ชายป่วยมะเร็งพร้อมกันถึง 2 ชนิด ต้นตอจากอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้านมาตลอด 5-6 ปี

ชายป่วยมะเร็งพร้อมกันถึง 2 ชนิด ต้นตอจากอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้านมาตลอด 5-6 ปี

ชายป่วยมะเร็งพร้อมกันถึง 2 ชนิด ต้นตอจากอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้านมาตลอด 5-6 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมอเปิดเคสชายเป็นมะเร็งไต-มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ พร้อม ๆ กัน สืบจนรู้ต้นตอ จากอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้านมาตลอด 5-6 ปี

ดร.หลิว โบเหริน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์โภชนาการและการทำงานจากไต้หวัน ได้เผยแพร่กรณีนี้ในนิตยสาร TOPick โดยเป็นเคสของชายรายหนึ่งทำงานต่างประเทศมานาน และตรวจพบว่ามีมะเร็งไตและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

หลังจากการตรวจเลือดพบว่าริมาณเปอร์ฟลูออโรคาร์บอนในร่างกายของเขาสูงเกินมาตรฐานอย่างมาก เมื่อสอบถามเพิ่มเติม พบว่ากระทะเคลือบที่เขาใช้ซึ่งเคลือบลอกและเสียหาย แต่ยังคงใช้งานมาตลอด 5-6 ปี เป็นต้นเหตุหลัก

ดร.หลิว โบเหริน อธิบายว่า การเคลือบของกระทะเคลือบกันติดมีสาร PFAS (สารประกอบโพลีฟลูออโรอัลคิล) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งของผู้ป่วย PFAS เป็นสารพิษที่หลายประเทศในสหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายห้ามใช้แล้ว แต่ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลาย การสัมผัสกับสิ่งของที่มี PFAS ในชีวิตประจำวันจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

PFAS พบในเสื้อกันฝนหรือเสื้อโค้ทกันน้ำ, พรมกันสกปรกหรือเบาะโซฟา, ยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้า, สี, ผิวเคลือบของกระทะเคลือบกันติด, กล่องและถุงที่กันน้ำ, เครื่องสำอาง, สารดับเพลิง ฯลฯ เหตุผลที่ PFAS ถูกใช้ในหลายสิ่ง เพราะสารนี้ช่วยให้พื้นผิวลื่นและลดการเสียดทาน ซึ่งทำให้มันเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความกันน้ำ เช่น กล่องบรรจุอาหารหรือชุดภาชนะอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซุปหกออก

ดร.หลิว โบเหริน เตือนว่า หากสาร PFAS ถูกนำเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ตั้งใจ มันจะคงอยู่ในร่างกายและไม่สามารถขับออกได้เป็นเวลา 1-3 ปี ทำให้เกิดพิษหรือมะเร็ง ตัวอย่างกรณีของชายคนนี้เป็นกรณีหนึ่ง

เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการสัมผัส PFAS โดยไม่ตั้งใจ ดร.หลิว แนะนำให้เลือกใช้กระทะที่ไม่มีสารเทปล่อน หรือ PFAS หากมีรอยขีดข่วนชัดเจน ควรหยุดใช้งานทันที นอกจากนี้ ควรลดการใช้ชุดภาชนะใช้ครั้งเดียว โดยเฉพาะหลอดดูดแบบกระดาษที่ดีที่สุดคือไม่ใช้

เพื่อช่วยการขับสารพิษออกจากร่างกาย ดร.หลิว แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำประมาณ 1.5-1.7 ลิตรต่อวัน เพราะการที่มีเหงื่อออกช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานผักและผลไม้มาก ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งต่อมลูกหมาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook