ฮือฮา พยาบาลโพสต์รูป "พระอาทิตย์ 7 ดวง" เทพจุติหรือภาพลวงตา เห็นแล้วโชคดีจริงหรือ?!

ฮือฮา พยาบาลโพสต์รูป "พระอาทิตย์ 7 ดวง" เทพจุติหรือภาพลวงตา เห็นแล้วโชคดีจริงหรือ?!

ฮือฮา พยาบาลโพสต์รูป "พระอาทิตย์ 7 ดวง" เทพจุติหรือภาพลวงตา เห็นแล้วโชคดีจริงหรือ?!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฉลยแล้ว พยาบาลโพสต์รูป "พระอาทิตย์ 7 ดวงซ้อนกัน" เทพจุติหรือภาพลวงตา ต้องถ่ายผ่านอะไรได้แบบนี้?!

กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากในโลกออนไลน์ กรณีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเฉิงตู ได้บันทึกภาพบนอาคารโรงพยาบาล ในช่วงเย็น วันที่ 18 สิงหาคม 2024 เนื่องจากมองเห็น "ดวงอาทิตย์ 7 ดวงซ้อนกัน" จนกลายเป็นภาพไวรัล ชาวเน็ตต่างพากันคอมเมนต์เชื่อว่าเทพเจ้ากำลังจุติลงมา ดังนั้นผู้พบเห็นจะโชคดีมาก

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า "sun dog" (พาฮีเลียน) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางแสงในชั้นบรรยากาศ ที่มีผลึกน้ำแข็งลอยอยู่ในอากาศ เมื่อแสงแดดส่องผ่านผลึกน้ำแข็ง การหักเหของแสงที่เกิดขึ้นในมุม 22 หรือ 46 องศา จากการที่ผลึกน้ำแข็งเรียงขนานกัน จะทำให้เกิดภาพลวงตา เห็นเป็นดวงอาทิตย์หลายดวงได้

ในเรื่องนี้ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า เรื่องนี้จะคล้ายกับเมื่อตอนต้นปี ในประเทศไทยเรา ที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ "ดวงอาทิตย์ 2 ดวง" ผ่านสื่อออนไลน์ Tiktok ปรากฏภาพของดวงอาทิตย์สีแดง ซ้อนกัน 2 ถึง 3 ดวง

ซึ่งในกรณีนี้ ดร.มติพล ตั้งมติธรรม - นักวิชาการดาราศาสตร์ สดร. (NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ) ได้โพสต์ชี้แจ้งแย้งไว้ว่า ความจริงแล้ว คลิปดวงอาทิตย์ 2 ดวงนี้ น่าจะเกิดจาก "ภาพสะท้อนที่กระจก" ! โดยอธิบายไว้ว่า ปรากฏการณ์ที่สามารถทำให้ดวงอาทิตย์ปรากฏได้หลายดวงนั้น มีหลายสาเหตุ ตั้งแต่การสะท้อนภายในเลนส์ของกล้องเอง (lens glare) การสะท้อนกับกระจกอาคาร ไปจนถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ

ซึ่งหากเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจาก lens glare จากการสะท้อนภายในเลนส์กล้องนั้น จุดสังเกตคือ ตำแหน่งของแสงมักเปลี่ยนตามมุมของกล้องที่ส่ายไปมา และปรากฏการณ์นี้จะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า (แต่คลิปนี้ผู้ถ่ายยืนยันว่า เห็นด้วยตาเปล่า) ส่วนปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศที่อาจสะท้อน และหักเหแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้สามารถสังเกตเห็นแสงจากดวงอาทิตย์ในมุมที่เปลี่ยนไปได้นั้น ก็มีอยู่ด้วยกันอยู่หลายปรากฏการณ์ เช่น Sun Dog , Sun Pillar , Novaya Zemlya effect ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตที่สำคัญก็คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากชั้นบรรยากาศตามธรรมชาตินั้นมักจะมีสมมาตร ไม่ว่าจะเป็นแบบวงกลม (เช่น รุ้งกินน้ำ หรือดวงอาทิตย์ทรงกลด) ตามแนวนอน (เช่น Sun Pillar และ Novaya Zemlya) หรือตามแนวตั้ง (เช่น Sun Dog) สืบเนื่องมาจากรูปร่างทรงกลมของหยดน้ำ และการสะท้อนภายในผลึกน้ำแข็งในชั้นบรรยากาศที่กำลังตกลงตามแรงโน้มถ่วง ตามลำดับ แต่หากสังเกตจากวิดีโอ จะพบว่าภาพลวงของดวงอาทิตย์ ปรากฏในแนวที่เฉียงออกไปในทิศทางเดียว ขัดแย้งกับสมมาตรที่สามารถพบได้ในชั้นบรรยากาศ เป็นการยาก ที่จะอธิบายว่าอนุภาคในอากาศจะต้องมีการเรียงตัวกันอย่างไร จึงจะสามารถสังเกตเห็นภาพลวงของดวงอาทิตย์ ที่เฉียงไปทางบนขวาเพียงอย่างเดียวได้

ทั้งนี้ หากสังเกตจากภาพ "ดวงอาทิตย์สองดวง" ที่มีการเผยแพร่ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งจากนิวซีแลนด์ หรือจากจีน ต่างก็พบว่ามีการเรียงตัวของดวงอาทิตย์ในแนวราบด้วยกันทั้งนั้น นอกจากนี้ โดยทั่วไปแล้วพื้นผิวที่เกิดการสะท้อนหรือหักเหในชั้นบรรยากาศนั้น มักจะมีลักษณะที่เบลอไม่ได้เป็นขอบที่ชัดเจน สืบเนื่องมาจากระนาบการสะท้อนแสงที่ซ้อนกันหลายระนาบ ตลอดทั้งมวลอากาศ ในขณะที่ภาพดวงอาทิตย์ 2 ดวง ที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ดังกล่าว มีขอบชัดเจน (กรณีดวงอาทิตย์ 7 ดวงที่จีน ก็เช่นกัน) จึงบ่งชี้ว่าเกิดจากการสะท้อนจากพื้นผิวแบนราบ ที่มีความหนาเพียงแผ่นบาง ๆ ในระนาบเดียว ไม่ได้สอดคล้องกับการสะท้อนจากชั้นบรรยากาศ

ยังมีปริศนาอีกว่า หากชั้นบรรยากาศสามารถเบี่ยงทิศทางแสงอาทิตย์ได้ แล้ว เพราะเหตุใ ดสมมาตรวงกลมของดวงอาทิตย์ดวงเดิม จึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป (โดยเฉพาะเมื่อภาพลวงตาดังกล่าวซ้อนทับกับดวงอาทิตย์อยู่) แม้กระทั่งปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 2 ดวงที่พบในนิวซีแลนด์ หรือจีน ก็ล้วนแล้วแต่ไม่ได้ปรากฏดวงอาทิตย์ที่มีขอบเป็นวงกลมซ้อนกัน ด้วยกันทั้งนั้น ด้วยเหตุที่ภาพที่ปรากฏนั้น เป็นดวงอาทิตย์ที่มีขอบคมซ้อนทับกันเป็นแนวเฉียงในทิศทางเดียว โดยไม่ได้ยืดออกแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่า วัตถุที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาพซ้อนกันนั้น ควรจะเป็นวัตถุที่มีการเรียงตัวเป็นระนาบแผ่นบางเพียงแผ่นเดียว ซึ่งวัตถุที่น่าจะเป็นมากที่สุดในกรณีนี้ ก็น่าจะเป็นกระจก ของอาคารที่ถ่ายอยู่นั่นเอง

ดังนั้น กรณี "ดวงอาทิตย์ 7 ดวง ที่ประเทศจีน" ก็น่าจะเข้าทำนองเดียวกัน ที่ไม่น่าะจะเป็นปรากฏการณ์การหักเหของแสง เมื่อผ่านผลึกน้ำแข็ง ในชั้นบรรยากาศ เหมือน sun dog แต่น่าจะเป็นจากการมองผ่าน และถ่ายภาพผ่านกระจกของโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันนี้ กระจกอาคารก็มีการใช้กระจกแบบหลายชั้น หรือ multilayer tempered laminated glass เพื่อให้เกิดช่องว่างอากาศ (air gap) เพื่อให้เป็นฉนวนกันเสียงและกันความร้อน ก็เลยอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนดวงอาทิตย์ขึ้นในกระจกเองได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook