ตายแล้ว 2 ศพ "เหล้าเถื่อนเมทานอล" ระบาด กทม. โคม่าอีกเพียบ เช็กมีอาการนี้รีบไป รพ.

ตายแล้ว 2 ศพ "เหล้าเถื่อนเมทานอล" ระบาด กทม. โคม่าอีกเพียบ เช็กมีอาการนี้รีบไป รพ.

ตายแล้ว 2 ศพ "เหล้าเถื่อนเมทานอล" ระบาด กทม. โคม่าอีกเพียบ เช็กมีอาการนี้รีบไป รพ.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช็กด้วย! เปิด 18 จุดเสี่ยง "เหล้าเถื่อน" ตายแล้ว 2 โคม่า 13 ต้องใส่ท่อหายใจ-ฟอกไต ป่วยอีกเพียบ ใครมีอาการตามนี้รีบไปโรงพยาบาล

วันนี้(26 ส.ค. 67) นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ พร้อมด้วย นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางชัน ตำรวจ บก.น.3 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันประชุมติดตามความคืบหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรณีพบผู้ป่วยเป็นพิษเฉียบพลัน จากการดื่มสุราเถื่อนผสมเมทานอลหลายรายในพื้นที่เขตคลองสามวาและเขตมีนบุรี

นายแพทย์ไพโรจน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 08.00 น. มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 27 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย เหลือรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลต่างๆ 25 ราย โดยรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 16 ราย โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 จํานวน 6 ราย โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคําแหง 1 ราย โรงพยาบาลนวมินทร์ 1 ราย และโรงพยาบาลราชวิถี 1 ราย

แบ่งเป็นผู้ป่วยสีแดง 13 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ สีเขียว 9 ราย และสีเหลือง 3 ราย ต้องรับการฟอกไต 18 ราย ซึ่งยังคงมีผู้ป่วยเดินทางเข้ามาอย่างต่องเนื่อง โดยจะมีการสรุปผลข้อมูลทุกวันให้ประชาชนทราบ ในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น.

โดยเมื่อวานที่ผ่านมาทางกรมควบคุมโรคได้ลงพื้นที่ไปสอบสวนโรคในจุดสําคัญ เช่น ภายในซอยหทัยราษฎร์ 33 พบว่ามีผู้ที่ดื่มสุราเถื่อนเข้าไปอีกจํานวน 2-3 ราย แต่ยังไม่เข้ามาพบแพทย์ ในส่วนของผู้ป่วยที่เสี่ยงตาบอดนั้น ตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ เพราะมีการใส่ท่อช่วยหายใจจึงยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะมองเห็นได้เหมือนเดิมหรือไม่

สําหรับเมทานอลเป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการจุดไฟทางอุตสาหกรรมซึ่งใช้เป็นตัวทําลาย แต่จากการกลั้นสุราก็สามารถพบได้แต่ต้องไม่เกิน 1,000 ppm แต่จากการตรวจสอบที่กรมสรรพสามิตเจอเมื่อล่วงเช้าที่ผ่านมามีเมทานอลสูงถึง 100,000 ppm ซี่งร้านที่จําหน่ายทั้ง 18 ซุ่ม คาดว่าอาจจะไม่ทราบเพราะรับมาอีกทอดหนึ่ง โดยจุดที่รับมาทางเจ้าหน้าที่ตํารวจได้มีการสอบสวนพบว่ารับวัตถุดิบมาอีกที่หนึ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างขยายผลเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยปีหนึ่งพบว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 50-100 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุราธรรมชาติที่ชาวบ้านต้มกลั่นกันเอง ส่วนผลของส่วนประกอบอย่างละเอียดของสุราเถื่อนอยู่ระหว่างการตรวจสอบของศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งผลน่าจะออกมาใน 1-2 วัน

ทั้งนี้ นายแพทย์ไพโรจน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ฝากเตือนไปยังประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ดื่มสุราเถื่อน 18 จุด พื้นที่ เขตมีนบุรี คลองสามวา หนองจอก ลาดกระบัง ประเวศ และคันนายาว ว่า หากมีอาการ วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้หรืออาเจียนและสายตาพร่ามัว ให้เข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลใกล้เคียงทันที ซึ่งผู้ป่วยที่กินไปบางคนจะออกฤทธิ์ช้าในเวลา 48 ชั่วโมง

อ่านเพิ่มเติม:

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook