เกือบไปสวรรค์! ชะล่าใจ "ลุยน้ำฝน" สุดท้ายเดินไม่ได้-ไอเป็นเลือด ไปหาหมอถึงรู้ป่วยอะไร?

เกือบไปสวรรค์! ชะล่าใจ "ลุยน้ำฝน" สุดท้ายเดินไม่ได้-ไอเป็นเลือด ไปหาหมอถึงรู้ป่วยอะไร?

เกือบไปสวรรค์! ชะล่าใจ "ลุยน้ำฝน" สุดท้ายเดินไม่ได้-ไอเป็นเลือด ไปหาหมอถึงรู้ป่วยอะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชายชะล่าใจ "ลุยน้ำฝน" ป่วยวิกฤตไข้ทะลุ 40 องศา ปวดขาเดินไม่ได้-ไอเป็นเลือด-อวัยวะติดเชื้อ-ระบบหายใจล้มเหลว ทีมแพทย์ทุ่มพลังช่วยจนรอดตาย

กรณีอุทาหรณ์ ชายแซ่ฮัว วัย 50 ปี ที่อาศัยอยู่ในไหหลำ ประเทศจีน ไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดขา และพบว่าเขาป่วยหนักถึงชีวิตเนื่องจากการ "ลุยน้ำฝน" มีอาการปวดขนจนเดินไม่ได้ ไอเป็นเลือด อวัยวะติดเชื้อ ระบบหายใจล้มเหลว

สมาชิกในครอบครัวของนายฮัวเล่าว่า หลังฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมขังในละแวกบ้าน เขาจึงตัดสินใจออกไปตรวจดู และเก็บขยะในท่อระบายน้ำใกล้บ้านของเขา กระทั่งสองวันต่อมาเริ่มมีไข้ ปวดศีรษะ และปวดน่อง เพราะคิดว่าเป็นหวัดจากการลุยฝนเป็นเวลานาน จึงซื้อยามากินด้วยตัวเอง อย่างไรก็ดี หลังจากกินยาได้ 3 วัน อาการไม่เพียงแต่ไม่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีไข้สูงขึ้นอีกด้วย เมื่อลูกชายเห็นว่าพ่อมีไข้มากกว่า 40 องศา แน่นหน้าอก ตาแดง ปวดขาจนเดินไม่ได้ ก็คิดว่าโรคข้ออักเสบกลับมา จึงนำตัวส่งโรงพยาบาลประชาชนไหโข่ว

โดยไม่คาดคิดว่า เมื่อแพทย์โรคกระดูกและข้อเพิ่งทำการตรวจเบื้องต้น ก็รีบย้ายนายฮัวไปที่แผนกฉุกเฉินทันที ในตอนนั้นผู้ป่วยอยู่ในอาการวิกฤต มีไข้สูงเกิน 40 องศา ปวดศีรษะ ปวดขา ระบบหายใจล้มเหลว เยื่อบุตาอักเสบ ไอเป็นเลือด และมีอาการสับสน เมื่อรวมอาการทางคลินิก กับประวัติทางการแพทย์จากสมาชิกในครอบครัวที่ระบุว่า "สัมผัสน้ำเสียขณะลุยฝน" ทีมแพทย์จึงทำการทดสอบทางเซรุ่มวิทยาเชิงลึก

และสรุปได้ว่าผู้ป่วยเป็นไข้ฉี่หนู หรือโตสไปโรซีส (Leptospirosis) เป็นอันตรายอย่างยิ่งเนื่องจากการตรวจพบช้า โรคนี้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะหลายส่วนล้มเหลว โดยเฉพาะปอดและไต หรือที่รู้จักกันในชื่อ Weil Syndrome เนื่องจากติดเชื้อเลปโตสไปโรซีส นอกจากนี้ โรงพยาบาลต้องจัดตั้งทีมให้คำปรึกษาสหสาขาวิชาชีพฉุกเฉินทันที

แพทย์จากแผนกฉุกเฉินเล่าว่า “เป็นเวลา 8 ชั่วโมงติดต่อกันที่ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ การถ่ายเลือด อิเล็กโทรไลต์ร่วมกับการให้ของเหลว การฟอกไต การใส่ท่อช่วยหายใจ และการรักษาด้วยการต่อต้านการตายของเซลล์ตับ ในที่สุด เราก็สามารถรักษาผู้ป่วยให้รอดได้สำเร็จ 3 วันต่อมา ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวและถูกย้ายไปยังห้องพักในโรงพยาบาลปกติ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook