ศาลสั่ง "ยกฟ้อง" ผู้การเต่าไม่ผิด หมิ่นบิ๊กโจ๊ก ทรยศสำนักงานตำรวจ-ผู้บังคับบัญชา

ศาลสั่ง "ยกฟ้อง" ผู้การเต่าไม่ผิด หมิ่นบิ๊กโจ๊ก ทรยศสำนักงานตำรวจ-ผู้บังคับบัญชา

ศาลสั่ง "ยกฟ้อง" ผู้การเต่าไม่ผิด หมิ่นบิ๊กโจ๊ก  ทรยศสำนักงานตำรวจ-ผู้บังคับบัญชา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลอาญาใต้ยกฟ้อง ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง "ผู้การเต่า" ไม่ผิด หมิ่นประมาท "บิ๊กโจ๊ก" ทรยศสำนักงานตำรวจเเห่งชาติ-ผู้บังคับบัญชา

วันนี้ ( 9 ก.ย.67) ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ631/2567 ที่พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล อดีต รอง ผบ.ตร.เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พลตำรวจตรีจรูญเกียรติ ปานแก้ว จำเลย ในความผิด หมิ่นประมาท โดยยื่นฟ้องตั้งเเต่วันที่ 22 มี.ค.2567 ที่ผ่านมา

คำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 22 ก.พ.จำเลยได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน กรณีที่จำเลยได้รับเเต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีเว็บพนันออนไลน์มีอำนาจสอบสวนคดีที่มีการกล่าวหาโจทก์โดยลักษณะคำให้สัมภาษณ์ของจำเลยเป็นการใส่ร้ายโจทก์ว่าทรยศสำนักงานตำรวจแห่งชาติและทรยศผู้บังคับบัญชามาแล้วหลายคน

นอกจากนี้ จำเลยยังสรุปและวินิจฉัยว่าโจทก์ได้สั่งการให้ผู้ให้บังคับบัญชากระทำผิดอาญา ทั้งๆ ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติยังไม่ได้รับเรื่องดังกล่าว ไว้พิจารณาและศาลอาญาคดีทุจริตยังไม่ได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำให้ประชาชนที่ได้รับชมและรับฟังเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนชั่ว เป็นคนไม่ดี ทำร้ายและทรยศแม้แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เป็นองค์กรต้นสังกัดและทรยศผู้บังคับบัญชามาแล้วหลายคน

การกระทำของจำเลยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการกระทำโดยจงใจหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ได้รับฟังคำสัมภาษณ์จำเลยเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนชั่ว คนแลว ทุจริตประพฤติมิชอบ เป็นคนเนรคุณทรยศองค์กรและผู้บังคับบัญชา

โดยปัจจุบันคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยังไม่ได้ชี้มูลความผิดโจทก์และศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิดในเรื่องที่จำเลยใส่ความโจทก์แต่อย่างใด ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง นอกจากนี้จำเลยไม่อาจหยิบยกอำนาจหน้าที่ในฐานะรองหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน และโฆษกคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน มากล่าวอ้างในการเปิดเผยข้อเท็จจริงในสำนวน และวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดตามข้อกล่าวหา

เพราะการสืบสวนและสอบสวนกรณีกล่าวหาว่ามีความผิดอาญาเกิดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการ แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ตลอดจนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดซึ่งจะต้องดำเนินการไปตามลำดับขั้นตอนของบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องจนนำไปสู่การวินิจฉัยชี้ขาดความผิดโดยศาลที่มีอำนาจ หาใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนหรือสอบสวนที่จะแถลงข้อเท็จจริงหรือวินิจฉัยความผิดเสียเอง อันมีลักษณะเป็นการชี้น้ำสังคมแต่อย่างใด

โดยภายหลังไต่สวนมูลฟ้อง ศาล นัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องวันนี้ ศาลมีคำสั่งยกฟ้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook