รู้จัก "โลหะ" ในวงการพระเครื่องวัตถุมงคล เนื้ออัลปาก้า เนื้อช้อนส้อม เนื้อชิน คืออะไร?

รู้จัก "โลหะ" ในวงการพระเครื่องวัตถุมงคล เนื้ออัลปาก้า เนื้อช้อนส้อม เนื้อชิน คืออะไร?

รู้จัก "โลหะ" ในวงการพระเครื่องวัตถุมงคล เนื้ออัลปาก้า เนื้อช้อนส้อม เนื้อชิน คืออะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้จัก "โลหะ" ในวงการพระเครื่องวัตถุมงคล เนื้ออัลปาก้า เนื้อช้อนส้อม เนื้อชิน คืออะไร? เบญจโลหะ สัตตโลหะ นวโลหะ มีอะไรบ้าง

ในการสร้างเหรียญพระเครื่อง และพระบูชา มีโลหะหลายชนิดที่นำมาผสมกันเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหรือมวลสารในการสร้าง ซึ่งแต่ละชนิดมีชื่อเรียก มีคุณสมบัติ และราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของโลหะชนิดนั้นๆ ที่เราได้ยินบ่อยเช่น ทองคำ ทองเหลือง ทองฝาบาตร นวโลหะ เป็นต้น     

พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย 4 เนื้อหลัก ๆ 

1. พระเนื้อทองคำ

2. พระเนื้อเงิน

3. พระเนื้อทองแดง

4. พระโลหะผสม 

พระโลหะผสมจะแยกย่อยออกไปดังนี้

  • เนื้อทองเหลือง

เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี โดยมีสัดส่วนทองแดง 75 เปอร์เซ็นต์ สังกะสี 25 เปอร์เซ็นต์

  • เนื้อทองฝาบาตร

คือทองเหลืองที่ผ่านการปั๊ม

  • เนื้อขันลงหิน

เนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้นเป็น โลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก โดยมากโลหะขันลงหินจะนิยมใช้ทำระฆัง เนื่องจากเวลาเคาะเสียงจะดังกังวาน ไพเราะเสนาะหู

  • เนื้อนวโลหะ

ตามสูตรโบราณ หมายถึงโลหะ 9 ชนิด  ที่หลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ประกอบด้วย

โลหะ 5 ชนิด เรียกว่า เบญจโลหะ ได้แก่ 

1.เหล็กละลายตัว
2.ปรอท
3.ทองแดง
4.เงิน
5.ทองคำ (ทองเป็นเกล็ดหรือทองเป็นก้อนซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ) 

ถ้าเพิ่มอีก 2 ชนิด รวมเป็น 7 เรียกว่า สัตตโลหะ 

6. เจ้าน้ำเงิน (แร่ผสมชนิดหนึ่งมีพลวงเป็นส่วนผสมหลักสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน)
7. สังกะสี 

ถ้าเพิ่มอีก 2 ชนิด รวมเป็น 9 เรียกว่า นวโลหะ 

8.ชิน (โลหะผสมชนิดหนึ่งประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก)
9.ทองแดงบริสุทธิ์

  • เนื้อชิน

พระเนื้อชิน เป็นชื่อเรียกของพระเนื้อโลหะชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากในสมัยโบราณ ด้วยการนำดีบุก กับตะกั่วมาผสมกัน  ในอดีตมีการสร้างพระเนื้อโลหะชนิดนี้บรรจุในกรุมากมาย เช่น กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก, กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันหายากและราคาสูงมาก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. เนื้อเงิน พระชนิดนี้เกิดจากการการผสมที่ดีบุกมีประมาณมากกว่าตะกั่ว ทำให้องค์พระมีสีเงินสว่างงดงาม 
  2. เนื้อสนิมแดง พระเครื่องเนื้อโลหะชนิดนี้ หนักไปทางตะกั่วมากกกว่าดีบุก ถึงแม้ว่าหน้าตาจะคล้ายๆ กัน แต่ถ้าใช้กล้องส่องพระส่องดูจะเห็นสนิมที่จับอยู่ตามซอกพระอย่างชัดเจน 
  3. เนื้อสนิมแดงตะกั่ว พระที่พบส่วนมากจะมีสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็น “สีแดงลูกหว้า” ซึ่งพระเนื้อสนิมแดงตะกั่วนี้ ถือเป็นพระเครื่องประเภทเนื้อชิน ที่มีมวลสารหลักเป็นตะกั่วมากที่สุดถึง 90% 

พระเนื้อชินส่องพระ

  • เนื้ออัลปาก้า

จริงๆ ต้องอ่านออกเสียงว่า อัลปัคก้า (Alpacca) คือโลหะผสมระหว่างทองแดงกับนิกเกิลโดยยึดสัดส่วนเหมือนทองเหลืองคือ ทองแดง 75 เปอร์เซ็นต์ นิกเกิล 25 เปอร์เซ็นต์ 

อัลปาก้าเปลือย หรือ เนื้อช้อนส้อม คือ โลหะผสมระหว่างทองแดง 83 เปอร์เซ็นต์ กับนิกเกิล 17 เปอร์เซ็นต์ การลดสัดส่วนของนิกเกิลลงเหลือ 17 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้โลหะผสมอัลปาก้านิ่มขึ้น เป็นการรักษาแม่พิมพ์ให้ทนทาน ซึ่งอัลปาก้าเปลือยนี้จะมีสีออกเหลืองมากกว่าอัลปาก้าเพราะมีทองแดงผสมมากกว่า 

เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เนื้ออัลปาก้า ไม่ชุบศูนย์พระเครื่องนิตยสารตรีมูรติเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เนื้ออัลปาก้า ไม่ชุบ

  • บรอนซ์

เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์

  • เมฆพัด

เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

  • เมฆสิทธิ์

นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสม เมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

  •  สัมฤทธิ์ (สำริด)

เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook