เปิดรายชื่อ "งู 14 ชนิด" ติด พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า ห้ามฆ่า ห้ามกิน ห้ามครอบครอง

เปิดรายชื่อ "งู 14 ชนิด" ติด พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า ห้ามฆ่า ห้ามกิน ห้ามครอบครอง

เปิดรายชื่อ "งู 14 ชนิด" ติด พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า ห้ามฆ่า ห้ามกิน ห้ามครอบครอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดรายชื่อ "งู 14 ชนิด" ติด พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า ห้ามล่า ห้ามฆ่า ห้ามกิน ห้ามเลี้ยง เหตุผลที่จับได้แล้วต้องปล่อยสู่ธรรมชาติ  

กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 โดยสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทงู มีจำนวน 14 ชนิด ได้แก่

  1. งูจงอาง (Ophiophagus hannah) มีพิษร้ายแรง
  2. งูสิงธรรมดา หรือ งูสิงตาโต (Ptyas korros) ไม่มีพิษ
  3. งูสิงหางลาย (Ptyas mucosa) ไม่มีพิษ
  4. งูสิงหางดำ (Ptyas carinata) ไม่มีพิษ
  5. งูเหลือม (Malayopython reticulatus) ไม่มีพิษ
  6. งูหลาม (Python bivittatus) ไม่มีพิษ
  7. งูหลามปากเป็ด (Python brongersmai) ไม่มีพิษ
  8. งูแสงอาทิตย์ (Xenopeltis unicolor) ไม่มีพิษ
  9. งูทางมะพร้าว (Coelognathus radiatus) ไม่มีพิษ
  10. งูทางมะพร้าวแดง (Oreocryptophis porphyraceus) ไม่มีพิษ
  11. งูทางมะพร้าวดำ (Coelognathus flavolineatus) ไม่มีพิษ
  12. งูทางมะพร้าวเขียว (Gonyosoma coeruleum) ไม่มีพิษ
  13. งูเขียวกาบหมาก (Gonyosoma oxycephalum) ไม่มีพิษ
  14. งูกาบหมากหางนิล (Elaphe taeniura) ไม่มีพิษ

โดยงูทั้ง 14 ชนิดนี้ ห้ามล่า ห้ามทำอันตราย ห้ามเลี้ยงดูหรือครอบครอง หรือ กระทำการค้าซึ่งสัตว์ป่าฯ และซากของสัตว์ป่าฯ ดังกล่าว หากฝ่าฝืนจะมีความผิด จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

งูเหลือม กับ งูหลาม ต่างกันยังไง? เพิ่งรู้มีวิธีสังเกตง่ายมาก ดูแค่ส่วนหัวก็รู้เลย

ไขข้อสงสัย งูเห่า-งูจงอาง ต่างกันยังไง ชนิดไหนพิษรุนแรงกว่า ถ้าต่อสู้กันใครชนะ?

ทำไมต้องคุ้มครองสัตว์ป่า?

ในอดีตประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผืนป่าอันกว้างใหญ่ไพศาลยังไม่ถูกรกราน จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ต่อมาเมื่อมีการค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติ สัตว์ป่าจึงเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยม ดังหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการส่งนอแรด งาช้าง และของป่าไปขายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ชีวิตสัตว์ป่าเริ่มถูกรุกรานทำให้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนถึงกับต้องออกกฎหมายมาควบคุม โดยกฎหมายฉบับแรกเกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อบังคับใช้ในการล่าช้างป่า

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราษฎรยังมีการคล้องช้างป่า เพื่อนำช้างมาใช้งานเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาที่ตามมา จึงได้ทรงตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า รศ. 119 (พ.ศ. 2443) ขึ้น เพื่อให้ช้างป่าไม่ถูกทอดทิ้งให้อดอยากหรือได้รับการทรมาน

จนถึงยุคมืดของสัตว์ป่า เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธยุทโธปกรณ์อันทันสมัยที่ใช้ในสงคราม ได้ถูกแปรเปลี่ยนมาเป็นอาวุธของผู้ชื่นชอบการล่าสัตว์ป่า ขณะที่การพัฒนาประเทศและการเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้จำนวนของสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงขั้นที่สัตว์ป่าบางชนิด เช่น สมัน ต้องสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยอย่างน่าเสียดาย

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ พระยศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในขณะนั้น และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ลงนามในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ขึ้น เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2503 เพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการปกป้องทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศฉบับแรกของไทย ซึ่งภายหลังได้มีการปรับปรุงเป็นพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535 และอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ทันต่อสมัยและเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงถือเอาวันที่ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ซึ่งตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ" เพื่อตระหนักถึงคุณค่าและการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าให้คงอยู่ในป่า อันจะช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติของชาติกลับคืนความอุดมสมบูรณ์ดังเช่นในอดีตสืบไป

สำหรับความสำคัญของ "งู" แม้เป็นสัตว์ที่ดูน่ากลัว บางตัวมีพิษรุนแรง แต่การพบเจองูในธรรมชาตินั้นมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากงูจะช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และงูบางชนิดเป็นงูที่กินงูด้วยกันเอง ทำให้ช่วยควบคุมจำนวนประชากรงู ทั้งงูมีพิษและไม่มีพิษได้อีกด้วย

หากพบเจองูเข้าบ้าน โทร. แจ้งหมายเลข 199 ซึ่งเป็นเบอร์ติดต่อสำหรับแจ้งอัคคีภัยและสัตว์เข้าบ้าน หรือแจ้งกู้ภัยในพื้นที่ อย่าจับงูเองหากไม่ชำนาญ

เรื่องที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับ “สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง”

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook