หญิงป่วย "มะเร็งตับ" ระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่สูบ-ไม่ดื่ม หมอชี้เพราะ "เนื้อสัตว์" ที่ชอบกิน

หญิงป่วย "มะเร็งตับ" ระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่สูบ-ไม่ดื่ม หมอชี้เพราะ "เนื้อสัตว์" ที่ชอบกิน

หญิงป่วย "มะเร็งตับ" ระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่สูบ-ไม่ดื่ม หมอชี้เพราะ "เนื้อสัตว์" ที่ชอบกิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 หมอแชร์เคสหญิงป่วย "มะเร็งตับ" ระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่-ดื่มเหล้า พบตัวร้ายคือ "เนื้อสัตว์" ที่ชอบกิน

เว็บไซต์ข่าว SOHA รายงานกรณีทางการแพทย์ในไต้หวัน ผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ยังคงเป็นมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย  หมอตรวจพบสาเหตุเนื่องจาก “อาหาร” ที่ทานเป็นประจำ

ตามรายงานพบว่า หญิงอายุ 50 ปี ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีโรคเรื้อรัง หรือประวัติครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคร้าย แต่ล่าสุดเนื่องจากรู้สึกไม่สบายตัวและแน่นท้อง อีกทั้งในช่วงเดือนที่ผ่านมา จู่ๆ น้ำหนักตัวก็ลดลงไปมากถึง 9 กิโลกรัม จึงตัดสินใจไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล

ผลการแต่อัลตราซาวนด์และซีทีสแกนช่องท้อง เผยให้เห็นเงาบนบนตับอ่อน ขนาด 4 ซม. และต่อมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น“มะเร็งตับอ่อน” โดยแพทย์อธิบายว่า ดัชนีเนื้องอกของคนไข้รายนี้ CA19-9 มีค่ามากกว่า 200 หรือคือ 7 เท่าของค่าปกติซึ่งเทียบเท่ากับโรคที่อยู่ในระยะกลางและระยะสุดท้าย

คาดว่าผู้หญิงคนนี้เริ่มมีเนื้องอกเมื่อปีที่แล้ว แต่ตอนนั้นเธอเพิ่งได้รับผลการตรวจร่างกาย และไม่พบสิ่งใดเลยใดๆ อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นการตรวจขั้นพื้นฐานเท่านั้น เชื่อว่าหากได้รับการอัลตราซาวนด์ตับอ่อน และตรวจคัดกรองมะเร็งตับอ่อนอย่างแม่นยำในขณะนั้น ก็มีแนวโน้มว่าจะตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรก และการรักษาภายหลังจะแตกต่างออกไปมาก อัตราการรอดชีวิตปีสามารถเพิ่มได้ถึง 80%

ในกรณีของคนไข้หญิงรายนี้ เนื่องจากเนื้องอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และอยู่ใกล้กับหลอดเลือด หากไม่สามารถเสี่ยงต่อการผ่าตัด ได้ก็ให้ทำเคมีบำบัดก่อน โดยหวังว่าสามารถกำจัดเนื้องอกได้ผลดี

ไม่สูบ-ไม่ดื่ม ทำไมยังป่วนมะเร็งตับ?

ส่วนสาเหตุที่ผู้หญิงไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีโรคเรื้อรัง และไม่มีประวัติครอบครัว ป่วยมะเร็ง แต่ยังคงเป็นมะเร็งตับอ่อน คุณหมอเชื่อว่าสาเหตุเกี่ยวข้องกับการที่เธอไม่ค่อยออกกำลังกาย  และอาหารกินอาหาร 2 ประเภทเป็นประจำคือ ผลิตภัณฑ์แปรรูป และเนื้อแดง

“เนื้อสัตว์แปรรูป” อาทิเช่น แฮม เบคอน เนื้อกระป๋อง เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและทานง่าย จึงเป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อาหารเหล่านี้ล้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้

เมื่อเทียบกับเนื้อสด เพื่อยืดอายุการเก็บของเนื้อสัตว์แปรรูป มักจะเติมไนไตรต์ในระหว่างการผลิต หลังจากที่ไนไตรต์เข้าสู่กระเพาะจะทำปฏิกิริยากับโปรตีนในกระเพาะ เพื่อสร้างสารไนโตรซามีนที่เป็นสารก่อมะเร็ง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งอื่นๆ

นอกจากนี้ ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์แปรรูป ปริมาณโซเดียมยังค่อนข้างสูงอีกด้วย และการรับประทานอาหารที่มีเกลือสูงอาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้เช่นเดียวกัน

ในขณะเดียวกัน “เนื้อแดง” คือเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงก่อนปรุง อาทิเช่น หมู เนื้อวัว เนื้อแกะ และมีไขมันอิ่มตัวสูง เมื่อเทียบกันแล้วเนื้อขาว อาทิเช่น ไก่ เป็ด ห่าน ปลา กุ้ง หอยกาบ จะมีปริมาณไขมันน้อยกว่า

IARC จัดประเภทเนื้อแดงเป็นสารก่อมะเร็งประเภท 2A การกินเนื้อแดงเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งชนิดอื่นๆ อีกมากมาย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าไม่ควรกินเนื้อแดงซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก สรุปคือ… กินเนื้อแดงได้แต่ต้องควบคุมปริมาณ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ หญิงป่วย "มะเร็งตับ" ระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่สูบ-ไม่ดื่ม หมอชี้เพราะ "เนื้อสัตว์" ที่ชอบกิน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook