ไฟไหม้ตอนเติมน้ำมัน อ.เจษฎ์ ชี้ไม่เกี่ยวเล่นมือถือ แต่คาคเกิดจาก "มือ" ไปโดนสิ่งนี้

ไฟไหม้ตอนเติมน้ำมัน อ.เจษฎ์ ชี้ไม่เกี่ยวเล่นมือถือ แต่คาคเกิดจาก "มือ" ไปโดนสิ่งนี้

ไฟไหม้ตอนเติมน้ำมัน อ.เจษฎ์ ชี้ไม่เกี่ยวเล่นมือถือ แต่คาคเกิดจาก "มือ" ไปโดนสิ่งนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อ.เจษฎ์ อธิบายเข้าใจง่าย เหตุไฟไหม้ จยย.ตอนเติมน้ำมัน ไม่เกี่ยวเล่นมือถือ คาคเกิดจาก "ไฟฟ้าสถิต" เพราะมือไปโดนสิ่งนี้

กลับมาเป็นประเด็นให้ได้ตื่นตระหนกกันอีกครั้ง หลังจากมีการแชร์คลิปวิดีโอผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ภาพเหตุการณ์จากกล้องวงจรปิดภายในปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง บันทึกนาทีระทึกเมื่อเกิดไฟไหม้ขณะเติมน้ำมันเข้ารถมอเตอร์ไซค์ โดยมีการตั้งประเด็นว่าสาเหตุนั้น "เป็นผลจากการเล่นโทรศัพท์โทรศัพท์มือถือขณะเติมน้ำมัน"

ในเรื่องนี้ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้ผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า "ไฟไหม้มอเตอร์ไซค์ น่าจะเป็นแค่อุบัติเหตุจากไฟฟ้าสถิต"

แต่ถ้าไปดูในคลิปจะเห็นว่า เหตุการณ์ไฟไหม้เกิดขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่กำลังเติมน้ำมันอยู่ และคนขับมอเตอร์ไซค์ก็ถือโทรศัพท์ไว้ใน "มือขวา" แต่เนื่องจากเด็กสวมเสื้อสีแดงเข้าไปเล่นตรงที่เก็บของในรถ ซึ่งอยู่ใกล้กับช่องเติมน้ำมันรถ คนขับจึงเอา "มือซ้าย" ไปกันเด็กไว้ ในลักษณะตีมือลงมา เป็นจังหวะนั้นเองที่เกิดไฟลุกขึ้น

ลักษณะเช่นนี้ จะสอดคล้องกับอุบัติเหตุ "ไฟฟ้าสถิต" (จากมือคน กับโลหะของหัวจ่ายน้ำมัน หรือตัวถังรถ) ทำให้เกิดประกายไฟขึ้น ที่แม้จะเพียงเล็กน้อย แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ไอระเหยของน้ำมันซึ่งไวไฟมาก สันดาปลุกไหม้ขึ้นได้ โดยไม่เกี่ยวอะไรกับสัญญาณโทรศัพท์มือถือเลย

ในอดีตที่ผ่านมา คนจำนวนมาก หรือแม้แต่ภาครัฐก็มักจะเข้าใจผิดว่า "ไฟไหม้ปั๊มน้ำมัน" นั้น เกิดจากสัญญาณโทรศัพท์มือถือ แต่ความจริงแล้วมันมักจะเกิดจาก "ไฟฟ้าสถิตที่มาจากร่างกายคน" เช่น อากาศแห้ง นั่งตากแอร์ในรถ ถูกับเบาะ แล้วเกิดการสะสมประจุไฟฟ้าขึ้น หรือใส่เสื้อผ้าร่ม เสียดสีมากๆ แล้วมีประจุไฟฟ้าได้ ซึ่งไฟฟ้าสถิตนี้ มีความแรงเพียงพอที่จะสปาร์คให้ไอน้ำมันจากหัวจ่ายเกิดการติดไฟขึ้นได้

ส่วนเรื่องที่ "ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในปั๊มน้ำมัน เพราะกลัวว่าจะทำให้เกิดไฟไหม้" นั้น มันเป็นความเชื่อที่คาดเดากันไปเอง เชื่อตามๆ กันมา จากฟอร์เวิร์ดเมล์ในอดีต ทั้งนี้ เคยมีการทดลองพิสูจน์ให้ดูกันอย่างชัดเจนแล้วว่า สัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่ได้มีความสามารถที่จะทำให้ไอระเหยน้ำมันติดไฟขึ้นได้ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook