หมอรีบเตือน! ทารกวัย 4 เดือน "ติดเชื้อ" ผิวหนังเป็นแผลทั้งตัว รู้วิธี "อาบน้ำ" น่าสงสารมาก...

หมอรีบเตือน! ทารกวัย 4 เดือน "ติดเชื้อ" ผิวหนังเป็นแผลทั้งตัว รู้วิธี "อาบน้ำ" น่าสงสารมาก...

หมอรีบเตือน! ทารกวัย 4 เดือน "ติดเชื้อ" ผิวหนังเป็นแผลทั้งตัว รู้วิธี "อาบน้ำ" น่าสงสารมาก...
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น่าสงสารมาก... ทารกวัย 4 เดือน "ติดเชื้อ" ผิวหนังเป็นแผลทั้งตัว รู้วิธี "อาบน้ำ" หมอกุมหัว

กรมกุมารเวชศาสตร์ รพ.เกาบั่ง ประเทศเวียดนาม รับเคสเด็กน้อยวัย 4 เดือน เข้ารักษาในโรงพยาบาลโดยพบว่ามีแผลทั่วตัว ผิวหนังเป็นสีแดง กัดกร่อน มีเลือดออก และมีของเหลวไหลซึม

สมาชิกในครอบครัวระบุว่า เมื่อทารกอายุได้ 1 เดือนผิวหนังมีผื่นเล็กน้อย ครอบครัวจึงใช้ “ใบไม้” แช่ในน้ำให้อาบอย่างไรก็ดี เมื่ออาบน้ำเสร็จปรากฎว่าลูกมีผื่นแดงทั่วตัว ครอบครัวยังซื้อยามาทาให้ต่อ แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไร

จากการตรวจและทดสอบโดยแพทย์ ทารกได้รับการวินิจฉัยว่ามี “ภาวะติดเชื้อ” หลังจากอาบน้ำด้วยใบไม้ หลังจากรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างเข้มข้นมา 2 วัน เด็กมีอาการดีขึ้น ผิวแดงน้อยลง ตื่นตัวและกินอาหารได้ดี

แพทย์จากแผนกกุมารเวชศาสตร์ ระบุว่า การใช้ใบไม้ต้มน้ำเพื่ออาบน้ำทารกแรกเกิดเป็นสิ่งที่หลายพื้นที่คุ้นเคยมาก ผู้ปกครองหลายคนมีความคิดว่าการแช่ใบไม้ ซึ่งมีทั้งฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและปราศจากสารเคมี จึงปลอดภัยต่อผิวของเด็กโดยอาศัยประสบการณ์หรือคำแนะนำซึ่งกันและกัน

ซึ่งแท้จริงแล้วนี่เป็นความเชื่อที่ “ไม่ถูกต้อง”

เนื่องจากผิวของเด็กบางมาก โดยเฉพาะทารกแรกเกิด โครงสร้างผิวยังไม่คงที่ จึงเสี่ยงต่อความเสียหาย ภูมิแพ้ และการติดเชื้อได้ง่ายมาก โรคผิวหนังอักเสบในทารกส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียที่โจมตีจากภายนอก

ในขณะเดียวกัน ใบไม้ที่เติบโตตามธรรมชาติ ก็ปนเปื้อนไปด้วยแบคทีเรีย หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และทำความสะอาดได้ยากแม้จะต้มแล้ว เชื้อโรคก็ยังไม่สามารถกำจัดออกไปได้หมด ดังนั้นห้ามนำมาผสมน้ำอาบให้เด็กโดยพลการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน การอาบใบไม้อย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เด็กติดเชื้อรุนแรงและอาจเกิดการติดเชื้อในเลือดได้ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

เพื่อหลีกเลี่ยงการทำร้ายเด็กขณะอาบน้ำ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หากเห็นผื่นแดงที่ผิดปกติบนผิวหนังของลูกและมีสัญญาณของการแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้าง ควรพาลูกไปที่สถานพยาบาลเพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที หลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook