"เมนูเสริมโชค" หนุ่มวัย 27 กินทุกต้นเดือน สุดท้ายติดเชื้อจนอวัยวะล้มเหลว ร่างเน่าทั้งเป็น

"เมนูเสริมโชค" หนุ่มวัย 27 กินทุกต้นเดือน สุดท้ายติดเชื้อจนอวัยวะล้มเหลว ร่างเน่าทั้งเป็น

"เมนูเสริมโชค" หนุ่มวัย 27 กินทุกต้นเดือน สุดท้ายติดเชื้อจนอวัยวะล้มเหลว ร่างเน่าทั้งเป็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"เมนูเสริมโชค" หนุ่มวัย 27 กินทุกต้นเดือน สุดท้ายติดเชื้อจนอวัยวะล้มเหลว ร่างกายเน่าทั้งเป็น เลือดออกทั่วตัว

ผู้ป่วยชายวัย 27 ปี จากบั๊กนิญ ประเทศเวียดนาม ถูกส่งตัวไปยังห้องไอซียูที่โรงพยาบาลกลางโรคเขตร้อน ในสภาพโคม่าและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ร่างกายมีผื่นเน่าเป็นหย่อม ๆ และมีรอยเลือดออกทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและแขนขา

ตามข้อมูลจากครอบครัวผู้ป่วย 4 วันก่อนเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยได้ทาน "หลู้" อาหารที่ทำจากเลือดหมูสดที่ร้านอาหาร หลังจากกลับบ้าน ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยตามร่างกาย และในตอนกลางคืนมีอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ในเช้าวันที่นำส่งโรงพยาบาล ครอบครัวพบว่าผู้ป่วยหมดสติ เรียกไม่ตอบสนอง และร่างกายเริ่มมีอาการเขียวคล้ำ ผู้ป่วยถูกใส่ท่อช่วยหายใจที่โรงพยาบาลในพื้นที่ ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลโรคเขตร้อน

เมื่อถึงโรงพยาบาลกลางโรคเขตร้อน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อในกระแสเลือดและเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย Streptococcus suis ปัจจุบันแพทย์กำลังยื้อชีวิตผู้ป่วยอย่างสุดกำลัง เนื่องจากมีภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายส่วนและปัญหาการแข็งตัวของเลือดอย่างรุนแรง โดยผู้ป่วยได้รับการถ่ายเลือดอย่างต่อเนื่อง

นพ. ฝั่ม วัน ฟุก รองหัวหน้าห้องไอซียูของโรงพยาบาลกลางโรคเขตร้อนกล่าวว่า ความเชื่อที่ว่า "กินหลู้ในวันต้นเดือนเพื่อเสริมโชค" เป็นความเชื่อที่ผิดและอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เนื่องจากหลู้ทำจากเลือดสัตว์สด ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการติดเชื้อพยาธิและโรคจากเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยจำนวนมาก ในกรณีของผู้ป่วยชายคนนี้ ครอบครัวบอกว่าเขาทานหลู้ในวันแรกของเดือนจันทรคติเพื่อความโชคดี

โรคติดเชื้อ Streptococcus suis เป็นโรคหนึ่งของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน สามารถถ่ายทอดสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงและการกินอาหารสุกๆดิบๆ ทําให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด รวมถึงภาวะติดเชื้อที่รุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบ มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 - 3 วัน อาการที่พบได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น หอบเหนื่อย คลื่นเหียน ปวดศีรษะ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการได้ยนจนถึงขั้นหูหนวกที่เรียกว่าไข้หูดับ ภายหลังที่หายจากอาการป่วยแล้วอาจจะมีความผิดปกติในการทรงตัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook