอาหารและการใช้ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย การอดอาหารจะทำให้การดูดซึมโปรตีนไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนจากไฮโพธาลามัสและนำไปสู่ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักบางชนิดมีฮอร์โมน ซึ่งสามารถทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลและทำให้เกิดภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย การลดน้ำหนักควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ร่างกายเสียหายจะดีที่สุด
สำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน หากยังไม่เคยมีบุตรหรือกำลังวางแผนที่จะมีบุตร ควรลดน้ำหนักเดือนละ 0.5-1 กก. ไม่เกิน 2 กก. ต่อเดือน เพื่อให้ร่างกายปรับตัวและลดน้ำหนักอย่างช้าๆ สำหรับผู้หญิงที่ไม่วางแผนที่จะมีบุตร หากต้องการลดน้ำหนักค่อนข้างเร็ว ควรลดน้ำหนักโดยการเสริมโภชนาการที่เหมาะสม อย่าลดน้ำหนักมากเกินไป
การใส่ใจในนิสัยการใช้ชีวิตและการกินที่ดีเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษารังไข่ ควรมีการตรวจอัลตราซาวด์ในอุ้งเชิงกรานทุกปี หากประจำเดือนมีความไม่สม่ำเสมอเป็นเวลาสามเดือน ควรไปโรงพยาบาลเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาทันเวลา