ประวัติ "เอกนัฏ พร้อมพันธุ์" ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม "ครม.อิ๊งค์ 1" อดีตโฆษก กปปส.

ประวัติ "เอกนัฏ พร้อมพันธุ์" ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม "ครม.อิ๊งค์ 1" อดีตโฆษก กปปส.

ประวัติ "เอกนัฏ พร้อมพันธุ์" ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม "ครม.อิ๊งค์ 1" อดีตโฆษก กปปส.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประวัติ "เอกนัฏ พร้อมพันธุ์" อดีตโฆษก กปปส. ลูกเลี้ยง สุเทพ เทือกสุบรรณ ติดโผ ว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม "ครม.อิ๊งค์ 1" 

คณะรัฐมนตรี หรือ “ครม.อิ๊งค์ 1” ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร ได้รับการยืนยันจากนายกรัฐมนตรีเองว่า ขณะนี้ทุกตำแหน่งถือว่าลงตัวหมดแล้ว เหลือเพียงการตรวจสอบคุณสมบัติ ส่วนจะเสร็จเมื่อไหร่นั้น คิดว่าใกล้แล้ว เพราะตรวจมาประมาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว โดยประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน รวมครม.ทั้งคณะ 36 คน

สำหรับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ก่อนหน้านี้เป็น นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็น นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ

ประวัติ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์  มีชื่อเล่นว่า "ขิง" เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2529 ปัจจุบันอายุ 38 ปี เป็นบุตรชายคนที่สองของนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ และนางศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ภริยาปัจจุบันของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เขามีพี่ชายชื่อสิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์ (โขง) และน้องสาวชื่อธีราภา พร้อมพันธุ์ (เข็ม)

ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และโฆษกของ กปปส. นอกจากนี้ยังเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัวของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

การศึกษา

เอกนัฏจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์ และโกดอลมิง ในเทศมณฑลเซอร์รีย์ สหราชอาณาจักร โดยได้รับทุนอันดับหนึ่ง จากนั้นสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสองสาขา EEM (Engineering, Economics, and Management) จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร

การเมือง

เอกนัฏเข้าสู่การเมืองด้วยการเป็นเลขานุการส่วนตัวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ บิดาบุญธรรมของเขา ในเหตุการณ์ความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เขาได้อยู่เคียงข้างนายสุเทพตลอดเวลา รวมถึงเหตุการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช ที่พัทยา

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เอกนัฏลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 29 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 37,932 คะแนน ถือเป็น ส.ส.ที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้ ด้วยอายุเพียง 25 ปี และยังเป็น ส.ส.ชายคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดหลังการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

ในช่วงมหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 เอกนัฏได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในเขตหนองแขมและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างใกล้ชิด 

ต่อมาในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 เอกนัฏได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ได้รับเลือกตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เอกนัฏเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการบริหารพรรค เพื่อเข้าร่วมเป็นแกนนำ กปปส. โดยมีบทบาทเป็นโฆษกชี้แจงข่าวสารทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน รวมถึงเอกนัฏ ในข้อหากบฏและความผิดอื่น ๆ หลังจากนั้น เอกนัฏได้เข้าอุปสมบทที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และจำพรรษาที่วัดป่าอัมพวัน จังหวัดชลบุรี เช่นเดียวกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook