อุตุฯ เตือน ฝนตกหนักมาก 13-17 ก.ย. ภาคอีสานน่าห่วง แม่น้ำโขงเพิ่มสูงต่อเนื่อง

อุตุฯ เตือน ฝนตกหนักมาก 13-17 ก.ย. ภาคอีสานน่าห่วง แม่น้ำโขงเพิ่มสูงต่อเนื่อง

อุตุฯ เตือน ฝนตกหนักมาก 13-17 ก.ย. ภาคอีสานน่าห่วง แม่น้ำโขงเพิ่มสูงต่อเนื่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อุตุฯ เตือน ฝนตกหนักมาก 13-17 ก.ย. เตือนน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ภาคอีสานหนักสุด แม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

วันนี้ (12 ก.ย.67) เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 2 (183/2567) มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 13-17 กันยายน 2567

ในช่วงวันที่ 13-17 ก.ย. 67 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน จะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังค่อนข้างแรง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

ในวันที่ 13 กันยายน 2567

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในช่วงวันที่ 14 – 15 กันยายน 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ในช่วงวันที่ 16 – 17 กันยายน 2567

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. 67 บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าว เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวนี้ไว้ด้วย

หนองคาย 12 ก.ย.67

ทางด้าน สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม น้ำหลาก เอ่อล้นตลิ่งแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคอีสาน และประมวลภาพเหตุการณ์แต่ละจุด ของพี่น้องริมโขงเพื่อให้ติดตามกันอย่างใกล้ชิด.จากสถานการณ์ฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย จนเกิดปัญหาอุทกภัย น้ำท่วมใหญ่ในหลายชุมชน เขตเมืองและย่านเศรษฐกิจ รวมถึงพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายหลายหมื่นไร่

ขณะเดียวกันมวลน้ำมหาศาลยังไหลลงสู่แม่น้ำโขง ผ่านเข้า สปป.ลาว และกำลังออกมาสู่ภาคอีสานของประเทศไทยอีกครั้ง เริ่มต้นจากอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ก่อนจะเดินทางไป หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ตามลำดับ.ช่วงบ่ายของวันนี้ (12 ก.ย.) หลังจากระดับน้ำขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริเวณบ้านห้วยเหียม ตำบลหาดคัมภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ชาวบ้านเริ่มเก็บของและเครื่องมือหาปลา รวมทั้งฝูงควายริมโขงที่ต้องลอยน้ำขึ้นสู่ที่สูงด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook