รู้จัก “โรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) ” คืออะไร หลัง 'กิต Three Man Down' ป่วย

รู้จัก “โรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) ” คืออะไร หลัง 'กิต Three Man Down' ป่วย

รู้จัก “โรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) ” คืออะไร หลัง 'กิต Three Man Down' ป่วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกได้ว่าเป็นข่าวช็อกสำหรับแฟน ๆ หลัง กิต Three Man Down  ป่วยด้วยโรคจอประสาทตาอักเสบทั้งสองข้าง และสูญเสียการมองเห็นตรงกลาง ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) ทำให้หยุดพักงานวงในเดือนนี้ไปก่อน 

วันนี้ Sanook News จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักอาการ อันตรายและวิธีรักษาโรค Vogt-Koyanagi-Harada (VKH) 

โรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) คืออะไร? 

ในวารสารจักษุธรรมศาสตร์ ระบุว่า โรค Vogt-Koyanagi-Harada (VKH) เป็นโรคตาอักเสบที่พบบ่อยในเอเชีย โดยจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมักเป็นเพศหญิงช่วงอายุ 30-40 ปี สำหรับโรคนี้มักพบร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาท หู และผิวหนัง

โรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) เกิดจากอะไร?

สำหรับสาเหตุของโรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากการความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ต่อต้านเม็ดสีต่าง ๆ (melanocyte) หรืออาจเกิดจากพันธุกรรมได้เช่นกัน

ดวงตา

อาการของโรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) 

สำหรับอาการของโรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) มีอาการเบื้องต้น ดังนี้

ระยะแรก

อาการคล้ายการติดเชื้อไวรัส คือ มีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ เวียนศรีษะ หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอักเสบของดวงตา (uveitis) และเริ่มมีสายตาพร่ามัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นทั้งสองข้างพร้อมกันหรือข้างเดียวก่อนแล้วจึงเกิดขึ้นที่อีกข้างหนึ่งก็ได้ 

นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติทางหูอีกด้วย โดยผู้ป่วยอาจมีอาการ หูอื้อ, ปวดหูเมื่อได้ยินเสียง (dysacusia) และมีเสียงในหู (tinnitus) ซึ่งอาจทำให้สามารถสูญเสียการได้ยิน 

ระยะเรื้อรัง: 

เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของดวงตา และผิวหนัง มากขึ้น โดยสำหรับผิวหนัง จะพบว่าผู้ป่วยจะมีจุดขาวกระจายบริเวณศรีษะ เปลือกตา ลำตัว เนื่องจากสูญเสียเซลล์สร้างเมลานิน (vitiligo) อีกทั้งสีผมและขนต่าง ๆ อาจมีสีที่ต่างไปจากเดิม เช่น คิ้วสีขาว เส้นผมสีขาว

Vogt Koyanagi Harada (VKH) อันตรายไหม? 

สำหรับโรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) เป็นอันตรายหากไม่ได้รับการรักษา โดยอาจทำให้เกิดสภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น อาจสูญเสียการได้ยิน, เป็นต้อหินและต้อกระจก หรือ สูญเสียการมองเห็น เนื่องจากเซลล์ในจอประสาทตาถูกทำลาย 

การรักษา Vogt Koyanagi Harada (VKH)

การรักษาโรค Vogt Koyanagi Harada (VKH) จะเน้นการควบคุมการอักเสบเป็นหลัก โดยใช้ยา corticosteroids ควบคู่กับยากดภูมิต้านทานตามอาการ รวมถึงหากมีอาการรุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อน อาจมีการรักษาด้วยการผ่าตัดเข้ามาด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook